วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ระเบียบการนำหน่วย

ระเบียบการนำหน่วยคือ กรรมวิธีที่ผู้บังคับหน่วยใช้ในการเตรียมหน่วยเพื่อปฏิบัติให้บรรลุภารกิจทางยุทธวิธี เริ่มต้นเมื่อได้รับการแจ้งเตือนให้เตรียมปฏิบัติภารกิจ และเริ่มต้นใหม่อีกครั้งเมื่อได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติภารกิจใหม่ ระเบียบการนำหน่วยประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังที่จะกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งตั้งแต่ขั้นตอนที่ ๓ ถึง ๘ อาจไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามนั้นโดยเคร่งครัดก็ได้ หลาย ๆ ขั้นตอนอาจปฏิบัติไปพร้อม ๆ กันก็ได้ ในระหว่างการรบ เป็นไปได้ยากที่ผู้บังคับหน่วยจะสามารถปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนได้อย่างละเอียด แต่ต้องใช้ระเบียบการนำหน่วยเป็นแนวทาง แม้จะปฏิบัติได้แต่เพียงอย่างย่นย่อก็ตาม ทั้งนี้ก็เพื่อให้มั่นใจได้ว่าในการวางแผนและเตรียมการนั้น ๆ ผู้บังคับหน่วยมิได้ละเลยสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่จำเป็นไป และเพื่อให้ทหารเป็นรายบุคคลมีความเข้าใจภารกิจของหมู่และหมวดและได้มีการเตรียมการอย่างเหมาะสมเพียงพอ ในระหว่างเตรียมการหน่วยต่าง ๆ ต้องมีการปรับแก้การประมาณสถานการณ์ของตนให้ทันสมัยต่อสถานการณ์อยู่เสมอและต้องปรับปรุงแผนตามให้ทันความเปลี่ยนแปลง


ขั้นตอนระเบียบการนำหน่วยมี ๘ ขั้น ดังนี้

ขั้นที่ ๑ รับภารกิจ

ขั้นที่ ๒ ออกคำสั่งเตือน

ขั้นที่ ๓ จัดทำแผนขั้นต้น (make a tentative plan)

ขั้นที่ ๔ เริ่มการเคลื่อนย้ายที่จำเป็น

ขั้นที่ ๕ ลาดตระเวนตรวจภูมิประเทศ

ขั้นที่ ๖ ทำแผนสมบูรณ์

ขั้นที่ ๗ ออกคำสั่ง

ขั้นที่ ๘ กำกับดูแล

ก. ขั้นที่ ๑ รับภารกิจ อาจได้รับในรูปของคำสั่งเตือน คำสั่งยุทธการ หรือคำสั่งเป็นส่วน ๆ ทันทีที่ได้รับคำสั่ง ต้องเริ่มวิเคราะห์ภารกิจโดยใช้ปัจจัยมูลฐาน (METT – T) ดังนี้

- ภารกิจ ให้ทำอะไร

- ทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับข้าศึก

- ลักษณะภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศมีผลกระทบต่อการปฏิบัติอย่างไร

- กำลังที่มีอยู่ มีอะไรบ้าง

- มีเวลาอยู่เท่าใด

๑) ผู้บังคับหน่วยไม่ควรใช้เวลาเกินกว่าหนึ่งในสามของเวลาที่มีอยู่สำหรับการวางแผนในส่วนของตนเองและในการออกคำสั่งยุทธการ ส่วนที่เหลืออีกสองในสามเป็นเวลาสำหรับหน่วยรองในการวางแผนและเตรียมการปฏิบัติ การวางแผนใช้เวลาที่มีอยู่ ควรพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นห้วงเวลาที่มีแสงสว่างและเวลาที่ต้องใช้ในการเดินทางไปและกลับจากการรับคำสั่งหรือการซักซ้อม เป็นต้น ในการเข้าตีต้องคิดหนึ่งในสามของห้วงเวลาตั้งแต่รับภารกิจจนถึงเวลาผ่านแนวออกตี ในส่วนการตั้งรับคิดหนึ่งในสามของห้วงเวลาตั้งแต่รับภารกิจจนถึงเวลาที่จะให้หมวดและหมู่ปืนเล็กพร้อมต้านทานข้าศึก

๒) การวางแผนใช้เวลาสำหรับดำเนินการเรื่องต่าง ๆ ในการเตรียมการนั้น ควรวางแผนย้อนหลัง โดยเริ่มตั้งแต่เวลาผ่านแนวออกตี หรือเวลาพร้อมต้านทานและต้องจัดเวลาให้เพียงพอสำหรับดำเนินการในแต่ละเรื่องได้ทัน

ข. ขั้นที่ ๒ การออกคำสั่งเตือน ในคำสั่งเตือนจะต้องมีข้อมูลข่าวสารเพียงพอสำหรับเริ่มต้นเตรียมการได้ทันที และมีคำแนะนำที่จำเป็นขั้นต้นให้กับหน่วยรองด้วย ใน รปจ.ของหมวดปืนเล็กกำหนดตัวบุคคลไว้เลยว่า ใครบ้างที่ต้องรับคำสั่งเตือน และหลังรับคำสั่งเตือนแล้วต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง ตัวอย่างเช่น การเบิกกระสุน เสบียงแห้งและน้ำ และการตรวจสอบเครื่องมือสื่อสารต่างๆ เป็นต้น คำสั่งเตือนไม่มีแบบฟอร์มตายตัว บางกรณีอาจใช้หัวข้อตามแบบฟอร์มของคำสั่งยุทธการก็ได้แต่ต้องมีข้อมูลข่าวสารมากที่สุดเท่าที่มีอยู่ขณะนั้น และแก้ไขเพิ่มเติมได้ตามความจำเป็นโดยไม่ต้องคอยข้อมูลข่าวสารให้ครบตามหัวข้อแบบฟอร์ม ตัวอย่างของคำสั่งเตือนตามรูปที่ ๒ - ๑ หากทำได้ ข้อมูลข่าวสารในคำสั่งเตือนควรมีดังนี้

- ภารกิจหรือลักษณะของการปฏิบัติ

- ส่วนที่ต้องเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติ

- เวลาที่จะปฏิบัติการ

- เวลาและสถานที่ที่จะออกคำสั่งยุทธการ

5 ความคิดเห็น:

  1. ขออนุญาตสอบถ้าครับ ทำไมมีแคคำสั้งเตือนละครับ ผมอยากศึกษาเพิ่มเติมต่อครับ ผมจะอ่านดูได้ที่ไหนครับช่วยแนะนำหน่อยครับ

    ตอบลบ
  2. กันลืมได้ดีมากค้น. Google เจอเลย

    ตอบลบ