วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การแสดงความเคารพ

ข้อบังคับทหาร
ว่าด้วยการเคารพ
__________
ตอนที่ ๑
ว่าด้วยการเคารพบนบก
มาตรา ๑
การเคารพเมื่ออยู่ตามลำพัง

ท่าเคารพ
ข้อ ๑ ท่าเคารพของทหารเมื่ออยู่ตามลำพังมีดังนี้
๑) สวมหมวกมิได้ถือปืน ทำวันทยหัตถ์
(๒) มิได้สวมหมวกและมิได้ถือเป็น
ก. อยู่กับที่ ทำท่าตรง แล้วทำแลขวา (ซ้าย)
ข. กำลังเคลื่อนที่ ทำท่าเดิน แล้วทำแลขวา (ซ้าย)
(๓) ถือปืน
ก. อยู่กับที่ ทำท่าวันทยาวุธ
ข. อยู่กับที่ เมื่อสะพายอาวุธอยู่ ทำท่าตรง แล้วทำแลขวา (ซ้าย)
ค. เคลื่อนที่ทำท่าเดินแล้วทำแลขวา (ซ้าย)
(๔) ขี่ม้า
ก. มิได้สะพายปืน ถ้าสวมหมวก ทำวันทยหัตถ์ มิได้สวมหมวกทำแลขวา (ซ้าย)
ข. สะพายปืน ทำแลขวา (ซ้าย)
(๕) เมื่อมิได้สวมหมวก ให้นายทหารสัญญาบัตรแสดงการเคารพด้วยวิธีก้มศีรษะ

ผู้รับการเคารพ
ข้อ ๒ ทหารต้องแสดงการเคารพต่อผู้หรือสิ่งซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้คือ
(๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(๒) สมเด็จพระบรมราชินี
(๓) สมเด็จพระบรมราชชนนี
(๔) รัชทายาท
(๕) พระเจ้าแผ่นดินและพระราชินีต่างประเทศ
(๖) พระบาทวงศ์ซึ่งเสด็จโดยมีธงราชวงศ์
๗) เจ้าต่างประเทศซึ่งเป็นเอกราชและเสด็จโดยมีธงราชวงศ์
(๘) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
(๙) นายกรัฐมนตรี
(๑๐) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
(๑๑) ทหารต่อทหารหรือตำรวจ
(๑๒) ทหารต่างประเทศซึ่งแต่งเครื่องแบบ
(๑๓) พระบรมศพและพระบรมอัฐิ
(๑๔) พระศพและพระอัฐิพระบรมวงศ์
(๑๕) ศพซึ่งมีกองทหารแห่เป็นเกียรติยศ
(๑๖) ธงประจำกองทหาร
(๑๗) ธงประจำกองยุวชนทหาร
(๑๘) ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาลในขณะขึ้นลง ธงหมายยศและ
ตำแหน่งตั้งแต่ชั้นผู้บัญชาการทหารเรือขึ้นไป และธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ ในขณะทำพิธี
ขึ้นลง
(๑๙) ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวชน และธงราชวงศ์ เวลาผ่านหรือชักขึ้นลง
(๒๐) อนุสาวรีย์รูปบุคคลซึ่งหล่อ ปั้น หรือทำด้วยหินตั้งไว้ขณะเมื่อ รัฐบาลมีงานฉลอง
(๒๑) หัวหน้าคณะผู้แทนทางทูตของต่างประเทศ ที่เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ เป็นทางราชการในพระบรมมหาราชวัง โดยรถยนต์ที่มีธงประจำตำแหน่ง หรือโดยรถยนต์
หลวงที่มิได้มีธงประจำตำแหน่ง

ผู้หรือสิ่งที่ต้อง
หยุดทำการเคารพ
ข้อ ๓ ทหารกำลังเดินอยู่ให้หยุดทำการเคารพต่อผู้หรือสิ่ง ซึ่งจะกล่าวต่อไปนี้ ซึ่งกำลัง
เคลื่อนที่ คือ

(๑) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

(๒) สมเด็จพระบรมราชินี

(๓) สมเด็จพระบรมราชชนนี

(๔) รัชทายาท

(๕) พระเจ้าแผ่นดิน และพระราชินีต่างประเทศ

(๖) พระบาทวงศ์ ซึ่งเสด็จโดยมีธงราชวงศ์

(๗) เจ้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นเอกราชและเสด็จ โดยมีธงราชวงศ์

(๘) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

(๙) นายกรัฐมนตรี

(๑๐) ผู้บังคับบัญชาของตนทุกชั้น

(๑๑) พระบรมศพและพระบรมอัฐิ

(๑๒) พระศพและพระอัฐิพระบรมวงศ์

(๑๓) ศพซึ่งมีกองทหารแห่เป็นเกียรติยศ

(๑๔) ธงประจำกองทหาร และกองยุวชนทหาร

ทั้งนี้ ให้ทำการเคารพเมื่อถึงระยะประมาณ ๓ ก้าว จากผู้หรือสิ่งต้องทำการเคารพ และเลิก เคารพเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ ๒ ก้าว

(๑๕) ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาล ธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ ธงมหาราช ธง ราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวราช และธงราชวงศ์ในขณะชักขึ้นลง

เคารพก่อนและหลัง
ข้อ ๔ ผู้มียศต่ำต้องทำการเคารพผู้มียศสูง นักเรียนทหารต้องทำการเคารพซึ่งกันและกัน
ผู้เรียนชั้นต่ำต้องทำการเคารพผู้เรียนชั้นสูง และพลทหารต้องทำการเคารพพลทหาร ซึ่งเข้า รับราชการก่อน ผู้มียศหรืออาวุโสสูงกว่าต้องเคารพตอบ ถ้ายศเสมอกันหรือเป็นนักเรียน ทหารชั้นเดียวกัน หรือเป็นพลทหารปีเดียวกัน หรือถ้าไม่แน่ใจว่าใครจะมีอาวุโสสูงกว่ากัน
ต้องทำการเคารพซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยงงอน

การเทียบชั้นการ
ข้อ ๕ ให้เทียบชั้นการเคารพสำหรับนักเรียนทหารไว้ดังนี้

เคารพสำหรับ
นักเรียนทหาร
(๑) นักเรียนทหารในโรงเรียนทหาร ที่จะเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตรเทียบเท่า
สิบเอก จ่าเอก หรือจ่าอากาศเอก
(๒) นักเรียนทหารในโรงเรียนทหาร ที่จะเป็นนายทหารประทวนเทียบเท่า
พลทหารอาวุโส

การรับเคารพ
ข้อ ๖ เมื่อทหารอยู่ด้วยกันหลายคน ผู้มียศหรือาวุโสสูงเป็นผู้รับเคารพแต่ผู้เดียว

ถอดหมวกเคารพ
มิได้
้ข้อ ๗ ถ้าทหารสวมหมวกอยู่ จะถอดหมวกเคารพแก่ผู้ใดมิได้

เคารพสถานที่
ข้อ ๘ เมื่อทหารเข้าไปในพระที่นั่ง โบสถ์ วิหาร ที่ว่าการหรือเคหะสถาน เพื่อเคารพต่อ
สถานที่นั้นให้ถอดหมวก

เคารพเมื่อได้ยิน
ข้อ ๙ เมื่อทหารอยู่ร่วมสถานที่ซึ่งมีการบรรเลงเพลง เป็นเกียรติยศต้องทำการเคารพจนกว่า

เพลงเคารพ
จะสิ้นเพลงเคารพนั้น

เริ่มและเลิกเคารพ
ข้อ ๑๐ การเคารพให้เริ่มและเลิกดังต่อไปนี้
(๑) เมื่อผ่านให้เริ่มกระทำในระยะห่าง เมื่อเห็นได้ถนัดและก่อนที่ผ่านประมาณ ๓

ก้าว เลิกเคารพเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ ๒ ก้าว

(๒) เมื่อเข้าไปหาให้เริ่มเคารพก่อนถึงผู้หรือสิ่งซึ่งต้องเคารพประมาณ ๓ ก้าว เลิก เคารพเมื่อได้รับอนุญาตหรือเสร็จกิจแล้ว

(๓) เมื่อผู้หรือสิ่งซึ่งต้องเคารพเข้ามายังบริเวณที่ตนอยู่ ให้เริ่ม และเลิกเคารพใน โอกาสอันควร





มาตรา ๒
การเคารพด้วยธงประจำกอง

ท่าเคารพ
ข้อ ๑ ท่าเคารพด้วยธง มีดังต่อไปนี้

(๑) อยู่กับที่

ก. ให้ลดธงลง

ข. ให้ถือธงท่ายกธง

(๒) เคลื่อนที่ ให้ถือธงท่ายกธง

วิธีเคารพ
ข้อ ๒ วิธีเคารพด้วยธง ให้ปฏิบัติดังนี้

(๑) อยู่กับที่ ลดธงลงถวายความเคารพ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรม ศพ พระบรมอัฐิ และประมุขต่างประเทศ ซึ่งมาเยือนประเทศไทยเป็นทางราชการ นอกจากนี้ ไม่ต้องทำการเคารพด้วยธง เว้นแต่เป็นธงประจำกองเกียรติยศจัด สำหรับผู้หรือสิ่งใด จึงให้ทำ การเคารพด้วยท่ายกธงแก่ผู้นั้นหรือสิ่งนั้นด้วย

(๒) เคลื่อนที่ ถือธงท่ายกธงถวายความเคารพแด่ พระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัว พระ บรมศพ และพระบรมอัฐิเท่านั้น

(๓) เมื่อธงแสดงการเคารพ ให้นายทหารรักษาธงทำวันทยาวุธด้วยกระบี่ และผู้

ช่วยผู้เชิญธงทำแลขวา (ซ้าย)

โอกาสที่ต้อง
เคารพ
ข้อ ๓ การเคารพด้วยธงประจำกองนั้น ให้กระทำเฉพาะเมื่อธงที่เชิญได้คลี่ไว้






มาตรา ๓
การบรรเลงเพลงเคารพ





เพลงเคารพ
ข้อ ๑ เพลงเคารพแบ่งแยกตามชนิดของเครื่องบรรเลงดังนี้
(๑) เพลงเคารพด้วยแตรวง คือ
ก. เพลงสรรเสริญพระบารมี
ข. เพลงชาติ
ค. เพลงมหาไชย
ง. เพลงมหาฤกษ์
จ. เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล
(๒) เพลงเคารพด้วยแตรเดี่ยว คือ เพลงคำนับ
(๓) เพลงเคารพด้วยขลุ่ย กลอง คือ เพลงมหาไชย

วิธีบรรเลง
ข้อ ๒ การบรรเลงเพลงเคารพนั้น มีวิธีบรรเลง ๒ วิธี
(๑) วิธีบรรเลงเพลงเคารพของเครื่องบรรเลงประจำแถว

(๒) วิธีบรรเลงเพลงเคารพของเครื่องบรรเลงที่มิได้ประจำแถว

การบรรเลงเพลงเคารพทั้ง ๒ วิธีนี้ กระทำเฉพาะเมื่อเครื่องบรรเลงอยู่กับที่

และเฉพาะในพิธีเกียรติยศ

สำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรม

ราชชนนี และรัชทายาท ทั้ง ๔ พระองค์นี้ ไม่ว่าในพิธีใด ๆ หรือไม่ก็ดี ต้องบรรเลงเพลง

ความเคารพถวายเสมอ

เครื่องบรรเลง
ประจำแถว
ข้อ ๓ เครื่องบรรเลงประจำแถว บรรเลงเพลงเคารพด้วยเพลงต่าง ๆ แก่ผู้หรือสิ่งซึ่งรับ
ความเคารพ ดังนี้


(๑) แตรวงบรรเลง
ก. เพลงสรรเสริญพระบารมี สำหรับ
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- สมเด็จพระบรมราชินี
- สมเด็จพระบรมราชชนนี
- รัชทายาท
- พระบรมศพและพระบรมอัฐิ
- ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ เยาวราช เวลาผ่านหรือ ชักขึ้นลง
ข. เพลงชาติ สำหรับ
ธงประจำกองทหาร
- ธงประจำกองยุวชนทหาร
- ธงชาติประจำสำนักงานของรัฐบาล ในขณะขึ้นลง และธงราช นาวีประจำเรือใหญ่ในขณะทำพิธีธงขึ้นลง
ค. เพลงมหาไชย สำหรับ
- พระบรมวงศ์
- ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
- ธงราชวงศ์ เวลาผ่านหรือขึ้นลง
- นายทหารที่มียศจอมพล จอมพลเรือ หรือจอมพลอากาศ
ง. เพลงมหาฤกษ์ สำหรับผู้หรือสิ่งอื่น ซึ่งมิได้กล่าวใน ก. ข. ค.
จ. เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล สำหรับธงประจำกองทหารในงานพิธี กระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงไชยเฉลิมพล
(๒) แตรเดี่ยว เป่าเพลงคำนับอย่างเดียว แต่ต่างกันด้วยจำนวนจบ ดังนี้
ก. เป่า ๓ จบ สำหรับผู้หรือสิ่ง ซึ่งแตรวงต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญ
พระบารมีและเพลงชาติ

ข. เป่า ๒ จบ สำหรับผู้หรือสิ่ง ซึ่งแตรวงต้องบรรเลงเพลงมหาไชย

ค. เป่า ๑ จบ สำหรับผู้หรือสิ่ง ซึ่งแตรวงต้องบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ และ ในพิธีเปลี่ยนกองรักษาการณ์

(๓) ขลุ่ยกลอง บรรเลงเพลงมหาไชย ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จ พระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี และรัชทายาท และในพิธีเปลี่ยนกองรักษาการณ์

อนึ่ง ถ้าแถวทหารนั้น ๆ มีเครื่องบรรเลงหลายประเภทให้เป็นหน้าที่ของแตรวง ถ้า

ไม่มีแตรวง ให้เป็นหน้าที่ของแตรเดี่ยว ส่วนขลุ่ยกลองนั้นใช้บรรเลงแต่เฉพาะไม่มีเครื่อง บรรเลงอื่น ๆ เว้นแต่การบรรเลงเพลงเคารพเมื่อขณะเปลี่ยนกองรักษาการณ์ ถ้ามีแตรเดี่ยว

ให้เป็นหน้าที่ของแตรเดี่ยว ถ้าไม่มีแตรเดี่ยวให้เป็นหน้าที่ขลุ่ยกลอง ส่วนแตรวงบรรเลง

เฉพาะเมื่อรับส่งธงประจำกอง

เครื่องบรรเลง
ไม่ประจำแถว
ข้อ ๔ เครื่องบรรเลงที่มิได้ประจำแถว บรรเลงเพลงเคารพเช่นเดียวกับ เครื่องบรรเลงประจำ
แถวแต่บรรเลงเฉพาะ

(๑) ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราช ชนนีและ รัชทายาท เมื่อเสด็จเข้ามายังที่นั้น และเมื่อเสด็จกลับ หรือเมื่อเสด็จผ่าน

(๒) บรรเลงเพลงเคารพอื่น ๆ เพื่อเป็นเกียรติยศตามกำหนดการนั้น





มาตรา ๔
การเคารพเมื่ออยู่ในความควบคุม

ท่าเคารพ
ข้อ ๑ ท่าเคารพของทหารเมื่ออยู่ในความควบคุมมีดังนี้
(๑) แถวทหารถือถาวุธอยู่กับที่ ทำวันทยาวุธ

(๒) แถวทหารสะพายอาวุธ หรือไม่ถืออาวุธอยู่กับที่ ทำท่าตรงแล้วทำแลขวา (ซ้าย)

(๓) แถวทหารกำลังเดิน ทำแลขวา (ซ้าย)

(๔) ทหารที่ไม่ได้อยู่เป็นแถว แต่ต้องรวมกันอยู่เป็นกลุ่ม ก้อนและมีผู้ควบคุม ประจำ

ก. อยู่กับที่ ทำท่าตรง แล้วทำแลขวา (ซ้าย)

ข. กำลังเคลื่อนที่ ทำท่าเดิน แล้วทำแลขวา (ซ้าย)

การเคารพในหมายเลข (๔) นี้ ผู้ควบคุมจะสั่งให้ทำการเคารพตามลำพังก็ได้

วิธีเคารพ
ข้อ ๒ วิธีการแสดงการเคารพของทหารเมื่ออยู่ในความควบคุมมีดังนี้
(๑) ทหารที่อยู่ในความควบคุมต้องทำการเคารพ ตามข้อ ๑ แห่งมาตรานี้แก่ผู้หรือ
สิ่งตามข้อ ๒ แห่งมาตรา ๑ ตั้งแต่หมายเลข (๑) ถึง (๘) กับ (๑๓) ถึง(๑๙) และผู้บังคับบัญชา
ตั้งแต่ชั้นผู้บังคับกองร้อย หรือผู้บังคับการเรือขึ้นไป
(๒) แถวทหารซึ่งพักอยู่ต้องเรียกแถว ทหารม้ามิได้อยู่บนหลังม้าต้องขึ้นม้า ทหาร
ขี่ม้าและขับรถมิได้อยู่บนหลังม้า และบนรถต้องขึ้นม้าและขึ้นรถ ถวายความเคารพ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนีและรัชทายาท

การเคารพเฉพาะ
ผู้ควบคุม
ข้อ ๓ ผู้ควบคุมแถวทหารอยู่กับที่ ถ้าขัดกระบี่หรือตามอยู่ เมื่อบอกแถวทหารทำการเคารพ

ด้วยท่าอาวุธ ให้ตนทำการเคารพด้วยท่ากระบี่ หรือดาบ นอกจากที่กล่าวแล้วนี้ผู้ควบคุมทำ การเคารพอย่างอยู่ตามลำพัง และถ้าชักกระบี่หรือดาบอยู่ ตามระเบียบของการบังคับแถวให้

ทำการเคารพด้วยท่าอาวุธนั้น

ผู้ควบคุมแถวทหารพลรบก็ดี หรือผู้ควบคุมแถวทหาร ผู้ช่วยพลรบที่ถือปืนในเวลา

ตรวจพลสวนสนามก็ดี ถ้าขัดกระบี่หรือดาบอยู่ เมื่อบอกแถวทหารทำการเคารพให้ตนทำการ

เคารพด้วยท่ากระบี่หรือดาบ

เริ่มและเลิก
เคารพ
ข้อ ๔ การเริ่มเคารพ ให้กระทำเมื่อเห็นได้ถนัดหรืออนุโลมตามโอกาส และสถานที่ เมื่อผู้
หรือสิ่งซึ่งรับการเคารพผ่านพ้นไปประมาณ ๓ ก้าว หรือเมื่อจบเพลงเคารพแล้ว จึงเลิกการ เคารพ






มาตรา ๕
การเคารพของกองรักษาการณ์และทหารรบ





ท่าเคารพ
ข้อ ๑ ท่าเคารพของกองรักษาการณ์และทหารราบ มีดังนี้
(๑) อยู่กับที่ ทำวันทยาวุธ
(๒) เคลื่อนที่ ทำท่าเดิน แล้วทำแลขวา (ซ้าย)

วิธีเคารพ
ข้อ ๒ วิธีแสดงการเคารพของกองรักษาการณ์และทหารยามมีดังนี้
(๑) สำหรับกองรักษาการณ์ เรียกแถวทำวันทยาวุธแก่ผู้และสิ่งตามที่กล่าวใน
มาตรา ๑ ข้อ ๒ หมายเลข (๑) ถึง (๘) กับ (๑๓) ถึง (๑๙) และผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ชั้น
ผู้บังคับกองพัน หรือผู้บังคับการเรือขึ้นไป
(๒) สำหรับทหารยาม
ก. เมื่ออยู่กับที่ ทำการเคารพด้วยวิธีวันทยาวุธแก่ผู้และสิ่งตามมาตรา
๑ ข้อ ๒ แต่ไม่ต้องเคารพทหารหรือตำรวจซึ่งต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร
ข. เมื่อเคลื่อนที่ทำการเคารพแก่ผู้และสิ่ง เช่น หมาย ก.ด้วยทำแลขวา
(ซ้าย)
ระเบียบการอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวแล้วในมาตรานี้ให้ปฏิบัติอนุโลมตามที่กล่าว ไว้ในมาตรา ๔


มาตรา ๖
การเคารพของกองทหารเกียรติยศ





ท่าเเคารพ
ข้อ ๑ ท่าเคารพของกองทหารเกียรติยศมีท่าเดียวคือ วันทยาวุธ

วิธีเคารพ
ข้อ ๒ วิธีแสดงการเคารพของกองทหารเกียรติยศ มีดังนี้
(๑) กองทหารเกียรติยศ จัดสำหรับผู้ใดหรือสิ่งใดให้ทำการเคารพแก่ผู้นั้นหรือ
สิ่งนั้น ผู้บังคับกองเกียรติยศปฏิบัติการอนุโลม ตามวิธีรับตรวจพลก่อนที่ผู้หรือสิ่งซึ่งรับ
เกียรติยศจะได้รับการเคารพตามระเบียบนั้น กองทหารเกียรติยศถวายการเคารพเฉพาะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนีและรัชทายาท
แต่ถ้าพระองค์ซึ่งทรงราชอิสรยยศต่ำกว่าอีก และในการนี้ผู้บังคับกองทหารเกียรติยศ ไม่ต้อง
ปฏิบัติอย่างการรับตรวจพล
การถวายการเคารพตามความในวรรคก่อน หากเป็นกองทหารเกียรติยศสำหรับศพ
ให้ถวายการเคารพท่านั้น ไม่ต้องบรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทั้งในเวลาเสด็จพระราช
ดำเนินมาถึงและเสด็จพระราชดำเนินกลับ
(๒) ถ้าเป็นกองทหารเกียรติยศซึ่งจัดไปเคารพให้แสดงการเคารพในเวลาเผาหรือ
ฝัง โดยให้แตรเดี่ยวเป่าเพลงนอน ๑ จบ แล้วให้หน่วยทหารเคารพศพกระทำ
วันทยาวุธ แตรวงหรือแตรเดี่ยวบรรเลงเพลงเคารพศพตามที่กำหนดในมาตรา ๓ เมื่อจบแล้ว
ทำเรียบอาวุธคงอยู่ในท่าตรง ต่อไปนี้ ถ้ามีแตรวงให้บรรเลงเพลงโศก ๑ จบ เป็นเสร็จการ
ระเบียบการอย่างอื่น นอกจากที่กล่าวในมาตรานี้ ให้ปฏิบัติอนุโลมตามที่กล่าวไว้
ในมาตรา ๔


มาตรา ๗
การผ่อนผัน

เมื่อทำวันทยาวุธ
หรือวันทยหัตถ์
์ไม่ได้
ข้อ ๑ ถ้าไม่สามารถทำการเคารพด้วยทำวันทยาวุธ หรือทำวันทยหัตถ์ได้ ให
(๑) อยู่กับที่ ทำท่าตรง แล้วทำแลขวา (ซ้าย)
้ (๒) เคลื่อนที่ ทำท่าเดิน แล้วทำแลขวา (ซ้าย)
ข้อ ๒ ทหารสนทนาหรือติดต่ออยู่กับผู้มียศสูงกว่า ไม่ต้องแสดงการเคารพผู้มียศต่ำกว่าผู้ซึ่ง
ตนอยู่ด้วย แต่ถ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี
สมเด็จพระบรมราชชนนี และรัชทายาท ไม่ต้องทำการเคารพแก่ผู้ใดนอกจากพระองค์นี้
ทหารในความควบคุมอยู่ต่อหน้าผู้ซึ่งแถวทหาร ต้องทำการเคารพให้ ไม่ต้องทำ
การเคารพผู้ซึ่งต่ำกว่า เว้นแต่เป็นระเบียบการเคารพของกองเกียรติยศ

์ถอดหมวก
ไหว้พระได้
ข้อ ๓ ทหารสวมหมวกอยู่ จะถอดหมวกเพื่อไหว้พระก็ได้

โอกาสที่ไม่
ต้องเคารพ
ข้อ ๔ ในโอกาสต่อไปนี้ ทหารไม่ต้องทำการเคารพแก่ผู้ใด
(๑) เมื่อกำลังเล่นกีฬา
(๒) เมื่ออยู่ในที่ชุมนุมซึ่งต้องการความสงบ
(๓) เมื่อเจ็บป่วยอาการสาหัส
(๔) เมื่อแบกหามของหนัก
(๕) เมื่อกำลังรับประทานอาหารอยู่
(๖) เมื่อมีหน้าที่ต้องประจำในขบวนหรือพิธีใด ๆ
(๗) กำลังขับขี่ยานหรือสัตว์พาหนะเคลื่อนที่ตามลำพัง ในที่คับขันหรือเมื่อกำลังขับ ยานพาหนะในความควบคุม
(๘) เมื่อควบคุมนักโทษเดินไปนอกเรือนจำ หรือโดยสารไปบนยานพาหนะ
(๙) เมื่อกำลังทำการรักษาพยาบาลตามหน้าที่

การเคารพกำลัง
ข้อ ๕ ทหารในความควบคุมซึ่งกำลังหัดหน้าที่ราชการสนาม ผู้ควบคุมไม่ต้องบอกแสดงการ

หัดหน้าที่ราชการ
สนาม
เคารพ แต่ตนเองต้องทำการเคารพอย่างอยู่ตามลำพัง

แถวเดินตามสบาย
หรือวิ่งไม่ต้อง
เคารพ
ข้อ ๖ แถวทหารกำลังเดินตามสบายหรือวิ่ง ไม่ต้องทำการเคารพ

การเคารพบน
ยานพาหนะ
ข้อ ๗ ทหารซึ่งอยู่บนยานพาหนะ ให้ทำการเคารพ โดยนั่งหรือยืนอยู่บนยานนั้นได้ แต่ต้อง
สำรวมอริยาบถขณะเคารพให้สมควร

กองรักษาการณ์
ไม่ต้องตั้งแถว
เคารพเวลาสวด
มนต์หรือฝนตก
ข้อ ๘ ถ้ามิได้มีคำสั่งเป็นพิเศษในระหว่างเวลาตั้งแต่สวดมนต์ก่อนนอนไปจนถึงรุ่งสว่าง
(เมื่อเห็นได้ถนัด) หรือเมื่อผนตกจนถึงต้องเก็บอาวุธ กองรักษาการณ์ไม่ต้องตั้งแถวแสดงการ
เคารพแก่ผู้ใด

กองรักษาการณ์
ไม่ต้องเรียกแถว
เคารพทหารที่ไม่
แต่งเครื่องแบบ
ข้อ ๙ ทหารซึ่งมิได้แต่งเครื่องแบบ กองรักษาการณ์ ไม่ต้องเรียกแถวทำการเคารพ




ตอนที่ ๒
ว่าด้วยการเคารพในเรือ
มาตรา ๘
การเคารพในเรือใหญ่

วิเคราะห์ศัพท์
ข้อ ๑ คำว่า "เรือใหญ่" หมายความว่า เรือเดินทะเล รวมทั้งที่เป็นเรือรบและเรือช่วยรบ

การเคารพด้วย
วิธียิงสลุต
ข้อ ๒ เรือใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ยิงสลุตตามพระราชกำหนดยิงสลุต จะต้องแสดงการเคารพด้วย
วิธียิงสลุตในโอกาสบ้างนั้น มีระเบียบการแจ้งอยู่ในพระราชกำหนดนั้นโดยละเอียดแล้ว แต่ ถึงแม้จะได้แสดงการเคารพ ด้วยวิธียิงสลุตแล้วก็ตามก็ยังต้องทำการเคารพตามวิธีที่จะได้กล่าว ต่อไป ประกอบด้วยในขณะที่ยิงสลุตนั้นเสมอ ไปตามควรแก่เกียรติยศของบุคคลและวัตถุซึ่ง
รับการเคารพ

การเคารพเมื่อเรือ
ชักธงหมาย
หมายยศและ
และหมาย
ตำแหน่ง
ข้อ ๓ เรือใหญ่ในเวลาแล่นผ่านกันหรือแล่นมาจอดรวม แห่งเดียวกัน ห่างจากกันในระยะ
ซึ่งอาจทราบสัณฐานและลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติ ให้มีการเคารพซึ่งกันและกันก็คือ
(๑) เรือใหญ่อื่น ๆ ทำการเคารพต่อเรือทุกชนิด ที่ชักธงมหาราชใหญ่หรือน้อย
ธงราชินีใหญ่หรือน้อย ธงเยาวราชใหญ่หรือน้อย ด้วยวิธีดังนี้
ก. เรือซึ่งมียามใหญ่ เรียกยามใหญ่ เข้าแถวทหารอื่น ๆ แถว รายกราบตั้ง แต่หัวตลอดท้ายเรือเฉพาะกราบที่ผ่าน เมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยามบอกตรง ยาม ใหญ่ กับทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธ ทหารรายกราบทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรวง ๆ บรรเลง เพลงสรรเสริญพระบารมี แตรสั้นเป่าเพลงคำนับ ๓ จบ
ข. เรือที่ไม่มียามใหญ่ เรียกแถวทหารยืนรายกราบตั้งแต่หัวตลอดหัว
ท้ายเรือเฉพาะกราบที่ผ่าน เมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยามบอกตรงทหารที่ถือปืนทำ
วันทยาวุธทหารรายกราบทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรให้ปฏิบัติอย่าง ก.

(๒) เรือใหญ่อื่น ๆ ทำการเคารพต่อเรือทุกชนิด ที่ชักธงราชวงศ์ใหญ่หรือน้อย ด้วย วิธีดังนี้
ก. เรือที่มียามใหญ่ เรียกยามใหญ่เข้าแถว ส่วนทหารอื่น ๆ ผู้ใดอยู่แห่งใด ก็ให้คงอยู่ตรงนั้น โดยหันหน้าไปทางสิ่งที่รับการเคารพเมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยาม บอกตรง ยามใหญ่กับทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธทหารนอกนั้น ทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรวงๆ บรรเลงเพลงมหาไชย แตรสั้น เป่าเพลงคำนับ ๒ จบ
ข. เรือที่ไม่มียามใหญ่ ผู้ใดอยู่บนดาดฟ้าแห่งใด ก็คงให้ทำการเคารพที่ ตรงนั้น โดยหันหน้าไปทางสิ่งที่รับการเคารพ เมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยามบอก
ตรงทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธ ทหารนอกนั้นทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรให้ปฏิบัติอย่าง ก.

(๓) เรือใหญ่อื่น ๆ ทำการเคารพต่อเรือทุกชนิด ที่ชักธงนายกรัฐมนตรี ธงรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงกลาโหม ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ธงผู้บังคับการกองเรือรบ และ ธงนายพล เรือทุกชั้น ด้วยวิธีดังนี้
ก. เรือที่มียามใหญ่ เรียกยามใหญ่เข้าแถว ส่วนทหารอื่น ๆ ผู้ใดอยู่แห่งใด ก็ให้คงอยู่ตรงนั้น โดยหันหน้าไปทางสิ่งที่รับการเคารพเมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยาม บอกตรง ยามใหญ่กับทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธทหารนอกนั้น ทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรวงๆ บรรเลงเพลงเดินมหาฤกษ์ แตรสั้นเป่าเพลงคำนับ ๑ จบ
ข. เรือที่ไม่มียามใหญ่ ผู้ใดอยู่บนดาดฟ้าแห่งใด ก็คงให้ทำการเคารพที่ ตรงนั้น โดยหันหน้าไปทางสิ่งที่รับการเคารพ เมื่อเป่าแตรสัญญาณตรงหรือนายยามบอกตรง ทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธ ทหารนอกนั้นทำวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรให้ปฏิบัติตาม ก.

(๔) เรือใหญ่ซึ่งชักแต่ธงประจำเรือตามปกติ และจะมีธงนายเรือชั้นใดด้วยก็ตาม ให้ทำการเคารพซึ่งกันและกัน คือ นายยามสั่งให้เป่าแตรสัญญาณตรงหรือบอกตรง บรรดา ทหารซึ่งอยู่บนดาดฟ้าเรือ ที่ถือปืนทำวันทยาวุธที่ไม่ได้ถือปืนทำวันทยหัตถ์ ใครอยู่ที่ใดให้ทำ การเคารพที่ตรงนั้น โดยหันหน้าไปทางสิ่งที่รับการเคารพ และการที่เรือใดจะต้องทำการ เคารพซึ่งกันและกัน ก่อนหรือหลังอย่างใดนั้นให้ปฏิบัติดังนี้
ก. เรือชั้นที่ ๓ เคารพเรือพระที่นั่ง เรือชั้นที่ ๑ และเรือชั้นที่ ๒ ก่อน
ข. เรือชั้นที่ ๒ เคารพเรือพระที่นั่ง กับเรือชั้นที่ ๑ ก่อน
ค. เรือชั้นที่ ๑ เคารพเรือพระที่นั่งก่อน
ง. เรือชั้นเดียวกัน ให้เรือที่ผู้บังคับการเรือมียศน้อยกว่าเคารพเรือที่ผู้ บังคับการเรือมียศสูงหรืออาวุโสกว่า ถ้าผู้บังคับการเรือมียศเสมอกัน ให้ต่างฝ่ายต่างทำการ เคารพพร้อม ๆ กัน
จ. เรือช่วยรบ ถึงจะอยู่ในลำดับชั้นสูงกว่าเรือรบก็ตาม ให้ทำการเคารพ
เรือพระที่นั่งและเรือรบก่อนเสมอไป



การเคารพ
ระหว่างเรือ
หลวงกับเรือ
รบต่างประเทศ
ข้อ ๔ เรือหลวงกับเรือรบต่างประเทศ ให้ทำการเคารพซึ่งกันและกันดังนี้
(๑) ถ้าเรือรบต่างประเทศชักธงราชตระกูล ให้เรือหลวงทำการ เคารพโดยวิธีเดียว

กันกับทำความเคารพเรือที่ชักธงราชตระกูลฝ่ายสยาม แต่ถ้ากำหนดให้แตรวงบรรเลงเพลง

สรรเสริญบารมีไทย ต้องเปลี่ยนเป็นบรรเลงสรรเสริญบารมีของชาติต่างประเทศนั้น ๆ

(๒) ถ้าเรือรบต่างประเทศชักธงตำแหน่งข้าราชการชั้นสูง หรือธงนายพลเรือ หรือเรือหลวงทำการเคารพโดยวิธีเดียวกันกับ ทำความเคารพเรือที่ชักธงหมายตำแหน่งหรือธงนายพล เรือฝ่ายสยาม แตรวงคงบรรเลงเพลงเดินมหาฤกษ์เหมือนกัน

(๓) ถ้าเรือรบต่างประเทศมิได้ชักธงตาม (๑) และ (๒) ให้เรือหลวงทำการเคารพ อย่างเรือรบฝ่ายสยามตามข้อ ๓ (๔) แต่ให้ทำการเคารพพร้อมกันกับเรือรบต่างประเทศนั้นโดย ไม่ต้องคำนึงถึงชั้นของเรือหรือยศ และอาวุโสของผู้บังคับการเรือ

(๔) ถ้าเรือต่างฝ่ายต่างชักธงหมายเกียรติยศด้วยกัน เรือที่าชักธงหมายเกียรติยศต่ำ กว่าทำการเคารพเรือที่ชักธงหมายเกียรติยศสูงกว่า ถ้าธงหมายเกียรติยศนั้นเสมอกันให้ทำการ เคารพพร้อม ๆ กัน

(๕) ถ้าเรือรบต่างประเทศทำการเคารพเรือหลวงก่อน ไม่ว่าในระยะใด ๆ ให้เรือ หลวงทำการเคารพตอบทันที โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าในระยะนั้น ๆ จะอาจทราบสัญฐานและ

ลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติหรือไม่ ก็ตาม

การเคารพ
ระหว่างเรือหลวง
กับเรือค้าขาย
ข้อ ๕ ถ้าเรือค้าขายหรือเรือรับคนโดยสาร จะเป็นของสยามหรือของต่างประเทศก็ตาม ลดธง
เคารพเรือหลวง ให้เรือหลวงลดธงท้ายเรือรับการเคารพ ๑ ครั้ง แล้วชักธงขึ้นที่ตามเดิมก่อนที่
เรือนั้นจะหยุดทำการเคารพ ห้ามมิให้เรือหลวงลดธงเคารพเรือของบริษัทหรือเอกชนก่อนเป็น
อันขาด

การเคารพธงหมาย
เกียรติยศที่ชักไว้
บนบก
ข้อ ๖ เมื่อเรือหลวงแล่นผ่านที่ซึ่งมีธงมหาราช ธงราชินี ธงเยาวราช ธงราชวงศ์ ธงนายก
้ รัฐมนตรี ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ธงผู้บัญชาการทหารเรือ และธงนายพลเรือทุก
ชั้นซึ่งชักขึ้นไว้ยอดเสาบนบก ให้กระทำการเคารพแก่ธงนั้นโดยนัยเดียวกันกับที่กล่าวไว้ใน
ข้อ ๓ (๑) (๒) หรือ (๓) ตามควรแก่เกียรติยศของธง

โอกาสที่เรือหลวง
งดเว้นการเคารพ
ข้อ ๗ การเคารพในเรือใหญ่ซึ่งได้กล่าวมาแล้วนั้น ให้งดเว้นได้ในโอกาสต่อไปนี้

(๑) เรือซึ่งชักธงมหาราชไม่ต้องเคารพธง อย่างหนึ่งอย่างใดที่ต่ำกว่าเรือซึ่งชักธง ราชินีเคารพธงมหาราช เรือซึ่งชักธงเยาวชนเคารพธงมหาราช และธงราชินีเรือซึ่งชักธงราช วงศ์เคารพธงมหาราช ธงราชินีและธงเยาวราช ส่วนเรือซึ่งชักธงนายกรัฐมนตรี ธงรัฐมนตรีว่า การกระทรวงกลาโหม ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ตลอดจนธงนายพลเรือทุกชั้นเคารพธงหมาย ราชตระกูลทุกธง แต่ไม่เคารพธง ซึ่งหมายยศหรือตำแหน่งต่ำกว่าชั้นของตนลงไป เฉพาะเรือ ที่ชักธงนายพลเรือนั้น เมื่อฝ่ายที่ธงต่ำกว่าทำการเคารพแล้วให้ฝ่ายที่สูงกว่าทำความเคารพตอบ ด้วย

(๒) ถ้ามีธงที่เรือจะต้องทำการเคารพอยู่ในที่เดียว ใกล้ชิดกันหลายธง ให้ทำการ เคารพเฉพาะธงที่หมายเกียรติยศสูงสุดธงเดียว

(๓) ในระหว่างเวลาธงลงแล้ว ไม่มีการเคารพอย่างหนึ่งอย่างใดนอกจากทหารใน เรือทำการเคารพอย่างเดียวกับเวลาที่ไม่มีผู้ควบคุม เว้นไว้แต่ เมื่อมีคำสั่งพิเศษชั่วครั้งคราว
หรือเมื่อเรือนั้นต้องมีหน้าที่ยิงสลุต

การเคารพ
บุคคลและวัตถุ
ที่ควรเคารพ
ข้อ ๘ เรือหลวงต้องทำการเคารพแก่บุคคลและวัตถุต่าง ๆ ในเวลาที่ผ่านกันหรือมาหยุดอยู่

ุ ดังนี้

(๑) นายยามสั่งให้เป่าแตรสัญญาณ หรือบอกตรง ทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธ

ที่ไม่ได้ถือปืนทำวันทยหัตถ์ ยามใหญ่ไม่เข้าแถว แตรสั้นไม่ต้องเป่าเพลงคำนับให้แก่บุคคล และวัตถุ คือ

ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี รัชทายาท

พระบรมวงศ์ สมเด็จพระราชชนนี พระเจ้าแผ่นดินและเจ้าต่างประเทศ ในเมื่อไม่มีธงหมาย

พระเกียรติยศ

ข. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการทหาร เรือ ผู้บังคับการกองเรือรบและนายพลเรือ ที่เป็นผู้มีอำนาจบังคับบัญชาแห่งเรือนั้นในเวลาที่ ไม่มีธงหมายยศ

ค. พระบรมศพ พระบรมอัฐิ ขบวนแห่พระศพ

ง. ธงจุฑาธุช ธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร

(๒) ทหารซึ่งอยู่บนดาดฟ้าเรือต่างคนต่างทำความเคารพอย่างเวลาอยู่ตามลำพัง

ทหารยามทำการเคารพให้แก่บรรดานายพลเรือทุกชั้น ซึ่งไม่มีอำนาจบังคับบัญชาแห่งเรือนั้น

เมื่อไม่ธงหมายยศ และบุคคลอื่น ๆ ซึ่งมีหน้าที่รับการเคารพตามระเบียบทหารในเวลาอยู่ตาม

ลำพัง และระเบียบสำหรับยามรักษาการณ์

(๓) ทหารซึ่งอยู่ในระหว่างควบคุมเพื่อฝึกหัดหรือสอน ให้ทำการเคารพตาม

ระเบียบทหารเวลาอยู่ในความควบคุม

(๔) ถ้าเป็นเวลาธงลงแล้ว การเคารพตามที่กล่าวใน (๑) นั้นให้ ปฏิบัติอย่าง (๒)

การเคารพเมื่อ
เสด็จเป็นขบวน
ข้อ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ดี สมเด็จพระบรมราชินีก็ดี หรือรัชทายาท เมื่อ

เสด็จเป็นขบวน มีขบวนแห่นำตามเสด็จเป็นพระเกียรติยศโดยทางราชการ จะเป็นทาง

ชลมารคก็ดี ทางสถลมารคก็ดี ถึงหากจะไม่มีธงหมายพระเกียรติยศมาด้วยก็ให้เรือหลวง

ทำการเคารพดั่งกล่าวแล้วในข้อ ๓. (๑) และ (๒)






มาตรา ๙
การเคารพศพในเรือ

การเคารพศพ
ทหารถึงแก่กรรม
ในเรือใหญ่
ข้อ ๑ ทหารที่ถึงแก่กรรมในเรือใหญ่ ให้ได้รับเกียรติยศในการเคารพศพดังนี้

(๑) ในขณะยกศพไปจากเรือนั้น ให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรหน่วยทหาร ทั้งหมด

่ ที่เคารพศพ ส่งศพเพียงบันไดเรือ ทหารประจำเรือตั้งแถวหน้าบันไดเรือ ถ้ามียามใหญ่ให้ ยามใหญ่เข้าแถวทำวันทยาวุธ แตรเดี่ยวเป่าเพลงคำนับตามชั้นยศ ถ้าผู้ที่ชั้นยศไม่ถึงกำหนด เป่าเพลงคำนับ ก็ให้แตรเดี่ยวเป่าเพลงคำนับ ๑ จบ ทหารนอกนั้นทำวันทยหัตถ์

(๒) ถ้าทำการปลงศพอย่างชาวทะเล ในเวลาหย่อนศพลงทะเลก็ให้มีการเคารพ

เคารพศพอย่างเดียวกับที่กล่าวแล้วใน (๑) กับให้มีทหารถือปืนอย่างน้อย ๑ หมู่ และอย่างมาก

๑ หมวด ตามชั้นของเรือเพิ่มขึ้น หรือยามใหญ่นั้นเองตั้งแถวริมกราบ เรือยิงปืนตับด้วย กระสุนซ้อมรบคำนับศพ ๓ ครั้ง ในขณะที่ศพจมลงไป

ถ้ามีแตรวงให้เป่าเพลงคำนับให้แก่ศพนายทหารสัญญาบัตรด้วย

อนึ่ง ถ้าผู้ตายเป็นนายพลให้ยิงสลุตด้วยตามเกียรติยศ ซึ่งบัญญัติไว้ในพระราช กำหนดการยิงสลุต

การลดธงเรือคำนับศพ ให้เป็นไปตามข้อบังคับทหารว่าด้วยการไว้ทุกข์

เวลารับศพ
ลงเรือใหญ่
ข้อ ๒ เรือใหญ่ที่จัดไปรับศพ ให้มีการเคารพในเวลารับศพลงเรือครั้งหนึ่ง และเวลาส่งศพ
่ ไปจากเรืออีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีเดียวกับที่กล่าวแล้วในข้อ ๑.(๑) แต่เฉพาะศพนายทหาร
สัญญาบัตร ส่วนศพนอกนั้นไม่มีพิธีอย่างใด

การแต่งกายของ
หน่วยทหารที่
เคารพศพ
ข้อ ๓ การแต่งกายในเวลาเคารพดังกล่าวไว้ในข้อ ๑ และ ๒ นั้นให้ แต่งเครื่องเต็มยศ






มาตรา ๑๐
การรับรองในเรือใหญ่

การรับรองและส่ง
เสด็จพระบาท
สมเด็จพระเจ้า
อยู่หัว สมเด็จ
พระบรมราชินี
รัชทายาท
ข้อ ๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระบรมราชินี หรือรัชทายาทเสด็จขึ้น
หรือลงจากเรือหลวง ให้ผู้บังคับการเรือและนายทหารทั้งหมดรับส่งเสด็จที่บันได พันจ่าเป่า
นกหวีด ยามใหญ่ในบังคับนายทหารชั้นสัญญาบัตรเข้าแถวถวายวันทยาวุธ ทหารอื่น ๆ
ยืนรายกราบตั้งแต่หัวตลอดท้ายเรือทางกราบที่เสด็จและถวายวันทยหัตถ์ ถ้ามีแตรวง ฯ
ี บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมีแตรสั้นเป่าเพลงคำนับ ๓ จบ

การรับรองและ
ส่งเสด็จพระบรม
วงศานุวงศ์
ข้อ ๒ เมื่อพระบรมวงศ์หรือสมเด็จพระราชชนนี เสด็จขึ้นหรือลงจากเรือหลวง ให้ทำการรับ
รองและส่งเสด็จเช่นเดียวกับข้อ ๑ เว้นแต่ทหารไม่ต้องยืนรายกราบและแตรวงเปลี่ยนเป็น
์ บรรเลงเพลงมหาไชย

การรับรองและ
ส่งนายทหารเรือ
ชั้นสัญญาบัตร
ข้อ ๓ เมื่อนายทหารเรือชั้นสัญญาบัตรทุกชั้นมาขึ้นหรือลงจากเรือหลวงให้ทำการรับรองและ
ส่งดังแจ้งในตารางหมายเลข ๑ ต่อท้ายข้อบังคับนี้

การรับรองและ
ส่งนายทหารบก
อากาศ หรือ
นายตำรวจ
ข้อ ๔ เมื่อนายทหารบก นายทหารอากาศ หรือนายตำรวจมาลงเรือหรือไปจากเรือหลวงโดย

หน้าที่ราชการเป็นเกียรติยศโดยอิสระ ให้มีการรับและส่งอนุโลมตามยศนายทหารเรือ คือ

นายพล นายพลอากาศ และนายพลตำรวจ เหมือนนายพลเรือ นายพัน นายนาวาอากาศ และ

นายพันตำรวจเหมือนนายเรือ แต่ถ้ามาหรือไปจากเรือหลวงโดยไม่ใช่หน้าที่ราชการเป็นเกียรติ

ยศแล้ว ให้ทำการรับรองอย่าง นายทหารเรือ แต่เว้นการเป่านกหวีดทุกชั้น

การรับรองและ
ข้าราชการ-
พลเรือน
ข้อ ๕ เมื่อข้าราชการฝ่ายพลเรือนมาลงหรือไปจากเรือหลวง โดยหน้าที่ราชการเป็นเกียรติยศ
โดยอิสระ ให้ทำการรับและส่งดั่งแจ้งในตารางหมายเลข ๒ ต่อท้ายข้อบังคับนี้

การรับรองและ
ส่งพระเจ้า-
แผ่นดินและเจ้า
นายต่างประเทศ
ข้อ ๖ เมื่อพระเจ้าแผ่นดินและรัชทายาทต่างประเทศ เสด็จมาขึ้นหรือลงจากเรือหลวง ให้
ทำการรับรองอย่างเดียวกับในข้อ ๑ แต่แตรวงเปลี่ยนเป็นบรรเลงเพลงสรรเสริญบารมีของ
ประเทศนั้น
ถ้าเจ้านายต่างประเทศที่ไม่ใช้รัชทายาทเสด็จมาขึ้น หรือลงจากเรือหลวงให้ทำการ
รับรองอย่างเดียวกับในข้อ ๒ แต่แตรวงเปลี่ยนเป็น บรรเลงเพลงสรรเสริญบารมีของประเทศ
นั้น

การรับรองและ
ส่งข้าราชการ
ต่างประเทศ
ข้อ ๗ เมื่อข้าราชการชั้นสัญญาบัตรแห่งรัฐบาลต่างประเทศ คือ นายทหารเรือ นายทหารบก

และข้าราชการพลเรือน มาขึ้นหรือลงจากเรือหลวง ให้ทำการรับรองเหมือน เช่นข้าราชการ

สยาม ซึ่งมีตำแหน่งเทียบชั้นตรงกัน แต่เฉพาะนายทหารต่างประเทศนั้นต้องได้รับนกหวีดใน การรับรองด้วยเสมอ ไม่เลือกว่าจะมียศชั้นใด ถ้าผู้ใดที่เทียบชั้นข้าราชการสยาม ซึ่งกำหนดให้ แตรวงบรรเลงเพลงเดินด้วยก็ให้แตรวงบรรเลงเพลงเดินมหาฤกษ์รับรองเช่นเดียวกันเว้นไว้แต่ ถ้าข้าราชการต่างประเทศผู้นั้นเป็นผู้แทนของรัฐบาลด้วยแล้ว ให้แตรวงเปลี่ยนเป็นบรรเลง เพลงชาติของประเทศนั้น

อนึ่ง ถ้าในเรือหลวงลำนั้นมีผู้ที่มีเกียรติยศสูงอยู่ก่อนแล้ว การรับรองผู้มาใหม่โดย

เต็มเกียรติยศของผู้นั้น จะทำได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากผู้ที่มีเกียรติยศสูงในเรือเสียก่อน


มาตรา ๑๑
พิธีธงขึ้นและธงลง

การเคารพธง
ประจำเรือสำหรับ
ทหารในเรือ
ข้อ ๑ ในการชักธงประจำเรือขึ้นเมื่อเวลา ๐๘๐๐ และชักลงเมื่อเวลาพระอาทิตย์อัสดงคตนั้น
ให้มีการเคารพแก่ธงดังนี้
(๑) บรรดาเรือหลวงที่ไม่มียามใหญ่ ให้ทหารและพลเรือนที่อยู่ในเรือนั้นทำการ เคารพแก่ธงในเวลาธงขึ้นหรือธงลงจนกว่าจะเสร็จพิธี คือเมื่อนายยามหรือนายเรือบอกตรงให้ ทหารที่ถือปืนทำวันทยาวุธ นอกนั้น ทำวันทยหัตถ์หรือยืนตรง นกหวีดเป่าเพลงธงขึ้นหรือธง ลง แตรสั้นเป่าเพลงคำนับ ๓ จบ แต่เฉพาะการเคารพธงลงนั้น เมื่อเสร็จการเคารพแล้ว ให้เป่า เพลงย่ำค่ำต่อด้วย
(๒) ถ้าเป็นเรือที่มียามใหญ่ ให้ยามใหญ่เข้าแถวทำวันทยาวุธ แตรสั้นเป่าเพลงคำนับ ๓ จบ ถ้ามีขลุ่ยและกลอง ขลุ่ยเป่าเพลงมหาไชย กลองตีตลอดเวลา ถ้ามีแตรวง ๆ บรรเลง
เพลงชาติ นอกจากนี้ ให้ทำการเคารพอย่าง (๑)

การเคารพธง
ประจำเรือสำหรับ
ทหารนอกเรือ
ข้อ ๒ ในเวลากระทำพิธีธงขึ้นและธงลงในเรือนั้น ถ้าทหารอยู่นอกเรือในระยะซึ่งอาจทราบ
สัณฐานและลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติแล้ว ให้ทำการเคารพตามวิธีที่ได้กำหนดไว้
สำหรับทหารและกองทหารทุกประเภท ทั้งนี้ให้ทำการเคารพตลอดถึงข้าราชการพลเรือนและ
คนงานในสังกัดกองทัพเรือ โดยใช้วิธีถอดหมวกยืนตรง

พิธีธงประจำเรือ
ขึ้นและลงใน
อ่าวต่างประเทศ
ข้อ ๓ เมื่อเรือหลวงทอดอยู่ในอ่าวต่างประเทศใด ๆ ก็ดีการทำพิธีธงขึ้นและธงลงนั้นให้
ปฏิบัติอย่างข้อ ๑ แต่ถ้ามีแตรวงด้วย เมื่อแตรวงบรรเลงเพลงชาติไทยจบลงแล้วให้บรรเลง
เพลงชาติของชาติที่เป็นเจ้าของอ่าว ติดต่อกันไปอีกจบหนึ่ง ทหารในเรือคงทำการเคารพตลอด
เวลา

พิธีธงประจำเรือ
ขึ้นและลงเมื่อจอด
รวมกับเรือรบต่าง
ประเทศใน
อ่าวเรา
ข้อ ๔ ถ้าเรือหลวงทอดอยู่แห่งเดียวกันกับเรือรบต่างประเทศ ในน่านน้ำของเราในระยะซึ่ง

อาจทราบสัณฐานและลักษณะของธงได้ ด้วยจักษุปกติแล้วในการทำพิธีธงขึ้นและธงลงนั้น

ถ้าเป็นเรือที่มีแตรวง เมื่อแตรวงบรรเลงเพลงชาติไทยจบแล้วให้บรรเลงเพลงชาติของชาติที่

เป็นเจ้าของเรือรบนั้นอีกจบหนึ่ง ถ้ามีเรือของหลายชาติให้เรียงลำดับที่จะบรรเลงเพลงชาติ

ให้ชาติใดก่อนและหลังตามลำดับยศทหารและอาวุโสของผู้บังคับการเรือ หรือกองเรือชาติต่าง

ประเทศนั้น ๆ ทหารในเรือคงทำการเคารพตลอดเวลาจนกว่าจะสุดเสียงแตร

พิธีธงประจำเรือ
ขึ้นและลงเมื่อ
จอดรวมกับเรือ
รบต่างประเทศ
ในอ่าวต่างประเทศ
ข้อ ๕ ถ้าเรือหลวงทอดอยู่แห่งเดียวกันกับเรือรบต่างประเทศ ในอ่าวต่างประเทศในระยะซึ่ง

อาจทราบสัณฐานและลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติ แล้วในการทำพิธีธงขึ้นและธงลงนั้นให้

ปฏิบัติอย่างข้อ ๓ ก่อน เมื่อจบเพลงชาติของชาติที่เป็นเจ้าของอ่าวแล้ว จึงให้ปฏิบัติอย่างข้อ

๔ ต่อไปจนจบ เว้นไว้แต่เรือรบต่างประเทศที่ไม่สัญญาทางพระราชไมตรีกับประเทศสยาม

อนึ่ง ถ้าในหมู่เรือรบต่างประเทศที่จอดร่วมอ่าวกันนี้ มีเรือรบของชาติเจ้าของอ่าว

ด้วยแล้ว ให้งดเว้นไม่ต้องบรรเลงเพลงชาติให้แก่ธงเรือรบที่เป็นของชาติเจ้าของอ่าวนั้นอีก

พิธีธงหมาย
เกียรติยศและ
ตำแหน่งขึ้น
และลง
ข้อ ๖ การชักธงหมายเกียรติยศหรือตำแหน่งขึ้นหรือลง ในเรือหลวงลำหนึ่งลำใด ถ้าบังเอิญ
พ้องกับการรับหรือส่งผู้ซึ่งธงนั้น หมายขึ้นหรือลงจากเรือด้วยแล้ว ให้เรือหลวงลำนั้นถือเอา
การเคารพ ในการรับหรือส่งดังกล่าวแล้วในมาตรา ๒ นั้น เป็นการเคารพพิธีธงขึ้นลงด้วยใน
ตัว
ถ้าการชักธงซึ่งกล่าวมานี้ไม่พ้องกับการรับหรือส่ง ดังเช่นเวลาเปลี่ยนธงน้อยเป็น

ธงใหญ่หรือตรงกันข้าม หรือเปลี่ยนธงนายพลเรือ โดยเหตุเลื่อนยศ เป็นต้น ให้ทหารในเรือ นั้นทำการเคารพอย่างเดียวกันกับพิธีธงประจำเรือ ขึ้นและลง เว้นแต่ถ้าเป็นเรือที่มีแตรวง ๆ บรรเลงเพลงสรรเสริญบารมีหรือมหาไชยหรือเพลงเดินมหาฤกษ์ตามควรแก่เกียรติยศของ
บุคคลที่ธงนั้น หมายโดยเกณฑ์เดียวกันกับการรับรองในเรือหลวง

การเคารพของ
เรืออื่น ๆ ใน
พิธีธงหมาย
เกียรติยศและ
ตำแหน่งขึ้นลง
ข้อ ๗ ถ้ามีการชักธงหมายเกียรติยศหรือหมายตำแหน่งขึ้นลงในเรือลำใด ให้เรือหลวงลำ

อื่น ๆ ซึ่งอยู่ในระยะที่อาจทราบสัณฐาน และลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติ ทำการเคารพ

ให้แก่ธงนั้น โดยวิธีเดียวกันกับที่กล่าวด้วยการเคารพในเรือใหญ่

อนึ่ง ถ้าเรือหลวงจอดร่วมอ่าวกับเรือรบต่างประเทศ ในระยะซึ่งอาจทราบสัณฐาน

และลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติแล้ว เมื่อเรือรบต่างประเทศนั้น ๆ ชักธงหมายเกียรติยศ

หรือหมายตำแหน่งขึ้นลงให้เรือหลวงทำการเคารพดังกล่าวข้างบนนี้ด้วย

การเคารพของ
หมายเกียรติยศ
และตำแหน่ง
สำหรับทหาร
นอกเรือ
ข้อ ๘ ในการชักธงหมายเกียรติยศหรือหมายตำแหน่งชาติไทย ก็ตามต่างประเทศก็ตาม

ขึ้นลงในเรือลำหนึ่งลำใดนั้น ให้ทหารที่อยู่นอกเรือในระยะ ซึ่งอาจทราบสัณฐานและ

ลักษณะของธงได้ด้วยจักษุปกติ ทำการเคารพให้แก่ธงนั้นตามควรแก่เกียรติยศ ซึ่งธงนั้น

หมายตามวิธีที่ได้กำหนดไว้สำหรับทหารและกองทหารทุกประเภท

การเคารพเมื่อ
ธงหมายเกียรติยศ
และตำแหน่งขึ้น
ลงพ้องกับธง
ข้อ ๙ ถ้าการชักธงหมายเกียรติยศหรือหมายตำแหน่งขึ้นลงนั้น พ้องกับเวลาทำพิธีธงประจำ

เรือขึ้นลงแล้ว ให้ทำการเคารพสำหรับพิธีธงประจำเรือขึ้นลงแต่อย่างเดียว แต่ถ้าการนั้นจะ

ต้องยิงสลุต ตามพระราชกำหนดการยิงสลุตด้วย ก็ให้เติมการยิงสลุตขึ้น

อีกอย่างหนึ่ง

งดเว้นการ
เคารพ
ข้อ ๑๐ ในการชักธงประจำเรือขึ้นนอกเวลาปกติ คือ ก่อนเวลา ๐๘๐๐ เพื่อประโยชน์ให้รู้ชาติ
ของเรือชั่วคราวเป็นพิเศษนั้นไม่ต้องทำการเคารพอย่างใด


มาตรา ๑๒
การเยี่ยมคำนับ

การเยี่ยมระหว่าง
เรือหลวงกับ
เรือหลวง
ข้อ ๑ ในเวลาที่เรือหลวงลำเดียวหรือหลายลำไปถึงและจอดอยู่ในอ่าวหนึ่งอ่าวใด ให้มีการ

เยี่ยมเยือนในระหว่างนายทหารกับข้าราชการต่าง ๆ ดังจะกล่าวต่อไปนี้




(๑) เมื่อไปจอดร่วมอ่าวเดียวกันกับเรือหลวงอีกลำหนึ่ง หรือหลายลำ ให้ผู้บังคับ บัญชาที่มียศต่ำกว่าไปรายงานตนต่อผู้บังคับบัญชา ที่มียศสูงกว่า โดยวิธีรายงานตนเองไม่เป็น การเยี่ยมคำนับ

(๒) เมื่อเรือหลวงกับเรือรบต่างประเทศ ไปร่วมอ่าวกันเข้าแห่งใดให้มีการเยี่ยม คำนับต่อกันตามวิธีซึ่งนานาประเทศได้ปรองดองพร้อมกันปฏิบัติอยู่เป็นธรรมเนียม คือ

ก. ในขณะที่เรือฝ่ายหนึ่งมาถึง ให้ผู้ที่บังคับบัญชาเรือฝ่ายซึ่งทอดอยู่ใน อ่าวก่อนแล้วนั้นจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตร ๑ นาย ไปเยี่ยมคำนับในเรือซึ่งมาถึง ถ้าหากว่า เรือซึ่งมาถึงนั้นมีจำนวนหลายลำ เป็นกองเรือหรือขบวนเรือก็ให้ไปเยี่ยมคำนับในเรือลำซึ่ง

ผู้บังคับบัญชากองเรือหรือขบวนเรือนั้นอยู่เรือฝ่ายมาถึงลำใดได้รับเยี่ยมคำนับดังว่ามานี้แล้ว ให้ผู้บังคับบัญชาเรือนั้นจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตร ๑ นาย ไปเยี่ยมคำนับตอบทันที
ข. เมื่อเสร็จการเยี่ยมคำนับเบื้องต้น ซึ่งได้กล่าวมาใน ก.แล้วนั้น ให้มีการ เยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหรือกองเรือหรือขบวนเรือทั้ง ๒ ฝ่ายอีกต่อไป คือ ถ้ามี ยศทหารเสมอกันทั้ง ๒ ฝ่าย ให้ผู้บังคับบัญชาฝ่ายที่ไปถึงไปเยี่ยมก่อน ถ้ายศไม่เสมอกันให้ ฝ่ายข้างยศต่ำไปเยี่ยมฝ่ายข้างยศสูงก่อน การเยี่ยมคำนับตอนนี้ให้ไปภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับ ตั้งแต่เรือไปถึงอ่าวเดียวกันนั้นเป็นต้นไป และเมื่อผู้บังคับบัญชาเรือ หรือกองหรือขบวนเรือ ฝ่ายใดได้รับเยี่ยมคำนับดั่งที่ว่ามาแล้วนี้ ต้องไปเยี่ยมคำนับตอบภายใน ๒๔ ชั่วโมง นับตั้งแต่ เวลาซึ่งได้รับเยี่ยมคำนับแล้วนั้นเป็นต้นไป
ค. การเยี่ยมระหว่างผู้บังคับบัญชา ซึ่งมียศทหารต่างกันดั่งได้ว่ามาใน ข. นั้น ถ้าหากว่าผู้รับเยี่ยมก่อนเป็นนายทหารชั้นนายพลเรือนับทั้งนายพลเรือจัตวาด้วย และผู้ เยี่ยมมียศเป็นนายนาวาเอก หรือสูงกว่านั้นขึ้นไปไซร์ นายพลเรือผู้รับเยี่ยมตอบด้วยตนเอง แต่ ถ้าหากว่าผู้เยี่ยมก่อนนั้นมียศต่ำกว่านายนาวาเอกลงมา นายพลผู้รับเยี่ยมก่อนจะจัดนายทหาร ชั้นนายนาวาไปเยี่ยมตอบแทนตนก็ได้
ถ้าผู้รับเยี่ยมก่อนมียศเป็นนายนาวาเอกหรือต่ำกว่าลงมา และผู้เยี่ยมก่อน
มียศชั้นใด ๆ ก็ตาม ผู้รับเยี่ยมก่อนต้องไปเยี่ยมตอบด้วยตนเองเสมอไป จะจัดให้ผู้หนึ่งผู้ใดไป
แทนตนเองไม่ได้
ง. เมื่อได้มีการเยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหรือกองเรือขบวน เรือดังได้ว่ามาใน ข. และ ค.นั้นแล้ว ให้มีการเยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับการเรือเฉพาะลำทั้ง ๒ ฝ่ายต่อไป คือให้ฝ่ายมาถึงไปเยี่ยมก่อนแล้วฝ่ายอยู่ในอ่าวเยี่ยมตอบ
จ. ตามวิธีเยี่ยมคำนับดั่งได้กล่าวมาแล้วนี้ ให้นายเรือฝ่ายสยามพึงหวังได้ ว่านายเรือต่างประเทศจะปฏิบัติโดยวิธีเดียวกัน และรักษาธรรมเนียมนี้ โดยกวดขันเพื่อแสดง ความเคารพต่อกันทั้ง ๒ ฝ่าย
เพราะเป็นธรรมเนียมซึ่งนานาประเทศได้รับรองปฏิบัติต่อกันดัง
ด้ว่ามาข้างต้นแล้ว

การเยี่ยม
พนักงานทูต
ข้อ ๒ ถ้าเรือหลวงไปทอดในอ่าวต่างประเทศ และในอ่าวนั้นเป็นที่ตั้งแห่งสถานทูตสยาม
ด้วยให้มีการเยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหลวง กับข้าราชการซึ่งเป็นหัวหน้าในสถาน ทูต คือ ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวง มียศตั้งแต่นายนาวาเอกขึ้นไป และหัวหน้าสถานทูต มี ตำแหน่งเป็นอัครราชทูต หรืออุปทูต ผู้รักษาราชการสถานทูต ผู้บังคับบัญชาเรือหลวงเป็นผู้ ไปเยี่ยมคำนับก่อนหากหัวหน้าสถานทูตมีตำแหน่งต่ำกว่านั้นลงมา ให้ผู้บังคับบัญชาเรือหลวง ฝ่ายทูตลงมาเยี่ยมก่อน แล้วจริงไปเยี่ยมตอบ

ถ้ามีความสงสัยว่า หัวหน้าสถานทูตเป็นผู้มีตำแหน่งชั้นใด ก็ให้ผู้บังคับบัญชาเรือ หลวงจัดนายทหารชั้นสัญญาบัตร ๑ นายขึ้นไปสืบสวนให้ได้ความก่อน

ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศต่ำกว่านายนาวาเอกให้เยี่ยมคำนับก่อน

การเยี่ยม
พนักงานกงสุล
ข้อ ๓ ถ้าเรือรบหลวงไปทอดในอ่าวต่างประเทศ ซึ่งมีกงสุลสยามประจำอยู่ในที่นั้น ให้มีการ

เยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหลวงกับกงสุล โดยให้ฝ่ายซึ่งมีเกียรติยศต่ำกว่าเยี่ยมฝ่าย ซึ่งมีเกียรติยศสูงกว่าก่อนโดยอัตราเทียบต่อไปนี้

(๑) กงสุลเยเนอราล เทียบเสมอกับนายนาวาเอก แต่เป็นรองนายนาวาเอก

(๒) กงสุลเทียบเสมอแต่เป็นรองนายนาวาโท

(๓) ไวซ์กงสุลเทียบเสมอแต่เป็นรองนายนาวาตรี

การเยี่ยม
กรมการจังหวัด
ข้อ ๔ เมื่อเรือหลวงไปทอดในอ่าวใดอ่าวหนึ่งภายในพระราชอาณาเขตซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งศาลา

ว่าการจังหวัด ให้มีการเยี่ยมระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหลวงกับผู้ว่าราชการจังหวัดโดยปฏิบัติ ดังต่อไปนี้

(๑) การเยี่ยมในโอกาสแรก

ก. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศชั้นนายพลเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะ เป็นผู้มาเยี่ยมที่เรือก่อน

ข. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศนาวาเอก ผู้ว่าราชการจังหวัดที่เป็นข้า ราชการต่ำกว่าชั้นพิเศษ จะเป็นผู้มาเยี่ยมที่เรือก่อนหากผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการชั้น พิเศษ ผู้บังคับบัญชาเรือหลวงต้องไปเยี่ยมผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน

ค. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศต่ำกว่านาวาเอกต้องไปเยี่ยม ผู้ว่า ราชการจังหวัดก่อน

(๒) การเยี่ยมตอบ

ก. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศชั้นนายพลเรือ หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นข้าราชการชั้นพิเศษจะเยี่ยมตอบด้วยตนเอง หรือจัดผู้อื่นไปแทนก็ได้

ข. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศนาวาเอก ต้องไปเยี่ยมตอบด้วยตนเอง

ค. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศนาวาโทหรือนาวาตรี ผู้ว่าราชการจังหวัด ที่เป็นข้าราชการต่ำกว่าชั้นพิเศษจะมาเยี่ยมตอบด้วยตนเอง

ง. ถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงมียศชั้นนายเรือ ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมา เยี่ยมตอบด้วยตนเอง หรือจัดผู้อื่นมาแทนก็ได้

ในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติราชการได้ คงให้มีการเยี่ยม

ระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหลวงกับผู้รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย โดย ถือชั้น

และตำแหน่งเดิมของผู้รักษาราชการแทน ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นหลักปฏบัติในการเยี่ยม

อนุโลมตามความในวรรคแรก

การเยี่ยมตอบ
ข้อ ๕ การเยี่ยมระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๔ นั้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เยี่ยมแล้ว ต้องมีการเยี่ยมตอบ ภายใน ๒๔ ชั่วโมง ถ้าหากว่าฝ่าย ใดฝ่ายหนึ่งมีราชการสำคัญ จะละทิ้งไปเยี่ยมคำนับด้วยตนเองไม่ได้ ก็ให้จัดข้าราชการชั้น สัญญาบัตร ผู้หนึ่งผู้ใดไปเยี่ยมแทนได้และถ้าผู้บังคับบัญชาเรือหลวงไม่ได้ไปเยี่ยมคำนับ ข้า ราชการฝ่ายปกครองด้วยตนเองตามข้อบังคับนี้ เมื่อใด ต้องรายงานชี้แจงเหตุผลที่ไม่ได้ไปนั้น

ให้กองทัพเรือทราบตามทางราชการ

การจัดพาหนะ
รับส่ง
ข้อ ๖ การเยี่ยมคำนับระหว่างผู้บังคับบัญชาเรือหลวง กับข้าราชการสยามดังได้กล่าวมาใน
ข้อ ๕ นั้น ถ้าหากว่าการที่ข้าราชการ ซึ่งอยู่บนบกจะลงมาเยี่ยมคำนับที่เรือไม่ได้เพราะขัดข้อง
ด้วยพาหนะ ก็ให้เรือหลวงจัดเรือรับส่งตามสมควร

การเยี่ยม
ข้าราชการ
ต่างประเทศ
ข้อ ๗ การเยี่ยมคำนับข้าราชการต่างประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ประจำอยู่บนบกในอ่าวต่างประเทศ
แห่งใด จะควรมีเพียงใดจะมีข้อบังคับหรือคำสั่งเฉพาะคราวหรือมิฉะนั้น ก็ให้ปฏิบัติการ
อนุโลมตามธรรมเนียมที่เรือรบต่างประเทศ เคยปฏิบัติกันอยู่ในที่นั้น ตามที่จะสืบสวนได้ ความเป็นหลักฐานอย่างใด


มาตรา ๑๓
การเคารพในเรือกระเชียง

การเคารพ
เวลาเดินเรือ
ข้อ ๑ เรือกระเชียงซึ่งกำลังเดินอยู่ ให้ทำการเคารพแก่บุคคลและวัตถุดังจะได้กล่าวต่อไปนี้
(๑) ตั้งกระเชียงหรือหยุดกระเชียงตามชนิดของเรือ แล้วแลไปทางบุคคลและวัตถุ ควรรับการเคารพ นายท้ายไม่ต้องทำการเคารพ ให้ระหว่างท้ายเรือไปตามเดิม เป็นการเคารพ แก่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี รัชทายาท พระบรมวงศ์ เฉพาะที่มีธงหมายเกียรติยศ สมเด็จพระราชชนนี พระเจ้าแผ่นดินและเจ้าต่าง ประเทศ
ข. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการเรือ
และนายพลทหาร หรือนายพลตำรวจทุกชั้น ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ผู้บังคับการเรือใหญ่ ซึ่งตน สังกัดนั้นขึ้นไป
ถ้าเป็นเรือของกองทหารตั้งแต่ผู้บังคับกองทหารนั้นขึ้นไป
. พระบรมศพ พระบรมอัฐิ ขบวนแห่พระศพ
ง. ธงมหาราช ธงกระบี่ธุชครุฑพ่าห์ ธงราชินี ธงเยาวราช ธงราชวงศ์
ธงจุฑาธุช ธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ ธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงนายก รัฐมนตรี ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ธงผู้บังคับการกองเรือ รบ และธงนายพลเรือในเวลาที่ชักธงขึ้นลงหรือผ่านไป ส่วนธงราชนาวีประจำเรือใหญ่นั้น ให้กระทำเฉพาะแต่ในขณะที่ทำพิธีธงขึ้นธงลงเท่านั้น
(๒) คำนับโดยวิธีเดียวกันกับใน (๑) แต่ไม่ต้องตั้งกระเชียงเป็นแต่เพียงหยุด
กระเชียงเป็นการเคารพแก่
ก. บรรดาทหารชั้นนายนาวา นายพัน นายนาวาอากาศ และนายพัน ตำรวจ
ข. ขบวนแห่ศพ ซึ่งมีกองทหารเข้าขบวนแห่ด้วย
(๓) ไม่ต้องหยุดกระเชียง เป็นแต่นายทหารท้ายบอกแลขวาหรือแลซ้าย ไปทาง
ผู้รับการเคารพ เป็นการเคารพแก่บรรดาผู้รับการเคารพ อื่น ๆ นอกจากที่ได้กล่าวแล้วใน
(๑) และ (๒) นั้น
(๔) การเคารพด้วยวิธีตั้งกรรชียง ซึ่งได้ว่าไว้ใน (๑) นั้น ถ้าเป็นเวลาที่เรือถึงเพดาน อยู่ไม่ต้องตั้งกระเชียง และให้ใช้วิธีทำการเคารพอย่างที่ว่าไว้ใน (๒) นั้นแทน อนึ่ง บรรดา เรือกระเชียงหู จะขึงเพดานหรือมิได้ขึงก็ตาม ไม่ต้องการเคารพดด้วยวิธีตั้งกระเชียงเลย ให้ทำ
การเคารพต่อบุคคลและวัตถุที่ระบุไว้ใน (๑) โดยวิธีเดียวกันกับที่ว่าไว้ใน (๒) นั้นทุกประการ

การเคารพ
เป็นเวลาเรือจอด
ข้อ ๒ การเคารพในเรือกระเชียง ซึ่งได้กล่าวมาแล้วในข้อ ๑ ข้างบนนี้ ถ้าเวลาเรือจอด อยู่
ให้ทหารประจำเรือทำการเคารพพร้อมกัน โดยผู้มียศสูงในที่นั้นเป็นผู้สั่งให้แลขวาหรือซ้าย





มาตรา ๑๔
การเคารพในเรือใบ

การเคารพ
เวลาเรือเดิน
ข้อ ๑ เรือใบซึ่งกำลังเดินอยู่ ให้ทำการเคารพแก่บุคคลและวัตถุดังจะกล่าวต่อไปนี้
(๑) ปล่อยดามันและนายท้ายบอกแลขวาหรือซ้าย เว้นแต่นายท้ายคงระหว่าง
หางเสืออยู่ เป็นการเคารพแก่
ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี รัชทายาท
พระบรมวงศ์ เฉพาะที่มีธงหมายเกียรติยศ สมเด็จพระราชชนนี พระเจัาแผ่นดิน และเจ้าต่าง ประเทศ
ข. นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ผู้บัญชาการ
ทหารเรือ นายพลทหาร หรือนายพลตำรวจ นายทหารชั้นนายนาวา นายพัน นายนาวาอากาศ
และนายพันตำรวจ ผู้บังคับบัญชาตั้งแต่ผู้บังคับการเรือใหญ่ซึ่งตนสังกัดนั้นขึ้นไป ถ้าเป็นเรือ ของกองทหารตั้งแต่ ผู้บังคับกองทหารนั้นขึ้นไป
ค. พระบรมศพ พระบรมอัฐิ ขบวนแห่พระศพ ขบวนแห่ศพซึ่งมีกอง ทหารเข้าขบวนแห่ด้วย
ง. ธงมหาราช ธงกระบี่ธุชครุฑพ่าห์ ธงราชินี ธงเยาวราช ธงราชวงศ์
ธงจุฑาธุช ธงราชนาวีประจำเรือใหญ่ ธงประจำกองทหาร ธงประจำกองยุวชนทหาร ธงนายก
รัฐมนตรี ธงรัฐมนตรว่าการกระทรวงกลาโหม ธงผู้บัญชาการทหารเรือ ธงผู้บังคับการกอง
เรือรบ และธงนายพลเรือในเวลาที่ชักขึ้นลงหรือผ่านไป ส่วนธงราชนาวีประจำเรือใหญ่นั้น ให้กระทำเฉพาะแต่ในขณะที่ทำพิธีธงขึ้นลงเท่านั้น
๒) ไม่ปล่อยดามัน เป็นแต่ให้คนประจำเรือกระทำการเคารพอย่างใน (๑) (เว้นแต่ นายท้าย) เป็นการเคารพแก่บุคคล ควรรับการเคารพ อื่น ๆ นอกจากที่ได้ว่ามาใน (๑) ข้างบน
นี้

การเคารพ
เวลาเรือจอด
ข้อ ๒ การเคารพในเรือใบซึ่งได้กล่าวแล้วในข้อ ๑ นั้น ถ้าเป็นเวลาเรือจอดอยู่ ให้ทหาร
ประจำเรือทำการเคารพอย่างข้อ ๒ มาตรา ๑๓


มาตรา ๑๕
การเคารพในเรือกลเล็ก

หยุดเครื่องจักร
ทำการเคารพ
ข้อ ๑ เรือกลเล็กกำลังเดินอยู่ ให้หยุดเครื่องจักร ทหารในเรือทำวันทยหัตถ์ (เว้นนายท้าย

ช่างกล และช่างไฟ) ทำการเคารพดังนี้

(๑) แก่บุคคล คือ

ก. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ข. สมเด็จพระบรมราชินี

ค. รัชทายาท

ง. พระบรมวงศ์และสมเด็จพระราชชนนี

จ. พระเจ้าแผ่นดินและเจ้าต่างประเทศ

ฉ. นายกรัฐมนตรี

ช. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ซ. นายทหารและนายตำรวจที่มียศชั้นนายพล

ญ. ผู้บังคับบัญชาโดยตรงตั้งแต่ผู้บังคับกองขึ้นไป

(๒) แก่วัตถุ คือ

พระบรมศพและพระบรมอัฐิ

พระศพและพระอัฐิพระบรมราชวงศ์

ธงหมายพระอิสสริยยศ

ธงประจำกองทหาร

ธงประจำกองยุวชนทหาร
ธงราชนาวีประจำเรือใหญ่

ธงนายกรัฐมนตรี

ธงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ธงผู้บัญชาการทหารเรือ

ธงนายพลเรือ

การเคารพธงเหล่านี้ให้กระทำเมื่อเวลาที่ชักขึ้น หรือชักลงหรือผ่านไป สำหรับธง

ราชนาวีประจำเรือใหญ่ให้ทำเฉพาะพิธีธงขึ้นลง

เบาเครื่อง
ทำการเคารพ
ข้อ ๒ เรือกลเล็กกำลังเดินอยู่ ให้เบาเครื่องจักร ทหารในเรือทำวันทยหัตถ์ (เว้นนายท้าย
ช่างกล และช่างไฟ) ทำการเคารพแก่บุคคลและวัตถุดังนี้
นายทหารชั้นนายนาวา นายพัน นายนาวาอากาศ และนายพันตำรวจ ศพซึ่งมีกอง
ทหารแห่เป็นเกียรติ

เรือเดินตาม
ปกติทำการ
เคารพ
ข้อ ๓ เรือกลเล็กกำลังเดินอยู่ ให้ทหารในเรือ (เว้นนายท้าย ช่างกลและช่างไฟ)
ทำวันทยหัตถ์ แต่เรือคงเดินตามปกติ ทำการเคารพแก่บรรดาผู้รับการเคารพอื่น ๆ นอกจาก
ที่กล่าวแล้วในข้อ ๑ และข้อ ๒

ทำการเคารพ
เมื่อเรือจอด
ข้อ ๔ เรือกลเล็กเวลาจอดอยู่ ให้ทหารในเรือ ทำการเคารพอย่างเวลาอยู่ตามลำพัง

ทำการเคารพ
้เมื่อเวลาเป็น
เรือจูง
ข้อ ๕ การเคารพด้วยวิธีหยุดเครื่องจักรนั้น ถ้าเป็นเวลาที่เรือนั้นต้องจูงเรืออื่น ๆ อยู่ด้วย ให้ เปลี่ยนเป็นเบาเครื่องจักรทำการเคารพ


ตอนที่ ๓
เบ็ดเตล็ด

เคารพผู้แทน
ข้อ ๑ การแสดงความเคารพต่อผู้แทนพระองค์ หรือผู้แทนผู้บังคับบัญชา ถ้ามีคำสั่งแสดงให้
ปรากฎว่าผู้ใดเป็นผู้แทน ก็ให้แสดงความเคารพต่อผู้นั้นดุจเดียวกับที่ต้องแสดงถวายพระองค์
หรือแก่ผู้บังคับบัญชานั้น ๆ ตลอดเวลาที่แทน

การเคารพ
ข้าราชการพลเรือน
ข้อ ๒ ทหารต้องแสดงการเคารพต่อข้าราชการพลเรือนซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา

การเคารพธง
ประจำกอง
ลูกเสือ
ข้อ ๓ ทหารที่ไปในงานพิธีของลูกเสือ ให้แสดงการเคารพต่อธงประจำกองลูกเสือ เฉพาะใน
โอกาสนั้นตามเวลาอันสมควร