วันอาทิตย์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การออกคำสั่งยุทธการ

ข. หากคำสั่งยุทธการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงข้อความบางส่วนสามารถทำได้โดยใช้คำสั่งเป็นส่วน ๆ (fragmentary order-FRAGO) แต่ยังคงใช้แบบฟอร์มคำสั่งยุทธการและจะกล่าวถึง เฉพาะหัวข้อที่มีการเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ข้อความในคำสั่งเป็นส่วนๆ ควรสั้นง่ายแจ่มแจ้ง และเจาะจงโดยแน่ชัด


ค. การปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น การยุทธเคลื่อนที่ทางอากาศ การเคลื่อนย้ายด้วยขบวนยานยนต์หรือเรือ การยุทธข้ามลำน้ำ การลาดตระเวน และการยุทธส่งทางอากาศ ในการปฏิบัติครั้งนั้น ๆ หากมีรายละเอียดจำนวนมากเกินกว่าที่ รปจ.ของหมวดได้กำหนดไว้ ให้ทำเป็นผนวกประกอบคำสั่งยุทธการ ซึ่งใช้แบบฟอร์มเดียวกันกับคำสั่งยุทธการ

ง. แผ่นบริวารยุทธการ เป็นเครื่องแสดงมาตรการควบคุม เป็นภาพลักษณ์บนแผนที่ ซึ่งจะแสดงเส้นแบ่งเขต ที่ตั้งหน่วยต่าง ๆ เส้นทางเคลื่อนที่ ที่หมายและมาตรการควบคุมอื่น ๆ ช่วยให้เข้าใจคำสั่งยุทธการได้ง่ายขึ้น โดยปกติหมวดปืนเล็กจะคัดลอกแผ่นบริวารยุทธการของกองร้อยเป็นหลัก ผู้บังคับหมู่ปืนเล็กคัดลอกลงแผนที่ของตนอีกต่อหนึ่ง การคัดลอกแผ่นบริวารยุทธการของหน่วยเหนือมาใช้ควรจำกัดจำนวนแผ่นเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันการรั่วไหลไปยังฝ่ายข้าศึก

จ. การออกคำสั่งยุทธการ ควรให้เห็นภูมิประเทศจริงหรือภูมิประเทศจำลองประกอบการออกคำสั่งด้วย และเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือภาพสังเขปยุทธการ (concept sketches) ซึ่งเป็นภาพวาดขนาดใหญ่วาดให้คล้ายคลึงกับพื้นที่ปฏิบัติการ ภูมิประเทศ และที่หมายโดยประมาณ และไม่จำเป็นต้องตรงตามมาตราส่วน ใช้เพื่ออธิบายลักษณะพื้นที่ปฏิบัติการและลำดับขั้นการปฏิบัติได้อย่างละเอียด และชัดเจนทำให้เข้าใจได้ง่าย

๑) ภาพสังเขปยุทธการ แสดงที่ตั้งและการวางกำลังบริเวณที่หมาย มาตรการควบคุมและภูมิประเทศสำคัญที่มีผลต่อฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก การวาดภาพไม่จะจำเป็นต้องตรงตามมาตราส่วน

๒) ภูมิประเทศจำลอง มีลักษณะเป็นรูปทรงสามมิติ (ภาพรูปที่ ๒ - ๓) มีประโยชน์มากในการบรรยายสรุปหรือถกแถลงแผนการปฏิบัติบริเวณที่หมาย อาจจัดทำครอบคลุมทั่วพื้นที่ปฏิบัติการหรือไม่ก็ได้ แต่ในการเข้าตี ลำดับความเร่งด่วนในการจัดทำ ควรให้ครอบคลุมบริเวณที่หมายก่อน

ก) ควรจัดทำให้ตรงทิศกับในภูมิประเทศจริง และภูมิประเทศหลัก ๆ อ้างอิงหรือเทียบเคียงกับภูมิประเทศจริงที่มองเห็นได้ด้วยตา

ข) ขั้นต่อไปคือกำหนดเส้นกริดลงบนภูมิประเทศจำลอง ซึ่งจะทำให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

ค) ในภูมิประเทศจำลองควรแสดงภูมิประเทศสำคัญ มาตรการควบคุมของฝ่ายเราและการวางกำลังข้าศึกด้วย

ง) วัสดุที่ใช้จัดทำภูมิประเทศจำลอง ใช้วัสดุอย่างง่าย ๆ ได้แก่ เชือก ด้าย (สีต่าง ๆ) ชอล์คสี แผ่นการ์ดขนาด ๓ นิ้ว คูณ ๕ นิ้ว สำหรับเขียนบอกทิศทางกำหนดเส้นต่างๆ เครื่องหมายแสดงที่ตั้งหน่วยต่างๆ และที่หมาย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น