ความรู้รอบตัว
1. ไทยทำสงครามกับพม่าครั้งแรกสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พม่าตีเมืองเชียงกราน)
2. การตีกลองร้องฎีกาเริ่มมีขึ้น สมัยพ่อขันรามฯ
3. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พลเมืองมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ 25 ไร่
4. ขุนหลวงขี้เลื้อนมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ กษัตริย์องสุดท้ายของอยุธยา
5. พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชระหว่างครองราช คือ พระยาลิไท
6. พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กษัตริย์องค์แรกของสุโขทัยต้นราชวงศ์พระร่วง
7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างเมืองอยุธยา
8. ไทยเสียกรุงครั้งแรกสมัย สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.2112
9. พลายภูเขาทอง คือ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร ที่ทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ
10. สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าตากฯ
11. จตุสดมม์ มีขึ้นครั้งแรกสมัย พระเจ้าอู่ทอง
12. ระบบศักดินา เริ่มมีขึ้นสมัย พระบรมไตรโลกนาถ
13. ไพร่หลวง คือ ทหารที่ประจำการครบ 2 ปีแล้วปลดออกเป็นไพร่หลวง มีอายุ 21-60 ปี
14. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยพระธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)
15. วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นวัดหลวงที่ไม่มีเจดีย์
16. พระกรรมวาจาจารย์ ของ ร.9 ขณะผนวช คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
17. ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้นำการปฏิวัติจีนจากระบอบกษัตริย์มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ
18. คลองสุเอช เป็นคลองเดินเรือสินค้าระหว่างยุโรป (ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) – เอเชีย (ทะเลแดง) ปัจจุบันเป็นของอียิปต์
19. ไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์ เมื่อ พ.ศ.2468 (ร.6)
20. ประธานสภาฯ คนแรก คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี
21. นายกฯ คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา
22. วังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (หยุดทำการทุกวันจันทร์)
23. รัชชูปการ คือ เงินที่เรียกเก็บจากชาวไทยแทนการรับราชการทหาร ยกเลิกสมัย ร.7
24. นกวายุพักตร์ เป็นตราประจำกระทรวงการคลัง
25. กรมพระราชวังบวรในสมัย ร.5 คือ กรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ
26. อาน คือ ที่นั่งบนหลังม้า
27. สัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง
28. วันที่ 6 เมษายน ได้รับการสถาปนาเป็นวันจักรีสมัย ร.6
29. กองทัพสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นครั้งแรกกรณี สงครามเกาหลี (เส้นขนานที่ 38)
30. พื้นที่ 1 เอเคอร์ ประมาณ 2.5 ไร่
31. พลตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เคยเป็นประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติคนที่ 11
32. ระยะทาง 1 ไมล์ ประมาณ 40 เส้น หรือ 1.6 กม.
33. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามอินโดจีน พ.ศ.2484
34. 4 ทหารเสือของไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระศรีสิทธิสงคราม พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเณย์
35. เครื่องถม ทำด้วย เงิน ทอง ตะกั่ว และน้ำ
36. ผู้บังคับการทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ พลตรีพระยาพิชัยชาญฤทธิ์
37. วงเวียน 22 กรกฎา สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามโลกครั้งที่ 1
38. สมเด็จเจ้าพระยาองค์สุดท้าย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
39. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)
40. พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียน สร้างสมัย ร.5 แล้วเสร็จ สมัย ร.6
41. ส.ส. เริ่มใชเมื่อ พ.ศ.2477 โดย พระยาศรยุทธเสนี เป็นผู้เสนอต่อสภา
42. ช้างสีดอ คือ ช้างพลายไม่มีงา
43. กฎหมายตรา 3 ดวง คือ คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว
44. ร.7 เสด็จสวรรคต เมื่อ 30 พ.ค.2484 ณ ประเทศอังกฤษ
45. นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสถึงแก่กรรมที่ ฝรั่งเศส
46. ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติ คือ ขุนวิจตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)
47. ภายหลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พ.ศ.2482 ผู้แต่งเนื้อรองเพลงชาติ คือ หลวงสารานุประพันธ์ แต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์
48. พระเจดีย์มียอดเดียว พระปรางค์มีหลายยอด
49. จาตุรงคบาท หมายถึง ทหารผู้มีหน้าที่รักษาเท้าช้างทั้ง 4
50. เพลงสรรเสริญฯ แต่งเนื้อร้องโดย ร.6 แต่งทำนองโดย ยุตเซน
51. สิทธิพิเศษอีลีท คือ สิทธิพิเศษในการท่องเที่ยวของไทยตลอดชีวิต โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,000,000 บาท
52. พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศ คือ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
53. เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ชาย เรียก ชุดพระราชทาน หญิง เรียก ชุดพระราชนิยม
54. แม่ทัพไทยที่ยกไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าในสมัย ร.3 คือ เจ้าพระยามโยธาธอเรีย
55. สุโขทัยเป็นราชธานีอยู่ 200 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์องค์แรก พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย
56. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์องค์แรก สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ เป็นองค์สุดท้าย
57. สรีดพภงส์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในสมัยพ่อขุนรามฯ
58. สมเด็จพระนเรศวรฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธ์กษัตรี ไปอยู่พม่าตั้งแต่พระชนม์มายุ 9-15 พรรษา
59. สมเด็จพระนารายณ์ฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2175 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวี เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง
60. สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีโดยมี เชวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นเอกอัคราชทูต
61. พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าหลุยที่ 14 เป็นการส่งคณะราชทูตออกไปครั้งแรก
62. สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสร้างราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้นที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ทะเลเกินไป ง่ายต่อการรุกรานจากเรือต่างชาติ
63. พระเจ้าตากฯ เดิมชื่อ สิน บิดาชื่อ นายไหฮวง มารดาชื่อ นางนกยูง
64. ร.1 มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เป็นบุตรของ พระอักษรสุนทร (ทองดี) กับท่านหยก เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 6 เม.ย.2325
65. ร.5 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชเมื่อพระชนม์ 15 พรรษา พ.ศ.2411
66. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.5
67. ร.9 มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสูติเมื่อ 5 ธ.ค.2470 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลเดชวิกรม พระบรมราชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 5 พ.ค.2493
68. สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ
69. แม่ทัพพม่าที่ตีค่ายบางระจันแตก คือ สุกี้พระนายกอง
70. สุนทรภู่ เกิดในสมัย ร.1 ที่ริมคลองบางกอกน้อย ศึกษาครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาไปศึกษาที่วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) ได้รับยกย่องว่าเป็นกวีเอกจาก UNESCO วรรณกรรมที่แต่งเป็นเรื่องแรก คือ โคบุตร
71. ท้าวเทพกษัตรี มีชื่อเดิมว่า “จัน” เป็นภรรยาเจ้าเมืองถลาง ท้าวศรีสุนทร มีชื่อเดิมว่า “มุก” (ภูเก็ต สงครามเก้าทัพ ร.1)
72. ท้าวสุรนารี มีชื่อเดิมว่า “โม” (ศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ร.3)
73. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นพระราชบิดาแห่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ทรงได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลก
74. พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือ ร.4
75. พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย คือ ร.9
76. พระบิดาแห่งการพาณิชย์ไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ
77. พระบิดาแห่งกฎหมายไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
78. พระบิดาแห่งทหารเรือไทย คือ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์
79. พระบิดาแห่งการรถไฟไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน
80. กษัตริย์ศิลปิน หมายถึง ร.2
81. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ พ.ศ.2534
82. พระมหาอุปราชองค์แรกและองค์เดียวในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาใน ร.4
83. เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย
- พานพระศรี (ขันหมาก)
- พระมณฑปรัตนกัณฑ์ (พาน ฝา จอกใส่น้ำ)
- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)
- พระสุพรรณราช (กระโถนใหญ่)
84. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
85. วัดประจำรัชกาลที่ 2 คือ วัดอรุณราชวราราม
86. วัดประจำรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม
87. วัดประจำรัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม
88. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม
89. วัดประจำรัชกาลที่ 6 คือ วัดบวรนิเวศวิหาร
90. วัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ วัดราชบพตรสถิตมหาสีมาราม
91. วัดประจำรัชกาลที่ 8 คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม
92. วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ วัดญาณสังข์วราราม
93. ประตูในพระบรมมหาราชวัง มีทั้งหมด 13 ประตู 1. รัตนพิศาล 2. พิมานเทเวศร์ 3. วิเศษไชยศรี 4. มณีนพรัตน์ 5. สวัสดิโสภา 6. เทวาภิทักษ์ 7. ศักดิ์ไชยสิทธิ์ 8. วิจิตรบรรจง 9. อนงคารักษ์ 10. พิทักษ์บวร 11. สุนทรทิศา 12. เทวาภิรมย์ 13. อุดมสุดารักษ์
94. อาหารที่ให้พระโคกินในพิธีจรดพระนังคัลฯ มี 7 อย่าง คือ 1. ข้าวเปลือก 2. ข้าวโพด 3. เหล้า 4. งา 5. น้ำ 6. ถั่วเขียว 7. หญ้า
95. พิธีรัชฎาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 25 ปี พ.ศ.2514
96. พิธีรัชมังคลาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 40 ปี พ.ศ.2529
97. พิธีกาญจนาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 50 ปี พ.ศ.2539
98. ช่างสิบหมู่ คือ 1. หล่อ 2. สลัก 3. กลึง 4. เขียน 5. ปั้น 6. บุ 7. รัก 8. หุ่น 9. แกะสลัก 10. ปูน
99. ไทยประกาศใช้รัฐนิยมแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยการ แต่งกายแบบสากลนิยม การเคารพธงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เม.ย. เป็น 1 ม.ค. ยกเลิกบรรดาศักดิ์
100. นายทวี บุนยเกตุ เป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด (17 วัน) เป็นการดำรงตำแหน่งเพื่อรอการเดินทางกลับมาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หน.เสรีไทยในต่างประเทศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น