วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข้อสอบแบบธรรมเนียมทหาร ยศ.ทบ.(จากนักวิชาการหลังเขา)

หลักราชการ 10 ประการ ของ ร.6


1. สามารถ 2. เพียร 3. ไหวพริบ 4. รู้เท่าถึงการ 5. ซื่อตรงต่อหน้าที่

6. ซื่อตรงต่อคนทั่วไป 7. รู้จักนิสัยคน 8. รู้จักผ่อนผัน 9. มีหลักฐาน 10. จงรักภักดี

ธุรการกำลังพล

- เหล่าทหารบกที่อยู่นอกความรับผิดชอบของ ทบ. คือ เหล่า ผท. และ เหล่า ธน.

ประเภทของนายทหารสัญญาบัตร แบ่งตามพื้นฐานความรู้ หรือแหล่งกำเนิด 4 ประเภท

1. สำเร็จการศึกษาจาก รร.จปร.หลักสูตรประจำ (นร.) วิทยาลัยแพทย์พระมงกุฎ (นพท.) รร.ทหารต่างประเทศที่ กห.รับรองหลักสูตร (นรต.)

2. จากการผลิตด้วยวิธีพิเศษเร่งด่วน ได้แก่ นายร้อยสำรอง (นรส.) นายร้อยพิเศษ (นรพ.)

3. จากนายทหารประทวนเลื่อนฐานะ (นป.)

4. จากพลเรือนสอบบรรจุ (พ.)

การเลื่อนยศ ตามเกณฑ์ทั่วไปพิจารณาจากปีรับราชการ

- 3 ปี เป็น ร.ท.

- 7 ปี เป็น ร.อ.

- 10 ปี เป็น พ.ต.

- 13 ปี เป็น พ.ท.

- 16 ปี เป็น พ.อ.

- 19 ปี เป็น พ.อ.พิเศษ

- 21 ปี เป็น พล.ต.

การศึกษา

- ชั้นนายร้อย ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 7 ขึ้นไป ยกเว้น กำเนิด จปร.เรียนได้เลย

- ชั้นนายพัน ต้องมีชั้นเงินเดือน น.1 ชั้น 11 ขึ้นไป

- เสธ.ทบ. ต้องมีเวลารับราชการครบ 7 ปี ยศและเงินเดือนอยู่ระหว่าง ร.อ.เงินเดือน น.1 ชั้น 14 – พ.ต.เงินเดือน น.2 ชั้น 5

- วทบ. พ.อ. – พ.อ.พิเศษ

การทดสอบร่างกาย ปีละ 2 ครั้ง เดือน ก.พ. และ ส.ค.ของทุกปี รายงาน ทบ.(ผ่าน สบ.ทบ.) ก่อนวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

- บุคคลที่จะบรรจุเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 75%



- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะเป็นนายทหารสัญญาบัตร ไม่ต่ำกว่า 70%

- นายทหารสัญญาบัตรที่ได้รับเงินค่าฝ่าอันตราย ไม่ต่ำกว่า 80% (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์)

- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา ไม่ต่ำกว่า 60%(ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์)

- นายทหารสัญญาบัตร พ.อ.ลงมา (ยกเว้นบาดเจ็บ พิการ ตามความเห็นแพทย์) หากไม่ผ่านการทดสอบ 2 ครั้งติดต่อกัน ให้ถือว่าหย่อนสมรรถภาพให้ปรับย้ายเข้าประจำและหากยังไม่ผ่านในการทดสอบครั้งต่อมาหลังจากได้ปรับย้ายเข้าประจำแล้ว 1 ปี ให้ปลดเป็นกองหนุน



ระเบียบ ทบ.ว่าด้วย ประวัติ พ.ศ.2539

หน่วยส่วนกลาง

- สำนักงานเลขานุการ ทบ. - กรมฝ่ายเสนาธิการ

- กรมฝ่ายกิจการพิเศษ - กรมฝ่ายยุทธบริการ

- หน่วยข่าวกรองทางทหาร

หน่วยส่วนภูมิภาค

- ส่วนภูมิภาค

- ส่วนกำลังรบ

- ส่วนสนับสนุนการรบ (เว้นหน่วยข่าวกรอง)

ส่วนการศึกษา

- ยศ.ทบ. - กรมรักษาดินแดน - รร.จปร.

- สถาบันวิชาการทหารบกชั้นสูง - ศสพ. - ศบบ.

- ศร. - ศม. - ศป.

การทำประวัติ

แบบประวัติรับราชการ ทบ.100-010 และผนวก ก.คำชี้แจง

- นักเรียนทหารในประเทศ ทำ 2 ชุด ให้สถานศึกษาจัดทำส่งให้ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. เจ้าของพื้นที่หน่วยต้นสังกัดของเจ้าของประวัติผู้นั้นสังกัดอยู่

- นักเรียนทหารต่างประเทศ ทำ 2 ชุด ให้ สบ.ทบ.จัดทำและเก็บไว้ที่ สบ.ทบ. 1 ชุด ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ. 1 ชุด

- นายทหารประทวนเลื่อนฐานะ ผู้ที่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้หน่วยจัดทำประวัติเพิ่ม 1 ชุด และสำเนาจากฉบับเดิมที่ทำเพิ่ม 1 ชุด รวมเป็น 3 ชุด และให้ หน.แผนก หรือเทียบเท่าลงลายมือชื่อตรวจถูกต้อง และรับรองสำเนา แล้วส่งชุดที่ทำสำเนาแนบเรื่องขอเลื่อนฐานะให้ สบ.ทบ. ส่วนชุดที่จัดทำขึ้นใหม่ให้ส่งหน่วยต้นสังกัดใหม่หรือหน่วยที่ไปบรรจุ ผู้ที่ไม่สังกัดหน่วยส่วนกลาง ส่วนการศึกษา ให้ มทบ.หรือ จทบ.จัดทำประวัติเพิ่ม 1ชุด และสำเนาชุดที่ทำเพิ่ม รวมเป็น 3 ชุด ส่งชุดเดิมและสำเนาให้หน่วยต้นสังกัดที่เลื่อนฐานะ ส่วนที่ทำใหม่ให้ส่งให้ มทบ.หรือ จทบ.หน่วยต้นสังกัดที่ไปบรรจุ

- การเปลี่ยน ชื่อ – สกุล ให้รายงาน ผบช.ภายใน 30 วัน และต้องแจ้งให้ สบ.ทบ.ทราบ

- เจ้าของประวัติจะต้องตรวจสอบประวัติของตนเองไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง

- การบันทึกข้อความในแบบประวัติรับราชการปกติ ให้บันทึกด้วยหมึกน้ำเงิน หรือดำ ยกเว้นยศ ตำแหน่งในหน้าแรก และในหน้าติดรูปถ่าย ให้บันทึกด้วยดินสอดำ

- การบันทึกความสามารถและผลงานดีเด่น ข้อบกพร่อง นายทหารสัญญาบัตรต้องได้รับอนุมัติจาก ผบ.ทบ.หรือผู้รับมอบอำนาจ นายทหารประทวนต้องได้รับอนุมัติจาก หน.ส่วนราชการขึ้นตรงกองทัพบก

เอกสารประกอบประวัติ

- บัญชีรับรองเวลาราชการทวีคูณ (ตัวจริง) ต้องให้ หน.แผนกประวัติเป็นผู้รับรองสำเนาเท่านั้น

- สำเนามรณบัตรของทายาท (บิดา มารดา คู่สมรส บุตร)

- สำเนาทะเบียนบ้านฉบับปัจจุบันของทายาท

- สำเนาทะเบียนสมรสของ บิดามารดา

- สำเนาทะเบียนสมรสของเจ้าของประวัติ

- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตร

- สำเนาทะเบียนการรับรองบุตรบุญธรรม

- สำเนาทะเบียนการหย่าของบิดามารดา

- สำเนาทะเบียนการหย่าของเจ้าของประวัติ

- สำเนาทะเบียนการเปลี่ยนชื่อ

- หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ

- บันทึกรับรองเวลาราชการที่ กห.ตรวจสอบไม่ได้

- ใบรับรองการเป็นทายาท

- สำเนา สด.43

- สำเนาคำสั่งบรรจุครั้งแรก

- สำเนาใบสมาชิกฌาปกิจ ทบ.

โครงสร้างหมาเลข ชกท.

หมายเลข ชกท.สำหรับนายทหารสัญญาบัตร ประกอบด้วยตัวเลข 4 ตัว

- ตัวแรก ประเภทงานใน ทบ. มี 10 ประเภท ( 0 – 9 )

- 0 ตำแหน่งที่ได้รับการบรรจุเป็นกรณีพิเศษ งานเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารและการขนส่ง

- 1 การบังคับบัญชาและการรบ

- 2 ธุรการ การบริการและการฝึก

- 3 การแพทย์ และสุขาภิบาล

- 4 จัดหา ส่งกำลัง ซ่อมบำรุง

- 5 สวัสดิภาพและสวัสดิการ

- 6 การเงิน การบัญชีและการงบประมาณ

- 7 งานทางเทคนิคด้านวิศวกรรม

- 8 งานวิชาชีพ งานด้านวิทยาศาสตร์อื่น ๆ

- 9 การป้องกันอันตราย การข่าวกรอง และการสืบสวน

- ตัวเลข 3 ตัวหลังแสดงถึงขีดความชำนาญของงานแต่ละประเภทงานนั้น ๆ

- นอกจากตัวเลข 4 ตัวดังกล่าว ยังกำหนดให้มีตัวเลขเพิ่มเติมสำหรับงานบางตำแหน่ง ซึ่งต้องบรรจุผู้มีคุณวุฒิพิเศษ

- 1 จนท.สงครามจิตวิทยา

- 2 จนท.ข่าวกรองทางเทคนิค

- 3 จนท.การรบพิเศษ

- 4 จนท.วิจัยและพัฒนาการรบ

- 5 จนท.อาวุธปรมณู

- 6 จนท.ปฏิบัติการบนเครื่องบิน

- 7 พลร่ม

- 8 ครู

ตัวอย่าง ผู้บังคับหน่วยทหารราบ ชกท.1542

นักบิน ชกท.6-1981

การให้หมายเลข ชกท. กระทำได้ 2 วิธี

1. เข้ารับการศึกษาอบรม

2. การฝึกปฏิบัติงานในหน้าที่ของ ชกท.ใหม่ ผบ.หน่วยตั้งแต่ชั้น ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้มีอำนาจอนุมัติ และให้มีระยะเวลาในการฝึกอย่างน้อย 3 เดือน

การหมดสภาพหมายเลข ชกท. กำลังพลผู้ใดมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งใน ชกท.ที่ได้รับติดต่อกันตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป

ผู้สำเร็จการศึกษาจาก รร.สธ.ทบ.และ วทบ.สามารถปฏิบัติงานได้ทุก ชกท.



ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการบรรจุ ปลด ย้าย เลื่อน และลดตำแหน่งข้าราชการกลาโหม พ.ศ.2502

การบรรจุ และปลด

- ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.พล หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง

- ชั้นสัญญาบัตร รมว.กห.เป็นผู้สั่ง เว้นแต่ตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่ถ้าเป็นการลาออกหรือเกษียณ รมว.กห.เป็นผู้สั่ง

การย้าย เลื่อน และลดตำแหน่ง

- ต่ำกว่าสัญญาบัตร ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการ ในหน้าที่ ต้องได้รับอนุมัติจาก เลขา รมว.กห. ปลัด กห. สมุหราชองครักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ.หรือเทียบเท่าก่อน

- ชั้นสัญญาบัตร

- ตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้สั่ง (ยกเว้นเปลี่ยนเหล่า)

- ตั้งแต่ชั้น ผบ.กรม หรือเทียบเท่าลงไป และการเปลี่ยนพรรคเหล่า จำพวก หรือวิทยาการในหน้าที่ หรือการเลื่อนหรือลดตำแหน่งตั้งแต่ ผบ.ร้อย หรือเทียบเท่าลงไป ให้ ปลัด กห. สมุหราชองค์รักษ์ ผบ.สส. ผบ.ทบ. เป็นผู้สั่ง

- ตั้งแต่ ผบ.พล. หรือเทียบเท่าขึ้นไป พระมหากษัตริย์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ

- การย้ายระหว่างกำลังศึกษาอยู่ ให้ผู้นั้นศึกษาให้จบหลักสูตรก่อนแล้วจึงเดินทางไปรับตำแหน่ง

- นายทหารประทวนจะทำหน้าที่นายทหารได้ ต้องผ่านการคัดเลือก และเข้ารับการศึกษาอบรมตามหลักสูตรที่ ทบ.กำหนด เว้นบางกรณี หน่วยอาจสั่งให้ทำหน้าที่ฯ ก่อนได้แต่ผู้นั้นต้องรับราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ปี และต้องเป็น จ.ส.อ.มาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี

ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการลา พ.ศ.2536

- การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวณวันลาให้นับต่อเนื่องกัน โดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกันรวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อประโยชน์ในการคำนวณวันลาสำหรับลากิจ และวันพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำการ

- ลาป่วย

- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากไปราชการในที่กันดาร ในท้องที่ซึ่งมีโรคภัยชุกชุม หรือประสบอันตรายจากการปฏิบัติราชการ ลาได้ 180 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่อันเนื่องจากไอพิษวัตถุธาตุที่เป็นพิษ วัตถุระเบิด เชื้อโรคติดต่ออย่างร้ายแรง ลาได้ 270 วัน

- เจ็บป่วยเนื่องจากการกระทำการตามหน้าที่ในอากาศ ใต้น้ำ ใต้ดิน กระทำหน้าที่พิเศษฝ่าอันตรายตามที่ได้รับอนุมัติหรือมอบหมายจาก รมว.กห. กระทำหน้าที่การรบการสงคราม การปราบจลาจล หรือหน้าที่ตามกฎอัยการศึก ลาได้ 365 วัน

- ผู้ป่วยต้องเสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาโดยตรง จะให้ผู้อื่นทำใบลาเสนอแทนก็ได้ ถ้าลาเกิน 3 วัน ต้องมีใบความเห็นแพทย์แนบมาด้วย

- ผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ที่สถานพยาบาลของทหารไม่ต้องทำใบลา ให้หน่วยต้นสังกัดของผู้ป่วยกับสถานพยาบาลทำหลักฐานการส่งผู้ป่วย และหลักฐานการส่งคืนหน่วยต้นสังกัดให้ไว้ต่อกัน

- ลาคลอดบุตร

- ลาได้ไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน และไม่ต้องมีใบรับรองแพทย์

- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- ลากิจ

- ลาได้ไม่เกิน 45 วันทำการ

- ลาพักผ่อนประจำปี

- ลาได้ไม่เกิน 10 วันทำการ

- ผู้ลาให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น จนถึง ผบ.กรม ขึ้นไปเป็นผู้พิจารณาอนุญาต

- ผู้ใดมิได้ลา หรือลาแล้วแต่ไม่ครบ 10 วันทำการ ให้สะสมวันที่ยังมิได้ลาในปีนั้นรวมเข้ากับปีต่อ ๆ ไปได้ แต่ต้องไม่เกิน 20 วันทำการ

- ผู้ใดรับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี มีสิทธิสะสมวันลาพักผ่อนได้ไม่เกิน 30 วันทำการ

- ลาอุปสมบท และลาไปประกอบพิธีฮัจย์

- ลาได้ไม่เกิน 120 วัน

- ผู้ลาต้องรับราชการติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันอุปสมบท

- นายทหารสัญญาบัตร ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน

- นายทหารประทวน ต้องเสนอใบลาอุปสมบทตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.พัน. เพื่อวินิจฉัยอนุญาตแล้วจึงรายงานเสนอ ผบ.พล. เป็นผู้อนุญาตก่อนถึงกำหนดอุปสมบทไม่น้อยกว่า 30 วัน

- ผู้ได้ลาอุปสมบทต้องอุปสมบทภายใน 10 วัน นับแต่วันเริ่มลา ลาสิกขาเมื่อใดต้องรายงานให้ ผบช.โดยตรงทราบ และเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน

- หากไม่สามารถอุปสมบทได้ตามที่ลา ให้ถือว่าวันที่หยุดราชการไปแล้วเป็นวันลากิจ

- ผู้ใดจะลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึง ผบ.ทบ.เพื่อวินิจฉัย เมื่อเห็นสมควรจะอนุญาตแล้ว จึงรายงานเสนอ รมว.กห. ก่อนถึงกำหนดวันลาไม่น้อยกว่า 30 วัน

ตารางกำหนดอำนาจให้ลา

ผู้บังคับบัญชาชั้น ลาป่วย ลากิจ

รมว.กห. 365 วัน ตามที่เห็นควร

ผบ.ทบ. 180 วัน ตามที่เห็นควร

แม่ทัพ 90 วัน 60 วันทำการ

ผบ.พล. 60 วัน 45 วันทำการ

ผบ.กรม. 45 วัน 30 วันทำการ

ผบ.พัน. 21 วัน 15 วันทำการ

ผบ.ร้อย. 7 วัน 3 วันทำการ

ผบ.มว. 3 วัน 1 วันทำการ

ข้อบังคับว่าด้วยการเคารพ

ทหารกำลังเดินให้หยุดทำความเคารพ

- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี รัชทายาท พระเจ้าแผ่นดิน และพระราชินีต่างประเทศ พระบรมวงศ์ซึ่งเสด็จโดยมีธงราชวงศ์ เจ้าต่างประเทศ ซึ่งเป็นเอกราชและเสด็จโดยมีธงราชวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

- นายกรัฐมนตรี ผู้บังคับบัญชาของคนทุกชั้น

- สอบ พระบรมศพและพระบรมอัฐิ พระศพและพระอัฐิพระบรมวงศ์ ศพซึ่งมีกองทหารแห่เป็นเกียรติยศ

- ธงประจำกองทหาร และกองยุวชนทหาร ธงชาติ ธงราชนาวี ธงมหาราช ธงราชินี ธงบรมราชวงศ์ ธงเยาวราชและธงราชวงศ์ในขณะชักขึ้นลง

การเคารพด้วยธงประจำกอง

- ท่าเคารพด้วยธง มีดังนี้

- อยู่กับที่

- ให้ลดธงลง

- ให้ถือธงท่ายกธง

- เคลื่อนที่ ให้ถือท่ายกธง

- วิธีเคารพด้วยธง ให้ปฏิบัติดังนี้

- อยู่กับที่ ลดธงถวายความเคารพแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมศพ พระบรมอัฐิ และประมุขต่างประเทศซึ่งมาเยือนประเทศไทยเป็นทางราชการ เท่านั้น เว้นแต่ธงประจำกองเกียรติจัดสำหรับสิ่งใดหรือผู้ใด จึงให้ทำความเคารพแก่สิ่งนั้น

- เคลื่อนที่ ถือท่ายกธงถวายความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมศพ พระบรมอัฐิ เท่านั้น

- เมื่อธงแสดงการเคารพ ให้นายทหารรักษาธงทำวันทยาวุธด้วยท่ากระบี่ ผู้ช่วยผู้เชิญธงทำแลขวา (ซ้าย)

การบรรเลงเพลงเคารพ

- เพลงเคารพด้วยแตรวง

- เพลงสรรเสริญ

- เพลงชาติ

- เพลงมหาไชย

- เพลงมหาฤกษ์

- เพลงมาร์ชธงไชยเฉลิมพล

- เพลงเคารพด้วยแตรเดี่ยว คือ เพลงคำนับ

- เพลงเคารพด้วยขลุ่ย กลอง คือ เพลงมหาไชย

การจัดกองเกียรติยศ

- หัวแถวต้องอยู่ทางขวาเสมอ

- ถ้ามีธงไชยเฉลิมพลไปด้วยต้องเป็นกองเกียรติสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินี และองค์ยุพราชเท่านั้น

- การเคารพใช้การโรยธงสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนสมเด็จพระบรมราชินีและองค์ยุพราชใช้ยกด้ามธงจากพื้นประมาณ 1 คืบ

การแต่งกายเครื่องแบบ

นายทหารสัญญาบัตรชาย มี 11 ชนิด

- ปกติขาว - ปกติกากีแกมเขียวคอแบะ - ปกติกากีแกมเขียวคอพับ

- ปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ - ฝึก - สนาม - ครึ่งยศ

- เต็มยศ - สโมสรคอปิด - สโมสรอกแข็ง - สโมสรอกอ่อน

นายทหารสัญญาบัตรหญิง มี 12 ชนิด

- ปกติขาว - ปกติกากีแกมเขียวคอแบะ - ปกติกากีแกมเขียวคอพับ

- ปกติกากีนวลแกมเขียวคอปก - ปกติกากีนวลแกมเขียวคอพับ

- ฝึก - สนาม - ครึ่งยศ - เต็มยศ

- สโมสรคอปิด - สโมสรอกแข็ง - สโมสรอกอ่อน

เครื่องแบบปกติขาว ใช้ในโอกาส

- งานพระราชพิธี , เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่าง ๆ

- งานพิธีที่กำหนดให้แต่ง หรือกำหนดให้พลเรือนแต่งเครื่องแบบปกติขาว

- งานพระราชทานเพลิงศพทหาร ตำรวจ

เครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ ใช้ในโอกาส

- เยี่ยมคำนับเป็นทางการ

- รายงานตนเอง

- พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงไชยเฉลิมพล

- พิธีที่เป็นเกียรติของหน่วย

- เป็นตุลาการศาลทหาร เวลาพิจารณาคดี ณ ที่ตั้งปกติ

- งานพิธีที่กำหนดให้แต่ง

ในโอกาสที่สามารถแต่งเครื่องแบบได้ทั้งชุดปกติขาว และชุดปกติกากีแกมเขียวคอแบะ ให้แต่งเครื่องแบบปกติกากีแกมเขียวคอแบะ

ผู้ที่มีครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป ให้งดการแต่งเครื่องแบบ

ป้ายชื่อ

ทำด้วยโลหะ กว้าง 2.00 ซม.ยาว 7.5 ซม.หนา 0.1 ซม.เส้นขอบสีขาวประมาณ 0.1 ซม.สลักชื่อด้วยอักษรตัวบรรจงสีขาว มีขนาดสูงประมาณ 0.7 ซม. ติดตรงกึ่งกลางเหนือกระเป๋าเสื้อด้านขวาประมาณ 1.00 ซม. พลโทขึ้นไปไม่ต้องติดป้ายชื่อ

สอบ การคาดกระบี่

- คุมหรือประจำแถวเป็นกองทหารเกียรติยศ หรือเวลาแห่นำ หรือแห่ตามเสด็จ

- คุมหรือประจำแถวรับการตรวจพลสวนสนาม ซึ่งกระทำเป็นพิเศษ

- ไปในงานพระราชพิธี หรือรัฐพิธีตามหมายกำหนดการหรือเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทในโอกาสต่าง ๆ เว้นงานสโมสรสันนิบาต

- งานพิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนของทหาร

- เป็นตุลาการศาลทหารเวลาพิจารณาคดี ณ ที่ตั้งศาลปกติ

- ไปในงานพระราชทานเพลิงศพ เมื่อแต่งเครื่องแบบปกติขาว ครึ่งยศ เต็มยศ

การจัดพี่เลี้ยง

- ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจัดพี่เลี้ยงสำหรับว่าที่ ร.ต. พ.ศ.2510

- ว่าที่ ร.ต. อยู่ในความดูแลของพี่เลี้ยงไม่น้อยกว่า 6 เดือน

- ผู้บังคับบัญชาชั้น ผบ.พัน. หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้สั่งจัดพี่เลี้ยง

- พี่เลี้ยงคนหนึ่งให้ทำหน้าที่ปกครองว่าที่ ร.ต. ไม่เกิน 2 คน

ระเบียบงานสารบรรณ

- ใช้ “ระเบียบกองทัพบกว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ.2537”

- งานสารบรรณ หมายถึง งานที่เกี่ยวกับการบริหารงานเอกสาร เริ่มตั้งแต่การจัดทำ การรับ การส่ง การเก็บรักษา การยืม และการทำลาย

- ส่วนราชการ หมายถึง หน่วยระดับกองร้อยหรือเทียบเท่าขึ้นไป

หนังสือ มี 6 ชนิด

- ภายนอก ใช้กระดาษตราครุฑ ไม่มีคำย่อ

- ภายใน ใช้กระดาษบันทึกข้อความ

- ประทับตรา

- สั่งการ

- ประชาสัมพันธ์

- หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ

คำลงท้าย กรณี ผบช. มีถึง ผตบช. ไม่ต้องมีคำลงท้าย ถ้า ผตบช. มีถึง ผบช. ให้ใช้คำลงท้ายว่า “ควรมิควรแล้วแต่จะกรุณา”

หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของ หน.ส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป โดยให้ หน.ส่วนราชการชั้น

ผู้บังคับการกรมหรือเทียบเท่าขึ้นไปเป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตรา

ตราชื่อส่วนราชการ ให้ประทับตราด้วย “หมึกสีแดง“ มีลักษณะวงกลม 2 วงซ้อนกัน วงนอก 4.5 ซม. วงใน 3.5 ซม. ล้อมครุฑ ระหว่างวงมีอักษร

ชื่อส่วนราชการอยู่ขอบล่าง ถ้ามีภาษาต่างประเทศ ให้อักษรไทยอยู่ขอบบน และอักษรโรมันอยู่ขอบล่าง และให้ผู้รับผิดชอบ

ลงลายมือชื่อย่อกำกับตรา

หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด

คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ ผบช. สั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ

ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้เพื่อเป็นหลักปฏิบัติงานประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ

ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่กำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมาย กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ออกข้อบังคับ

หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด

ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการประกาศ ขึ้นชี้แจงให้ทราบ หรือแนะแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ

แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการ หรือเหตุการณ์ ให้ทราบทั่วกัน ทบ. เป็นผู้ออกแถลงการณ์

ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ มี 4 ชนิด

หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ออกให้แก่บุคคล นิติบุคคล ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ

รายงานการประชุม คือ บันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม

บันทึก คือ ข้อความที่มีระหว่าง ผบช. และ ผตบช. หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่จัดทำขึ้น ปกติใช้กระดาษบันทึกข้อความ

หนังสืออื่น เช่น ฟิล์ม ภาพถ่าย แถบบันทึกเสียง

หนังสือที่ต้องปฏิบัติให้เร็วกว่าปกติ แบ่งเป็น 3 ประเภท ให้ระบุความเร็วด้วยตัวอักษรสีแดงขนาดไม่เล็กกว่า 32 พอยท์

ด่วนที่สุด ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติในทันทีที่ได้รับหนังสือนั้น

ด่วนมาก ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติโดยเร็ว

ด่วน ให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติเร็วกว่าปกติเท่าที่จะทำได้

การรับรองสำเนาให้ใช้ข้อความ “ สำเนาถูกต้อง” แล้วลงลายมือชื่อรับรองซึ่งต้องเป็นนายทหารสัญญาบัตร พร้อมพิมพ์ชื่อตัวบรรจง และตำแหน่ง วัน เดือน ปี ใต้ลายมือชื่อ

การเก็บรักษา การยืม และการทำลาย

- หนังสือที่จะให้เก็บไว้ตลอดไปให้ใช้คำว่า “ห้ามทำลาย” ด้วยหมึกสีแดง

- หนังสือที่เก็บโดยมีกำหนดเวลาให้ประทับตราคำว่า “เก็บถึง พ.ศ………….” ด้วยหมึกสีน้ำเงิน และลงเลขของปี พ.ศ.ที่ให้เก็บถึง

- ภายใน 60 วัน หลังจากวันสิ้นปีปฏิทิน ให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบจัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายเสนอ หน.ส่วนราชการชั้น ผบ.พล. หรือเทียบเท่า เพื่อพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ

- คณะกรรมการทำลายหนังสือประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยปกติแต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตร

- อายุการเก็บหนังสือโดยปกติให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 10 ปี ยกเว้นหนังสือต่อไปนี้

- หนังสือที่ต้องสงวนเป็นความลับ ให้ปฏิบัติตามระเบียบ การ รปภ. แห่งชาติ

- หนังสือทางอรรถคดี สำนวนของศาล ให้ปฏิบัติตามระเบียบที่ว่าด้วยการนั้น

- หนังสือเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี ให้เก็บไว้ตลอดไปหรือตามที่กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากรกำหนด

- หนังสือที่ปฏิบัติเสร็จแล้ว และเป็นคู่สำเนาที่มีต้นเรื่องค้นได้จากที่อื่น ให้เก็บไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี

- หนังสือเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ หากเห็นว่าไม่มีความจำเป็นต้องเก็บไว้ถึง 10 ปี ให้รางาน ผบช.ทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อขอทำลายได้

- การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ระหว่างส่วนราชการระดับกองพลหรือเทียบเท่าขึ้นไป ผู้ยืมและผู้อนุญาตต้องเป็น หน.ส่วนราชการชั้นผู้บังคับการกรม หรือเทียบเท่าขึ้นไป

- การยืมหนังสือที่ส่งเก็บแล้ว ระหว่างส่วนราชการระดับต่ำกว่ากองพลหรือเทียบเท่าลงมา ผู้ยืมและผู้อนุญาตต้องเป็น หน.ส่วนราชการระดับกองร้อย หรือเทียบเท่าขึ้นไป

ตราครุฑ มี 2 ขนาด ให้พิมพ์ด้วยหมึกสีดำ หรือทำเป็นครุฑดุน

- ขนาดสูง 3 ซม.

- ขนาดสูง 1.5 ซม.

กระดาษ มี 3 ขนาด

- A4 ขนาด 210x297 มม.

- A5 ขนาด 148x210 มม.

- A8 ขนาด 56x74 มม.

ซอง มี 4 ขนาด ให้พิมพ์ตราครุฑด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้ายของซอง

- C4 ไม่ต้องพับ

- C5 พับ 2

- C6 พับ 4

- DL พับ 3

หนังสือที่ออกในนามของส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ ทบ. ผู้ลงลายมือชื่อในช่องตรวจต้องเป็น หน.กอง หรือเทียบเท่า

หมายเลขประจำกรมกอง

สำนักผู้บังคับบัญชา และกรมฝ่ายเสนาธิการ กห 040_ (อะไหล่ กห 0408 – 0420 )

กรมฝ่ายกิจการพิเศษ กห 042_ (อะไหล่ กห 0431 – 0440 )

กรมฝ่ายยุทธบริการ กห 044_ (อะไหล่ กห 0450 – 0459 )

ส่วนการศึกษา กห 046_ (อะไหล่ กห 0466 - 0480 )

ส่วนกำลังรบ กห 048_ (อะไหล่ กห 0491 – 0499 )

คำขึ้นต้น

เรียน ใช้ในกรณีมีถึง ตำแหน่ง หรือชื่อบุคคล

เสนอ ” ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน

ส่ง ” ผบช. มีถึง ผตบช. หรือหน่วยในบังคับบัญชา

ถึง ” ตำแหน่ง, ชื่อบุคคล, ส่วนราชการ หรือหน่วยงานในระดับต่ำกว่าเจ้าของหนังสือ

เลขที่ของคำสั่งทั่วไป ทับด้วยเลขของปี พ.ศ.4 ตำแหน่ง 1/2547 และคำสั่งเฉพาะ ทับด้วยตัวเลขของปี พ.ศ. 2 ตำแหน่ง 1/47

การพิมพ์ชื่อเต็มของเจ้าของลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามมียศ ให้พิมพ์ยศไว้หน้าลายมือชื่อ และพิมพ์ชื่อเต็มของผู้ลงนามไว้ใต้ลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามไม่มียศ ให้ใช้คำว่า นาย, นาง, นางสาว ไว้หน้าชื่อเต็มใต้ลายมือชื่อ

- ผู้ลงนามมีบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ ให้พิมพ์คำเต็มของบรรดาศักดิ์ หรือฐานันดรศักดิ์ไว้ใต้ลายมือชื่อ

รักษาราชการ ใช้ในกรณีตำแหน่งในส่วนราชการว่างลง และยังมิได้แต่งตั้งข้าราชการผู้ใดดำรงตำแหน่งนั้น ผบช.จะสั่งให้ข้าราชการที่เห็นสมควร

รักษาราชการในตำแหน่งดังกล่าวเป็นการชั่วคราวก็ได้

รักษาราชการแทน ใช้ในกรณีผู้ดำรงตำแหน่งในส่วนราชการใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว ผบช. จะสั่งให้ข้าราชการที่เห็นสมควร รักษาราชการแทนเป็นการชั่วคราวก็ได้

ทำการแทน ในกรณี ทำการแทนโดยการได้รับมอบหมาย

- หน.ส่วนราชการ หรือ หน.นขต.ทบ. ที่เทียบเท่าตำแหน่งชั้นแม่ทัพ จะมอบหมายให้ ข้าราชการตำแหน่งใดในสังกัดมีอำนาจหน้าที่ทำการแทน หน.หน่วยนั้น ๆ ในบางกรณีก็ได้

- ผู้ดำรงตำแหน่ง รอง, ผู้ช่วย, เสธนาธิการ, รองเสนาธิการ หรือผู้ช่วยเสนาธิการ ของส่วนราชการหน่วยใดมีอำนาจทำการแทนในนาม ผบช. ส่วนราชการนั้น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย

ทำการแทน ในกรณี ตำแหน่งว่าง หรือดำรงตำแหน่งในส่วนราชการหรือหน่วยใดไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้เป็นครั้งคราว และยังมิได้แต่งตั้งผู้ใดรักษาราชการ ให้ รอง, ผู้ช่วย, เสนาธิการ ทำการแทนเป็นการชั่วคราวการจัดลำดับหัวเรื่อง ให้เรียงลำดับศักดิ์หัวเรื่องสูงไปต่ำ

- ภาค (Part)

- บท (Chapter)

- ตอน (Section)

- ข้อ (Paragraph)

-

การจัดลำดับตัวเรื่อง และรายละเอียดประกอบตัวเรื่อง

- ตัวเรื่อง

- ผนวก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความตัวเรื่อง ให้เรียกขานด้วยพยัญชนะไทย ตามลำดับ 26 ตัว)

- อนุผนวก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความผนวก ให้เรียกขานด้วยตัวเลข)

- ใบแทรก (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความอนุผนวก ให้เรียกขานด้วยพยัญชนะไทย ตามลำดับ 26 ตัว)

- ใบแนบ (แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อขยายความใบแทรก ให้เรียกขานด้วยตัวเลข)

การรายงาน มี 9 ประเภท

การรายงานด่วน เหตุที่จะต้องรายงานด่วน มี 8 ประเภท

- เรื่องความประพฤติของทหาร ในทางเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

- ทหารถึงแก่ความตายเนื่องจากทำลายชีวิตตนเอง

- เกิดโจรภัย การก่อวินาศกรรมในบริเวณสถานที่ของทหาร

- ทหารทะเลาะวิวาทกันเอง จนถึงใช้อาวุธ

- มีโรคระบาดใกล้หน่วยที่ตั้งทหาร

- เกิดอุบัติเหตุแก่ทหารจนถึงความตาย

- เหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติอย่างร้ายแรง

- เหตุที่ทำให้เกิดความไม่สงบในกรมกองทหาร

การรายงานตนเองเมื่อย้ายตำแหน่ง

- ผู้ที่กำลังศึกษา ให้ศึกษาจบก่อนแล้วจึงเดินทางไปรับตำแหน่งใหม่

- การรับส่งหน้าที่ให้ดำเนินการภายใน 7 วัน นับจากวันรับทราบคำสั่ง

- ระยะเวลาในการรับส่งหน้าที่ ผบ.มว. 2 วัน ผบ.ร้อย 3 วัน

ผบ.พัน. 4 วัน จทน.ฝกง. และ จนท.คลัง 15 วัน

การรายงานตนเองเมื่อต้องคดี

นายทหารสัญญาบัตรทุกประเภทเมื่อต้องคดีอาญา (เว้นคดีที่ขึ้นศาลทหาร) คดีแพ่งหรือคดีล้มละลาย ให้รายงานตามลำดับชั้นถึง รมว.กห โดยเร็ว

สอบ รายงานการลงทัณฑ์ ถ้าผู้บังคับบัญชาได้สั่งลงทัณฑ์นายทหารสัญญาบัตร ต้องส่งรายงานการลงทัณฑ์ต้องเสนอตามลำดับชั้นถึง รมว.กห

การรายงานการถึงแก่กรรม

นายทหารสัญญาบัตร รายงานถึง รมว.กห.

นายทหารประทวน รายงานถึง ผบ.พล.หรือเทียบเท่า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องยศ หมายถึง สิ่งของเครื่องใช้ของพระมหากษัตริย์ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบในราชการแผ่นดินเครื่องราชอิสริยาภรณ์ หมายถึง สิ่งของหรือของประดับเกียรติยศของประเทศที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของประเทศ และทรงไว้ซึ่งพระราช อำนาจที่จะบัญญัติหรือสร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์ แก่ประเทศชาติเครื่องอิสริยาภรณ์ หมายถึง สิ่งของหรือของประดับเกียรติยศของประเทศที่มีประมุขของประเทศที่ไม่ใช่พระมหากษัตริย์ได้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานเป็นบำเหน็จความชอบแก่ผู้กระทำความดี ความชอบ เป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ แบ่งเป็น 6 ชั้น

1. เสนางคบดี (ส.ร.)

2. มหาโยธิน (ม.ร.)

3. โยธิน (ย.ร.)

4. อัศวิน (อ.ร.)

5. เหรียญรามมาลาเข็มกล้ากลางสมร (ร.ม.ก.)

6. เหรียญรามมาลา (ร.ม.)

เกณฑ์การขอพระราชทานเครื่องราช

- ต้องมีเวลารับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีบริบูรณ์ นับตั้งแต่วันที่เริ่มรับราชการ ก่อนวันพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของปีที่จะขอพระราชทาน 60 วัน ขอพระราชทานฯ ได้ปีเว้นปี

- ยศ ร.ต. ให้พิจารณาตามระดับเงินเดือน และห้ามขอพระราชทานในระยะปีติดกัน

- การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ชั้นสายสะพายให้ขอพระราชทานได้เมื่อได้รับ ท.ช. ครบ 3 ปีบริบูรณ์แล้ว ถ้าเป็นนายทหารต้องเป็นนายทหารชั้น พ.อ.พิเศษ อัตราเงินเดือน น.5 ชั้น 7 ขึ้นไป

- วุฒิสมาชิก หรือปฏิบัติราชการการเมือง ขอพระราชทานได้ทุกปีโดยไม่ต้องคำนึงถึง 3 ปีบริบูรณ์

- เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.) พระราชทานแก่ผู้ที่มียศทหาร ต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์

- เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.) พระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือน ต้องรับราชการไม่น้อยกว่า 25 ปีบริบูรณ์

- ผู้มีสิทธิ์ขอทั้ง 2 อย่าง ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง

- การขอพระราชทานตามปกติ เสนอบัญชีสรุปยอดการขอพระราชทานส่ง สบ.ทบ.เพื่อตรวจและจัดทำบัญชีขอพระราชทานเสนอ สนง.ปลัด กห.

- การขอพระราชทานในกรณีพิเศษ เสนอบัญชีสรุปยอดการขอพระราชทานส่ง กพ.ทบ.เพื่อตรวจและจัดทำบัญชีขอพระราชทานเสนอ สนง.ปลัด กห.

การเรียกคืนและการส่งคืน เครื่องราชฯ มี 3 กรณี ให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 15 วัน

1. การส่งคืนตาม พ.ร.บ. เครื่องราชฯ นั้น ๆ

- เมื่อผู้ได้รับถึงแก่กรรมทุกชั้นยศ ให้เรียกคืนเฉพาะตระกูลช้างเผือก และมงกุฎไทยเท่านั้น

- เมื่อได้รับเครื่องราชฯ ตระกูลเดียวกันชั้นสูงขึ้น ต้องส่งคืนของเดิมที่ได้รับ

2. กรณีโปรดเกล้าให้เรียกคืน

- กระทำความผิดถึงต้องจำคุกโดยคำพิพากษาของศาล เว้นแต่ความผิดลหุโทษ หรือกระทำโดยประมาท

- เป็นคนล้มละลายเพราะกระทำหนี้สินขึ้นด้วยความทุจริต

- หนีคดี

- ถูกถอดยศ

- ถูกปลดออกจากราชการ

การขอพระราชทานเครื่องราชฯ ตามชั้นยศ

- ส.ต. เหรียญเงินมงกุฎไทย ร.ง.ม.

- ส.ท. เหรียญเงินช้างเผือก ร.ง.ช.

- ส.อ. เหรียญทองมงกุฎไทย ร.ท.ม.

- จ.ส.ต. - จ.ส.อ.พิเศษ เหรียญทองช้างเผือก ร.ท.ช.

- สอบ ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 1 เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย บ.ม.

- ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 2 เบญจมาภรณ์ช้างเผือก บ.ช.

- ร.ต. เงินเดือน น.1 ชั้น 3 ขึ้นไป – ร.ท. จัตุรถาภรณ์มงกุฎไทย จ.ม.

- ร.อ. จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก จ.ช.

- พ.ต. ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ต.ม.

- พ.ท. ตริตาภรณ์ช้างเผือก ต.ช.

- พ.อ. ทวีตริยาภรณ์มงกุฎไทย ท.ม.

- พ.อ.พิเศษ ทวีตริยาภรณ์ช้างเผือก ท.ช.

การประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์

- ห้ามประดับเครื่องราชฯ นพรัตนราชวราภรณ์ไปในงานที่ไม่นิยมว่าเป็นมงคล เช่น งานศพ

- แต่งเครื่องแบบครึ่งยศ ไม่สวมสายสะพาย และสายสร้อย

- แต่งเครื่องแบบปกติ ไม่ต้องประดับเครื่องราชฯ ยกเว้นมีกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติฯ

- แต่งเครื่องแบบสโมสร ให้ประดับเครื่องราชฯ จำลอง ขนาด 1 ใน 3 ของของจริง ยกเว้นดวงตราชนิดคล้องคอจำลองไม่ได้ หากจะประดับให้ใช้ของจริง (ไม่เกิน 3 เหรียญ)

หลักการสังคม

ความต้องการของมนุษย์ แยกได้เป็น 7 ประเภท

1. ความต้องการทางสุขภาพ

2. ความต้องการทางเพศ

3. ความต้องการการศึกษา

4. ความต้องการทางเศรษฐกิจ

5. ความต้องการสิ่งประดิษฐ์กรรม

6. ความต้องการจัดระเบียบ

7. ความต้องการสันติสุข

การสมาคม (Society) คือ การคบหาวิสาสะของบุคคลซึ่งกระทำกันไม่ว่ากรณีใด ๆ

สังคมวิทยา (Sociology) คือ ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์ของมวลมนุษย์และสังคมวิทยา

จรรยามารยาท คือ การที่บุคคลได้แสดงออกทางนิสัยใจคอด้วยความสุภาพเรียบร้อยทั้งกายและวาจา

หลักสำคัญในการแสดงออก มี 4 ประการ

1. กิริยามารยาทสุภาพอ่อนโยน

2. มีความสุภาพเรียบร้อย

3. มีไหวพริบ

4. มีอารมณ์ดี หรือมีอารมณ์ขัน

ส่วนประกอบการพูดที่สุภาพชัดถ้อยชัดคำ มี 6 ประการ

1. วิธีการสนทนา

2. เรื่องที่จะสนทนา เรื่องศาสนาและการเมืองไม่ควรสนทนา

3. น้ำเสียงในการสนทนา

4. เวลาและสถานที่ในการสนทนา

5. ข้อระมัดระวังในการสนทนา

6. การยุติการสนทนา

การแสดงการเคารพ

ความมุ่งหมาย

- แสดงถึงความรู้จักกัน

- แสดงถึงความเคารพนับถือกัน

- แสดงถึงประเพณี เช่น การเคารพธงชาติ ศาสนา กษัตริย์

- แสดงถึงคตินิยม เพื่อแสดงธรรมจรรยาแห่งหมู่คณะ สมาคม

ลักษณะการแสดงการเคารพ มี 6 วิธี

- การกราบ - การไหว้

- การโค้งคำนับ - การเปิดหมวก

- การจับมือ - การลุกยืน

สโมสรทหาร โดยปกติ ผบ.หน่วยราชการนั้นจะกระทำหน้าที่นายกของสโมสร รอง ผบ.หน่วย เป็นอุปนายก และเจ้าหน้าที่การเงินเป็นเหรัญญิก

มีวัตถุประสงค์อยู่ 4 ประการ คือ

1. เพื่อเชื่อมความสามัคคีในระหว่างสมาชิกในหน่วย

2. เพื่อบำรุงความรู้

3. ส่งเสริมการกีฬาและการบันเทิง

4. การเกื้อกูลแก่การครองชีพต่าง ๆ

ประวัติกองทัพไทย

- การจัดและการปกครองทหารสมัยน่านเจ้าแบ่งทหารออกเป็น 4 แผนก คือ ยุ้งฉาง ทหารบก ทหารม้า อาวุธยุทธภัณฑ์

- สมัยสุโขทัย มีการสร้างกำแพงเมือง 3 ชั้น คูน้ำ 2 ชั้น พร้อมด้วยป้อมประจำประตูเมืองทั้ง 4 ด้าน มีเส้นทางเชื่อมราชธานีกับหัวเมืองชั้นกลาง เรียกว่า ถนนพระร่วง ยาว 250 กม.

- สมัยพระบรมไตรโลกนาถ ในยามปกติแบ่งหน้าที่ราชการส่วนกลางออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายทหาร และพลเรือน

- สมัยอยุธยา มีการแบ่งเหล่าทหารออกเป็น 4 เหล่า เรียกว่า จตุรงคเสนา ได้แก่ พลเท้า พลม้า พลช้าง พลช่าง

- ได้มีการค้นคิด “ตำราพิชัยสงคราม” ขึ้นเป็นครั้งแรก พ.ศ.2061

- สมเด็จพระเจ้ากรุงธนฯ โปรดให้ทำการสัก (ยันต์) พวกไพร่และทาสทุกคนที่ข้อมือ เพื่อให้ทราบชื่อผู้เป็นนายและเมืองที่สังกัด

- ร.3 โปรดฯ ให้จัดหน่วยทหารราบและทหารปืนใหญ่เป็นหน่วยทหารประจำการ

- สภาป้องกันพระราชอาณาจักร จัดตั้งในสมัย ร.6

- สงครามโลกครั้งที่ 1 กองทัพบกส่งกองทหารอาสาสมัคร ประกอบด้วย กองยานยนต์ กองบิน และกองพยาบาล

- กองทัพบกมีหน้าที่ 2 ประการ คือ การเตรียมกำลังกองทัพบกตั้งแต่ยามปกติและการป้องกันราชอาณาจักรเมื่อมีสถานการณ์

- โครงสร้างกำลัง กองทัพบกจัดหน่วยงานโดยแบ่งตามภาระหน้าที่ออกเป็น 7 ส่วน คือ บัญชาการรบ กำลังรบ สนับสนุนการรบ ส่งกำลังบำรุง ภูมิภาค การศึกษา และช่วยพัฒนาประเทศ

ระเบียบการเงิน “ข้อบังคับกระทรวงกลาโหม ว่าด้วยการเงิน พ.ศ.2528 (ขกง.)”

เงิน หมายความว่า เงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เอกสารการเงินซึ่งมีมูลค่าเป็นเงิน เช่น เช็ค ดราฟต์ ธนาณัติ

เงินในงบประมาณ หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับเป็นกรรมสิทธิ์ ซึ่งจะต้องนำส่งคลังตามพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ เช่น เงินภาษีอากร ค่าธรรมเนียม ค่าขายของราชการเลิกใช้ ฯลฯ กับหมายถึงเงินงบประมาณรายจ่ายตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติโอนเงินงบประมาณรายจ่าย เช่น เงินเดือน, เบี้ยเลี้ยง, ค่าเล่าเรียนบุตร, ค่ารักษาพยาบาล ฯลฯ

เงินนอกงบประมาณ จำแนกออกเป็น 2 ประเภท

เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 1 คือ เงินที่ส่วนราชการได้รับ หรือต้องรับผิดชอบตามกฎหมาย เช่น เงินทดลองราชการ, เงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน, เงินบำรุงประเภทที่ 1, เงินรายรับของสถานพยาบาล หรือสถานศึกษา หรือสถานอำนวยบริการสาธารณประโยชน์ที่เป็นของทางราชการ และเงินมัดจำซอง, เงินประกันสัญญา ฯลฯ

เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 2 คือ เงินที่ส่วนราชการได้รับ หรือต้องรับผิดชอบโดยที่ส่วนราชการนั้น ออกข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือคำชี้แจงไว้ให้ถือเป็นทางปฏิบัติ เช่น เงินยืมประจำส่วนราชการ, เงินบำรุงประเภทที่ 2, เงินสโมสรทหาร, เงินออมทรัพย์ข้าราชการ, เงินฌาปนกิจ, เงินทุนสวัสดิการ, เงินเหลือจากการประกอบเลี้ยง ฯลฯ

เงินบำรุง แบ่งเป็น 2 ประเภท

- ประเภทที่ 1 คือ เงินที่มีผู้บริจาค หรือมอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกิจการของส่วนราชการนั้น

- ประเภทที่ 2 คือ เงินที่มีผู้บริจาค หรือมอบให้โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ส่วนราชการใช้จ่ายในกรณีที่เกี่ยวกับ การสวัสดิการของข้าราชการ

เงินรายรับเพื่อบูรณะทรัพย์สิน คือ เงินนอกงบประมาณประเภทที่ 1 หมายถึง เงินที่ส่วนราชการได้รับในลักษณะค่าชดใช้ความเสียหายหรือสิ้นเปลืองแห่งทรัพย์สิน ซึ่งจำเป็นต้องนำเงินจำนวนนั้นไปจ่ายเพื่อบูรณะทรัพย์สิน

นายทหารการเงิน ข้าราชการชั้นสัญญาบัตรเหล่าทหารการเงิน มีหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารการเงิน ควบคุมการเบิกจ่าย, รับจ่าย, การเก็บรักษา และการบัญชี

เจ้าหน้าที่รับจ่าย ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร ซึ่งได้รับคำสั่งให้ทำหน้าที่รับจ่ายเงินเป็นครั้งคราว

เสมียนการเงิน ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร ทำหน้าที่ตาม ผบช. กำหนด

พยานประจำวัน ข้าราชการสัญญาบัตร ทำหน้าที่ตรวจสอบจำนวนเงินที่นำออก และนำเข้าเก็บในกำปั่นเก็บเงินทุกครั้ง

ผู้ป้องกันอันตราย ข้าราชการสัญญาบัตร ทำหน้าที่ควบคุมการไปรับจ่ายเงินนอกบริเวณสำนักงานการเงิน เพื่อรักษาความปลอดภัย จัดเมื่อเงินที่จะไปรับหรือจ่ายเป็นเงินสด หรือเช็คที่มิได้ขีดคร่อม มีจำนวนเกินกว่า 30,000 บาทขึ้นไปการจัดเจ้าหน้าที่เฝ้ารักษากำปั่นเงิน และที่เก็บกำปั่นเงิน ถ้าเงินที่เก็บรักษาอยู่จำนวนไม่เกิน 30,000 บาท ไม่รวมเช็คขีดคร่อม จะไม่จัดเจ้าหน้าที่ฯ ก็ได้

จะทำการเปิดกำปั่นเก็บเงินได้ จะต้องมีเจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้

- ผู้รักษาการณ์หรือข้าราชการสัญญาบัตรที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ถือลูกกุญแจประตูที่เก็บกำปั่นเก็บเงิน

- ผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงิน หรือนายทหารชั้นสัญญาบัตรที่ได้รับมอบหมายให้ถือกุญแจแทน

- หัวหน้านายทหารการเงิน

- พยานประจำวัน

การเก็บรักษาเงินนอกงบประมาณไว้ในที่เก็บเงินของส่วนราชการ สำหรับ ทบ.กำหนดให้หน่วยเปิดบัญชีตามระบบบัญชีสำหรับส่วนราชการที่มีเงินนอกงบประมาณไว้ในที่เก็บเงินของหน่วยให้เพียงพอที่จะใช้จ่ายหมุนเวียนภายในหน่วยได้ไม่เกิน 50,000 บาท

การตรวจเงิน และบัญชี มี 3 ประเภท

- การตรวจเงินประจำเดือน โดย สตช.ทบ.

- การตรวจเงินประจำปี โดย สตช.ทบ.

- การตรวจเงินพิเศษ เป็นการตรวจของกรมการเงินกลาโหม หรือ ผบ.สูงสุด จะแต่งตั้งกรรมการขึ้นทำการตรวจเงิน และบัญชี

เงินเดือน หมายถึง เงินเดือนและเงินอื่นที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายเดือนจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวดเงินเดือน ของ กห. จำแนกเป็น

- อัตราเงินเดือนนายทหารสัญญาบัตร

- อัตราเงินเดือนนายทหารประทวน

- อัตราเงินเดือนพลทหารกองประจำการ (พลอาสาสมัคร) และพลทหารกองประจำการ

เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนสำหรับค่าวิชา (เงิน พ.) ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

เงินเพิ่มสำหรับการสู้รบ (พ.ส.ร.) ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ ปัจจุบัน กอ.รมน. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ

เงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่ต้องฝ่าอันตรายเป็นปกติ ติดต่อไปถึงการคำนวณเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ

- ครูการบิน และนักบินลองเครื่อง

- นักบินประจำกอง หรือสำรอง

- ศิษย์การบินชั้นมัธยม และประถม

- ผู้ทำการบนอากาศยานเป็นประจำ, ต้นหน, ตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ผู้ตรวจการณ์ เจ้าหน้าที่วิทยุ ช่างอากาศ

- นักโดดร่มประจำกอง และสำรอง

- นักเรือดำน้ำประจำกอง และสำรอง

- นักทำลายใต้น้ำประจำกอง และสำรอง

- นักประดาน้ำประจำกอง และสำรอง

- ผู้ปฏิบัติงานในห้องปรับอากาศ

- ผู้ปฏิบัติงานทำลายวัตถุระเบิดเป็นประจำ

เบี้ยกันดาร เป็นเงินที่จ่ายให้ข้าราชการเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในท้องที่กันดาร

ท้องที่กันดาร หมายถึง ท้องที่ซึ่งกระทรวงการคลังร่วมกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณากำหนด แล้วเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

หลักเกณฑ์การพิจารณาท้องที่กันดาร ให้ถือหลักเกณฑ์อย่างหนึ่งอย่างใดดังนี้

- มีทางคมนาคมไม่สะดวก

- ไม่มีรถยนต์หรือเรือยนต์โดยสารไปมาได้ตลอดปี

- มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุม

เงินเพิ่มพิเศษค่าภาษามาลายู (พภม.) จ่ายให้ผู้มีหน้าที่ประจำอยู่ที่จังหวัด ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล

เงินเพิ่มพิเศษสำหรับข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งที่ประจำอยู่ในต่างประเทศ (พ.ข.ต.) ผู้มีสิทธิได้แก่ ข้าราชการ ภริยา หรือสามี และบุตรซึ่งติดตามไปด้วย

การจ่ายเงินเดือนกรณีต่าง ๆ

บรรจุใหม่ จ่ายตั้งแต่วันเริ่มเข้าปฏิบัติหน้าที่เลื่อนชั้นเงินเดือน จ่ายตั้งแต่วันที่ระบุในคำสั่งขาดหรือหนีราชการ ห้ามมิให้จ่ายเงินเดือนสำหรับวันที่ขาดหรือหนีราชการพ้นจากราชการเพราะเกษียณอายุ ให้จ่ายถึงวันสิ้นปีงบประมาณ

ระหว่างถูกควบคุม หรือพักราชการ

- มิได้กระทำความผิด และไม่มีมลทินมัวหมอง ให้จ่ายเงินที่งดจ่ายเต็มจำนวน

- มิได้กระทำความผิด แต่มีมลทินหรือมัวหมอง หรือพิพากษาว่ามีความผิด แต่รอลงอาญา ให้จ่ายเงินที่งดจ่ายไม่เกินครึ่งหนึ่ง แต่ค่าเช่าจ่ายเต็ม

- กระทำความผิด พิพากษาลงโทษจำคุก หรือหนักกว่า หรือถูกสั่งไล่ออก หรือถูกถอดยศ ห้ามมิให้จ่ายเงินที่งดไว้

การถอนเงินส่วนตัวทหารฝากตามอัตราที่ทางราชการกำหนด

- ปลด หรือลาพักการปลด

- ชดใช้ของหลวงที่ชำรุดหรือสูญหาย

- ตาย

เบี้ยเลี้ยงทหาร

นายสิบ พลทหาร และนักเรียนนายสิบ

เบี้ยเลี้ยงประจำ 44 บ.

เบี้ยเลี้ยงไปราชการแรมคืน, ป้องกันปราบปรามนอกที่ตั้ง 55 บ.

นชท.และ นนส. 50 บ.

นนร. และ นศท.ขณะออกฝึกภาคสนาม 62 บ.

ค่าอาหารผู้เจ็บป่วย 44 บ.

เงินค่าประกอบเลี้ยงหักจากเบี้ยเลี้ยงประจำ 29 บ. หรือ 30 บ.

เงินสวัสดิการช่วยเหลือบุตร ให้เบิกได้เฉพาะบุตรคนที่ 1 – 3 คนละ 50 บ.(เกิด 1 เม.ย.35 เป็นต้นไป ไม่มีสิทธิเบิกเงินฯ )

บุตรที่จะนำมาเบิกได้จะต้องเป็นบุตรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ไม่รวมถึง

- บุตรบุญธรรม

- บุตรมิได้อยู่ในอำนาจปกครองของตน

- บุตรซึ่งมีอายุเกิน 17 ปีบริบูรณ์ หรือระหว่าง 17-18 ปีบริบูรณ์ เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

- บุตรซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเพิ่มอยู่แล้วตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งประจำอยู่ในต่างประเทศ

หลักฐานที่ใช้ในการเบิก

- สูติบัตร

- สำเนาทะเบียนบ้าน

- ใบสำคัญสมรส หรือหลักฐานการรับรองบุตร หรือคำพิพากษาของศาล

- กรณีขาดการสมรส ให้ใช้ใบมรณะบัตร ใบสำคัญการหย่า หรือคำพิพากษาของศาล

เงินค่ารักษาพยาบาล

ค่ารักษาพยาบาล หมายถึง เงินที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในการรักษาพยาบาล (ให้เบิกภายใน 1 ปีนับจากวันปรากฏหลักฐานการรับเงิน) ได้แก่

- ค่ายา ค่าเลือด ค่าส่วนประกอบของเลือด หรือสารทดแทน ค่าน้ำยา หรืออาหารทางเส้นเลือด ค่าออกซิเจนอื่น ๆ ทำนองเดียวกันที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรค

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค รวมทั้งค่าซ่อมแซม

- ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจ ค่าวิเคราะห์ แต่ไม่รวมถึงค่าจ้างพยาบาลพิเศษ

- ค่าห้อง ค่าอาหาร

ผู้มีสิทธิได้รับค่ารักษาพยาบาล

- ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ ยกเว้นข้าราชการ และพลตำรวจที่อยู่ในระหว่างศึกษาอบรมก่อนเข้ารับราชการ

- ลูกจ้างชาวต่างชาติ ซึ่งมีหนังสือสัญญาจ้าง และสัญญานั้นได้ระบุเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลไว้

- ผู้ได้รับบำนาญปกติ ผู้ได้รับบำนาญพิเศษ ทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด

- บุคคลในครอบครัว ของบุคคลข้างต้น

- บุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะ ได้เฉพาะบุตรคนที่ 1-3 เท่านั้น

- คู่สมรสที่ถูกต้องตามกฎหมาย

- บิดามารดา

ผู้เข้ารับรักษาในสถานพยาบาลของทางราชการทั้งผู้ป่วยในหรือผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาฯ ได้เต็มจำนวน ยกเว้น

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

- ค่าห้อง ค่าอาหาร รวมกันไม่เกิน วันละ 600 บ.

ผู้เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของเอกชน ให้เบิกได้เฉพาะผู้ป่วยใน โดยให้เบิกดังนี้

- ค่าอวัยวะเทียม และอุปกรณ์ในการบำบัดโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด

- ค่าห้อง ค่าอาหาร รวมกันไม่เกิน วันละ 600 บ.

- ค่ารักษาพยาบาล ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป แต่จะต้องไม่เกิน 3,000 บ.สำหรับระยะเวลาภายใน 30 วัน

- ในกรณีรักษาพยาบาลเกิน 30 วัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป แต่ต้องไม่เกินวันละ 100 บ.

สถานพยาบาลของเอกชน

- สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกิน 25 เตียง

- ถ้าไม่มีในข้อแรก ให้หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนเกิน 10 เตียง ซึ่งได้รับอนุญาตให้ตั้งก่อน 1 ม.ค.29

- ถ้าไม่มีใน 2 ข้อ ให้หมายถึงสถานพยาบาลที่สามารถรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนกี่เตียงก็ได้ แต่ได้รับอนุญาตให้ตั้งก่อน 1 ม.ค.29

- กรณีอุบัติเหตุหรือมีความจำเป็นเร่งด่วน ซึ่งหากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาในทันทีอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ให้หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามกฎหมาสถานพยาบาล

เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาบุตร ให้เบิกภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันเปิดภาคเรียน

เงินบำรุงการศึกษา หมายถึง เงินที่สถานศึกษาของทางราชการเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวงศึกษาฯ หรือส่วนราชการเจ้าสังกัด

เงินค่าเล่าเรียน หมายถึง ค่าธรรมเนียมการเรียน หรือค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ซึ่งสถานศึกษาของเอกชนเรียกเก็บตามอัตราที่ได้รับอนุมัติจากกระทรวง ศึกษาฯ หรือทบวงมหาวิทยาลัย

บุตร หมายถึง บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย คนที่ 1-3 อายุไม่เกิน 25 ปี ในวันที่ 1 พ.ค.ของทุกปี แต่ไม่รวมบุตรบุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดาได้ยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้ใดแล้ว

ผู้มิสิทธิ

- ข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ ยกเว้นข้าราชการการเมือง

- ผู้รับบำนาญปกติ ผู้รับบำนาญพิเศษ และทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด

หลักเกณฑ์

- สถานศึกษาของทางราชการ ในหลักสูตรไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกจากหลักสูตรปริญญาตรีเบิกได้เต็มจำนวน

- สถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรไม่สูงกว่า ม.ปลาย หรือเทียบเท่า เบิกได้เต็มจำนวน

- สถานศึกษาของเอกชน ในหลักสูตรสูงกว่า ม.ปลาย แต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกจากหลักสูตรปริญญาตรี เบิกได้ไม่เกินครึ่งหนึ่งที่จ่ายไป

ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ

การเดินทางไปราชการในราชอาณาจักร แบ่งเป็น 3 กรณี

- การเดินทางไปราชการชั่วคราว

- การเดินทางไปราชการประจำ

- การเดินทางกลับภูมิลำเนา

อัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

ประเภท ก.

- ไปราชการต่างจังหวัดกับจังหวัดที่เป็นที่ตั้งปกติ

- ไปราชการในเขตอำเภอเมือง ในจังหวัดเดียวกัน

- ไปราชการในเขตอำเภอที่กระทรวงการคลังกำหนด

ประเภท ข.

- ไปราชการต่างอำเภอในจังหวัดเดียวกัน

- ไปราชการในเขตอำเภอซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานปกติ

- ไปราชการใน กทม. ซึ่งเป็นที่สำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ

การนับเวลาเดินทาง

- นับเวลา 24 ชม.เป็น 1 วัน

- ถ้าไม่ถึง 24 ชม.หรือเกิน 24 ชม.ถ้าส่วนที่ไม่ถึงหรือเกินนั้น ถ้าเกิน 12 ชม.ให้นับเป็น 1 วัน

ระยะเวลาในการเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทาง

- ไปราชการเรื่องหนึ่งเรื่องใดในสถานที่ปฏิบัติราชการแห่งเดียวกัน ให้เบิกได้เพียงระยะเวลาไม่เกิน 120 วัน

- กรณีมีความจำเป็นต้องเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางเกิน 120 วัน จะต้องได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด

การเบิกค่าเช่าที่พักในอัตราเกินกว่าสิทธิ

- ผู้เดินทางไปราชการในหน้าที่เลขาฯ กับ ผบช. ที่ดำรงตำแหน่งระดับ 9 หรือ พ.อ.พิเศษ อัตราเงินเดือนระดับ 2 ขึ้นไป

- ผู้เดินทางไปราชการตามคำสั่งของทางราชการเพื่อทำหน้าที่องครักษ์ หรือผู้อารักขาอย่างใกล้ชิด ให้กับชาวต่างชาติที่เป็นประมุขแห่งรัฐหรือบุคคลสำคัญของต่างประเทศ

หลักการพิจารณาพาหนะประจำทาง

- เป็นพาหนะที่บริการแก่บุคคลทั่วไป

- เป็นพาหนะที่มีเส้นทางที่กำหนดไว้แน่นอน

- เป็นพาหนะที่มีอัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้แน่นอน

ผบ.พล หรือเทียบเท่าขึ้นไป เป็นผู้มีสิทธิอนุญาตให้ใช้พาหนะส่วนตัวเดินทางไปราชการโดยมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่ายชดเชยได้

การเดินทางไปราชการโดยเครื่องบิน

- ผู้เดินทางต้องดำรงตำแหน่งตั้งแต่ระดับ 6 หรือ รับเงินเดือนระดับ พ.ท.ขึ้นไป

- กรณีจำเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ของทางราชการ

ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว เบิกได้เฉพาะ

- เดินทางไปราชการประจำ

- เดนทางกลับภูมิลำเนาเดิม

ผู้เดินทางไปราชการประจำ มีสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้

- เบี้ยเลี้ยงเดินทาง

- ค่าเช่าที่พักสำหรับตนเอง และครอบครัว

- ค่าพาหนะสำหรับตนเอง และครอบครัว

- ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว (เหมาจ่าย)

- ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็น

บุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำ

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดา ของผู้เดินทางและคู่สมรส

- ผู้ติดตาม

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 6 หรือรับเงินเดือน พ.ท.ลงมา มีผู้ติดตามได้ 1 คน

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 7 หรือรับเงินเดือน พ.อ.ขึ้นไป มีผู้ติดตามได้ 2 คน

อัตราค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะในการเดินทางไปราชการประจำบุคคลในครอบครัวต่อไปนี้ เบิกค่าเช่าที่พัก และพาหนะได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดาของผู้เดินทาง และคู่สมรส

ผู้ติดตามให้เบิกเท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุด

การเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม (ต้องกระทำภายใน 180 วันนับแต่วันที่ออกจากราชการ)

- ออกจากราชการ

- ถูกสั่งพักราชการ

- ตาย

ผู้เดินทางกลับภูมิลำเนาเดิมมีสิทธิเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้

- ค่าเช่าที่พัก

- ค่าพาหนะ

- ค่าขนย้ายสิ่งของส่วนตัว

บุคคลในครอบครัวที่มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับภูมิลำเนา

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดา ของผู้เดินทางและคู่สมรส

- ผู้ติดตาม

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 6 หรือรับเงินเดือน พ.ท.ลงมา มีผู้ติดตามได้ 1 คน

ข้าราชการตำแหน่งระดับ 7 หรือรับเงินเดือน พ.อ.ขึ้นไป มีผู้ติดตามได้ 2 คน

อัตราค่าเช่าที่พัก และค่าพาหนะในการเดินทางกลับภูมิลำเนา

บุคคลในครอบครัวต่อไปนี้ เบิกค่าเช่าที่พัก และพาหนะได้ในอัตราเดียวกับผู้เดินทาง

- คู่สมรส

- บุตร

- บิดามารดาของผู้เดินทาง และคู่สมรส

ผู้ติดตามให้เบิกเท่ากับข้าราชการในตำแหน่งระดับต่ำสุดอัตราเบี้ยเลี้ยงเดินทางในประเทศ

ข้าราชการ ประเภท ก. ประเภท ข.

นายสิบ 120 72

ร.ต. – พ.อ.พิเศษ อันดับ 1 180 108

พ.อ.พิเศษ อันดับ 2 ขึ้นไป 240 144

อัตราค่าเช่าโรงแรมในประเทศ

นายสิบ 800

ร.ต. – พ.อ.พิเศษ อันดับ 1 1,200

พ.อ.พิเศษ อันดับ 2 ขึ้นไป 2,200

การจับกุมทหารกระทำความผิดอาญา

- ทหารมิได้สวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญาทุกกรณี ภายนอกเขตที่ตั้ง ให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับได้ แต่ให้ทำการจับกุมโดยละม่อม

- ทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญาฐานลหุโทษ หรือกฎหมายอื่นอันมีโทษปรับสถานเดียว ให้เจ้าหน้าที่ชี้แจงให้ผู้กระทำความผิดไปสถานีตำรวจโดยดี หากไม่ยอมไปให้จด ยศ ชื่อ เครื่องหมาย และสังกัด ไปแจ้งให้พนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการติดต่อ ผบช.ทหารให้ดำเนินการต่อไป

- นายทหารสัญญาบัตรมิได้สวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญา ภายนอกเขตที่ตั้งให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิด

- ทหารสวมเครื่องแบบกระทำความผิดอาญานอกจากที่กล่าวมา นอกเขตที่ตั้ง ไม่ว่าจะกระทำความผิดซึ่งหน้า หรือพยายามจะกระทำผิด หรือสงสัยว่าจะกระทำความผิด หรือมีผู้บอกให้จับ หรือมีหมายจับ ถ้ามี สห. อยู่ก็บอกให้ สห. เป็นผูจับกุม แต่ถ้าไม่มี สห. ก็ให้เจ้าหน้าที่จับกุมได้โดยบอกให้ทหารไปที่ทำการพนักงานสอบสวนโดยดี “ห้ามใส่กุญแจมือ” หรือผูกมัดจำจองแต่อย่างใด หากขัดขืนไม่ยอมจึงให้จับกุมตัวไป

การควบคุมตัวทหารกระทำความผิดอาญา

- ถ้ามิได้สวมเครื่องแบบ นำตัวเข้าห้องควบคุมได้ ถ้ามีห้องควบคุมที่มิดชิดก็ให้ใช้ห้องที่มิดชิด

- ถ้าสวมเครื่องแบบ ห้ามมิให้เอาตัวเข้าห้องควบคุม เว้นแต่แสดงกริยาอาละวาด หรือพยายามหลบหนี และห้ามบังคับให้ถอดเครื่องแบบ

- นายทหารสัญญาบัตร มิได้สวมเครื่องแบบให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับทหารสวมเครื่องแบบ

การแจ้งเหตุทหารกระทำความผิด

- ทบ. ผบ.มทบ.11 ณ ที่ทำการหรือบ้านพัก หรือ พัน.สห. 1 มทบ.11

- ทร. กองพันสารวัตร กรมนาวิกโยธิน (กทม.)

- ทอ. บก.ทอ. หรือกองพันสารวัตร ทอ.

การรับตัว

- ให้ จนท.ฝ่ายทหารนำหนังสือสำคัญรับตัวทหาร (แบบ 1) ของ ผบช. ชั้น ผบ.พัน. ขึ้นไปมาแสดง

- คดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ให้นายทหารสัญญาบัตรมารับตัว นอกนั้นให้นายทหารประทวนมารับก็ได้

การมอบตัว

- ให้ จนท. ตำรวจ ทำหนังสือมอบตัว (แบบ 2) จำนวน 2 ฉบับ ลงชื่อผู้มอบและผู้รับทั้ง 2 ฉบับ ติดสำนวนการสอบสวนมอบให้ฝ่ายทหารไป 1 ฉบับพร้อมมอบตัวทหารไป

นายทหารสัญญาบัตรประจำการต้องหาในคดีอาญาที่มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บ. หรือทั้งจำทั้งปรับ สามารถประกันตัวเองได้

การตรวจค้น

- ทหารสวมเครื่องแบบ ถ้ามี สห. อยู่ให้ สห.เป็นผู้ตรวจค้น

- สถานที่ตรวจค้นให้หาที่ที่เหมาะสมเท่าที่จะหาได้

- ทหารมิได้สวมเครื่องแบบ ให้ทำการตรวจค้นเหมือนบุคคลธรรมดา

- นายทหารสัญญาบัตร การตรวจค้นต้องมีเหตุผลสมควรยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา

- รถสงคราม เครื่องบิน หรือเรือกลและเรือยนต์ซึ่งชักธงราชนาวีขณะปฏิบัติหน้าที่ จะทำการตรวจค้นได้ต่อเมื่อมีหนังสืออนุมัติจาก ผบช. ยานพาหนะนั้น ๆ ตั้งแต่ชั้น ผบ.พล ขึ้นไป

- การตรวจค้นที่รโหฐานของทหารที่ไม่ใช่สถานที่ราชการ ให้ จนท.ทำการตรวจค้นได้ แต่ให้กระทำต่อเมื่อมีเหตุอันสมควร และให้กระทำโดยละมุนละม่อม

- การตรวจค้นภายในที่ตั้งเขตทหาร หรือสถานที่ราชการ ให้ อธิบดีกรมตำรวจ รองอธิบดีฯ ผู้บัญชาการตำรวจ ผู้บังคับการตำรวจ อธิบดีกรมมหาดไทย รองอธิบดีฯ ผู้ว่าราชการภาค ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้รักษาการในตำแหน่งดังกล่าว ทำการตกลงกับ ปลัด กห. ผบ.ทบ. ผบ.ทร. ผบ.ทอ. ผบ.มทบ. หรือ ผบช. ซึ่งเป็น หน.หน่วยนั้น ๆ ซึ่งมีตำแหน่งตั้งแต่ชั้น ผู้บังคับการกรมขึ้นไป

คณะกรรมการสอบสวนทหารกับตำรวจมีกรณีวิวาทกัน

- ผบช.ทหารที่เป็นคู่กรณี หรือผู้แทน

- ผบช.ตำรวจที่เป็นคู่กรณี หรือผู้แทน

- พนักงานสอบสวนแห่งท้องที่ที่เกิดเหตุ

ใน กทม.ให้อธิบดีกรมตำรวจเป็นผู้แต่งตั้งกรรมการฝ่ายตำรวจ ในจังหวัดอื่นให้ ผู้ว่าฯ เป็นผู้แต่งตั้ง ฝ่ายทหารให้ทหารตำแหน่งไม่ต่ำกว่า ผบ.พัน. เป็นผู้แต่งตั้ง ให้พนักงานสอบสวนท้องที่ที่เกดเหตุเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง

ธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498

ศาลทหาร ให้อยู่ในสังกัด กห. มี 3 ชั้น

- ศาลทหารชั้นต้น

- ศาลจังหวัดทหาร

- ศาลมณฑลทหาร

- ศาลทหารกรุงเทพ

- ศาลประจำหน่วยทหาร

- ศาลทหารกลาง

- ศาลทหารสูงสุด

ทุก จทบ.ให้มีศาลจังหวัดทหาร 1 ศาล เว้นจังหวัดที่ตั้ง บก.มทบ. และทุก มทบ.ให้มี ศาลมณฑลทหาร 1 ศาล ยกเว้น มทบ.ที่ตั้งศาลทหารกรุงเทพ

คดีที่ไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

- คดีที่บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอำนาจศาลทหารกระทำความผิดด้วยกัน

- คดีที่เกี่ยวพันกับคดีที่อยู่ในอำนาจศาลพลเรือน

- คดีที่ต้องดำเนินในศาลคดีเด็กและเยาวชน

- คดีที่ศาลทหารว่าไม่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

ศาลทหารในเวลาปกติ

บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร

- นายทหารสัญญาบัตรประจำการ

- นายทหารสัญญาบัตรนอกประจำการ เฉพาะเมื่อกระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร

- นายทหารประทวนและพลทหารกองประจำการหรือประจำการ และบุคคล ที่รับราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร

- นักเรียนทหารตามที่ กห.กำหนด

- ทหารกองเกินที่ถูกเข้ากองประจำการ ซึ่ง จนท.ฝ่ายทหารได้รับตัว เพื่อให้เข้ารับราชการประจำอยู่ในหน่วยทหาร

- พลเรือนที่สังกัดในราชการทหาร เมื่อกระทำความผิดในหน้าที่ราชการทหาร หรือกระทำความผิดอย่างอื่นเฉพาะในบริเวณ ที่ตั้งหน่วยทหาร หรือพาหนะในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหาร

- บุคคลซึ่งต้องขังอยู่ในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหารโดยชอบด้วยกฎหมาย

- เชลยศึกหรือชนชาติศัตรูซึ่งอยู่ในความควบคุมของ จนท.ฝ่ายทหาร

ศาลจังหวัดทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศชั้นสัญญาบัตรมีตุลาการ 3 นาย ผบ.จทบ.เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลมณฑลทหาร และศาลประจำหน่วยทหาร มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมาย เว้นแต่คดีที่จำเลยมียศชั้นนายพลหรือเทียบเท่ามีตุลาการ 3 นาย ผบ.มทบ.เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลทหารกรุงเทพ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาได้ทุกบทกฎหมายโดยไม่จำกัดยศของจำเลย และไม่จำกัดพื้นที่มีตุลาการ 3 นาย รมว.กห. เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นสัญญาบัตร 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 1 นาย

ศาลทหารกลาง มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารชั้นต้นมีตุลาการ 5 นาย ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นนายพล 1 หรือ 2 นาย

- นายทหารชั้นนายพัน 1 หรือ 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 2 นาย

ศาลทหารสูงสุด มีอำนาจพิจารณาพิพากษาบรรดาคดีที่อุธรณ์ คำพิพากษา หรือคำสั่งของศาลทหารกลางมีตุลการ 5 นาย ให้นำความขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งและถอดถอน

- นายทหารชั้นนายพล 2 นาย

- ตุลาการพระธรรมนูญ 3 นาย

คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก “ห้ามอุธรณ์”

พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พ.ศ.2476

วินัยทหาร คือ การที่ทหารต้องประพฤติปฏิบัติตามแบบธรรมเนียมของทหาร มี 9 ข้อ

1. ดื้อดึง ขัดขืน หรือละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาเหนือตน

2. ไม่รักษาระเบียบการเคารพระหว่างผู้ใหญ่ผู้น้อย

3. ไม่รักษามารยาทให้ถูกต้องตามแบบธรรมเนียมของทหาร

4. ก่อให้แตกความสามัคคีในคณะทหาร

5. เกียจคร้าน ละทิ้ง หรือเลินเล่อต่อหน้าที่ราชการ

6. กล่าวคำเท็จ

7. ใช้กิริยาวาจาไม่สมควร หรือประพฤติไม่สมควร

8. ไม่ตักเตือนสั่งสอน หรือลงทัณฑ์ผู้ใต้บังคับบัญชาที่กระทำผิดตามโทษานุโทษ

9. เสพเครื่องดองของเมาจนเสียกริยา

ทัณฑ์ ที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดต่อวินัยทหาร มี 5 สถาน

1. ภาคทัณฑ์ คือ ทำทัณฑ์บน

2. ทัณฑกรรม คือ ให้ทำการสุขา การโยธา

3. กัก คือ กักตัวไว้ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งตามแต่จะกำหนดให้

4. ขัง คือ ขังในที่ควบคุมแต่เฉพาะคนเดียว

5. จำขัง คือ ขังโดยส่งไปฝากให้อยู่ในความควบคุมของเรือนจำทหาร

นายทหารสัญญาบัตรถูกลงทัณฑ์ ต้องส่งรายงานการลงทัณฑ์นั้นเสนอตามลำดับชั้นจนถึง รมว.กห.

ถ้าผู้มีอำนาจลงทัณฑ์มิได้จัดการที่จะให้ผู้นั้นได้รับทัณฑ์ภายในกำหนด 3 เดือน จะสั่งลงทัณฑ์โดยอำนาจตนเองมิได้

ความรู้รอบตัว 3

201. วิกฤตการณ์ ร.ศ.112 ฝรั่งเศสส่งกำลังทางบกเข้ามาทางชายแดนไทยบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงพร้อมส่งเรือรบเข้ามาที่กรุงเทพฯ เพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลไทยสละสิทธิของไทยเหนือดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส ข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส คือ


1. ให้ไทยยอมมอบดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และเกาะต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส

2. ให้ถอนทหารออกจากชายแดนไทยให้หมดภายใน 1 เดือน

3. ให้ลงโทษผู้กระทำผิด และเสียค่าทำขวัญแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต

4. ให้ไทยเสียค่าปรับให้ฝรั่งเศสเป็นเงินสด 1 ล้านฟรังก์

202. การเสียดินแดนให้กับอังกฤษ และฝรั่งเศส

1. เสียแคว้นสิบสองจุไท ให้ฝรั่งเศส

2. เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงที่เป็นประเทศลาวทั้งหมด ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ที่เป็นอาณาจักรล้านช้างให้ฝรั่งเศส

3. เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง ด้านตะวันออกของเมืองน่าน เมืองจำปาศักดิ์ เมืองมโนไพร ให้ฝรั่งเศสเพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี

4. เสียดินแดนมณฑลบูรพา ได้แก่ เมืองศรีโสภณ เมืองเสียมราฐ เมืองพระตะบอง ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองตราด เกาะกง และเมืองด่านซ้าย พร้อมทั้งการได้อำนาจศาลไทย ที่จะบังคับคนในบังคับฝรั่งเศสในไย พ.ศ.2449

5. เสียรัฐกลันตัน ตรังกานู ไทรบุรี และปะลิส ให้อังกฤษ เพื่อให้ได้อำนาจศาลไทยที่จะบังคับต่อคนในบังคับอังกฤษในไทย พ.ศ.2451

203. สงครามโลกครั้งที่ 1 ไทยส่งกองทหารอาสาไปร่วมรบกับฝ่ายสัมพันธมิตร 2 กอง คือ กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์

204. สงครามหาเอเชียบูรพา มีการจัดกำลังเป็นกองทัพบกสนาม ประกอบด้วย กองทัพพายัพ กองหนุนทั่วไปของกองทัพบกสนาม และหน่วยรักษาชายแดนและคมนาคม

205. ธงชัยเฉลิมพล เดิมจำแนกออกเป็น 2 ชนิด

1. ธงชัยประจำกองทัพ ได้แก่ ธงจุฑาธุชธิปไตย และธงไพชยนต์ธวัช

2. ธงชัยเฉลิมพลประจำกองทหาร

206. ธงชัยฯ มีหมุดประมาณ 32 – 35 ตัว แรกเป็นรูปขวานทอง ตัวที่สองเป็นรูปธรรมจักร ตัวที่สามเป็นรูปพานรัฐธรรมนูญ

207. ความหมายสำคัญของธงชัยฯ มี 3 ประการ คือ

1. ผืนธง หมายถึง ชาติ

2. พระพุทธรูป (พระยอดธง) หมายถึง ศาสนา

3. เส้นพระเจ้า หมายถึง องค์พระมหากษัตริย์

208. พิธีกระทำสัตย์ปฏิญาณตนต่อธงชัยฯ สันนิษฐานว่าได้กระทำครั้งแรกเมื่อ 20 ต.ค.2471 ในสมัย ร.7

209. ธงมหาราชใหญ่ เป็นธงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส พื้นธงสีเหลือง มีรูปครุฑสีแดงอยู่ตรงกลาง

210. ธงมหาราชน้อย ใช้แทนธงมหาราชใหญ่เป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีขาว)

211. ธงราชินี มีลักษณะคล้ายธงมหาราชแต่ชายธงเป็นแฉกหางนกแซงแซว มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

212. ธงราชินีน้อย ใช้แทนธงราชินีเป็นเครื่องแสดงให้ทราบว่าโปรดเกล้าฯ ให้งดการยิงสลุตถวายคำนับ (ตอนปลายธงมีสีแดง)

213. ธงเยาวราช พื้นธงมี 2 สี รอบนอกเป็นสีขาบ รอบในเป็นสีเหลืองมีรูปครุฑพ่าห์อยู่ตรงกลาง สำหรับเป็นเครื่องหมายในพระองค์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มีขึ้นครั้งแรกสมัย ร.5

214. ธงเยาวราชฝ่ายใน (พระวรชายา)

215. ธงราชวงศ์ฝ่ายหน้า เป็นธงสำหรับพระราชโอรส สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ หรือสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ แห่งพระมหากษัตริย์

216. กฏมณเฑียรบาลมีขึ้นสำหรับการปกครองตั้งแต่สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

217. เมื่อคราวไทยรบกับพม่าสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิไทยส่งตัว พระราเมศวร พระยาจักรี และพระยาสุนทรสงคราม พร้อมช้างเผือก 4 เชือกให้กับพม่า

218. สมเด็จพระนเรศวร ทรงเริ่มนำยุทธวิธีแบบใหม่มาใช้ในการทำสงคราม เปลี่ยนแนวคิดจากตั้งรับมาเป็นรุก และริมเริ่มการใช้วิธีการรบนอกแบบ

219. ไทยเปลี่ยนการใช้ ร.ศ. มาใช้เป็น พ.ศ. สมัย ร.6

220. เครื่องราชกกุธภัณฑ์

1. พระมหาพิชัยมงกุฎ

2. ธารพระกร

3. วาลวิชนี

4. พระแสงขันธ์ชัยศรี

5. ฉลองพระบาทเชิงงอน

221. พระมหาเศวตฉัตร หรือ นพปฎลมหาเศวตฉัตร เป็นฉัตรหุ้มผ้าขาว 9 ชั้น

222. กระบวนพยุหยาตราสถลมารค ทางบก

223. กระบวนพยุหยาตราชลมารค ทางน้ำ (ถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณฯ)

224. พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปาลกาล สมัย ร.4 โปรดเกล้าให้เชิญขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อเสวยก่อน

225. พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเมื่อ 8 เมษายน 2430 – 2433

226. กีฬากองทัพบกได้เริ่มทำการแข่งขันครั้งที่ 1 เมื่อปี พ.ศ. 2492

227. ผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนแรก ชื่อ จอมพล ป.พิบูลสงคราม

228. แม่ทัพภาคที่ 1 คนแรก ชื่อ พลตรี พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นกำแพงเพชร อัครโยธิน ตั้งแต่ พ.ศ. 2454 – 2456

229. เลขาธิการสหประชาชาติ คนปัจจุบันชื่อ นาย โคฟี อันนัม ชาวกานา

230. นางอองซาน จู จี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านของพม่า ชื่อพรรค เอ็น แอล ดี

231. ครบรอบวันประกาศอิสรภาพของประชาชนชาวพม่าที่ได้รับการปลดปล่อยจากการเป็นเมืองขึ้นของสหราชอาณาจักร เมื่อ วันที่ 4 มกราคม 2491

232. สตรีคนแรกของสหรัฐที่ได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่งสูงสุดทางการทูต และการเมือง คือ รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐกว่า 200 ปี คือ นางเมเดลีน อัลไบรท์

233. วันเลิกทาสสากล ของสหประชาชาติ ตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม ของทุกปี

234. การสร้างเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 กองทัพเรือ จัดสร้าง

235. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม คนแรก ชื่อ พล.ร.ต. พระยาปรีชาชลยุทธ ร.น. ตั้งแต่ 28 เม.ย. 2475

236. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมคนแรก ที่เป็นพลเรือน คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมทย์

237. ประธานรัฐสภา คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

238. ประธานสภาผู้แทนราษฎร คนแรก ชื่อ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

239. ประธานศาลฎีกาของไทย คนแรก ชื่อ พระยาวิกรมสัตนสุภาษ

240. ธนบัตรแบบแรกของประเทศไทยประกาศใช้เมื่อ 7 กันยายน 2445

241. ยอดเขาที่สูงที่สุดของไทย คือ ยอดเขา อินทนนท์ สูง 2,565 เมตร

242. วันที่ 20 กันยายน ของทุกปี เป็นวันเยาวชนแห่งชาติ ซึ่งตรงกับวันราชสมภพของรัชกาลที่ 5 และ 8

243. วันมรดกไทย ตรงกับวันที่ 2 เมษายน ของทุกปี

244. นายกรัฐมนตรี ที่มาจากพลเรือนได้เข้าร่วมประชุมสภากลาโหม คือ นายชวน หลีกภัย

245. ฌาปนสถานกองทัพบกมีที่ตั้ง 3 แห่ง คือ วัดโสมนัสวิหาร วัดอาวุธวิกสิตราม วัดศิริพงษ์ธรรมนิมิต

246. นักพากย์ภาพยนต์คนแรกของไทย คือ นายสิน สี บุญเรือง (ทิดเขียว)

247. ผู้คิดตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นคนแรก คือ ร้อยโท เจมส์ โลว์ นายทหารชาวอังกฤษ

248. ผู้ริเริ่มใช้กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรกของไทย คือ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)

249. ผู้เปิดเดินรถเมล์ในกรุงเทพฯ เป็นคนแรก คือ พระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ)

250. ผู้ประดิษฐ์รถสามล้อขึ้นใช้ในประเทศไทยเป็นคนแรก คือ นาย เลือน พงษ์โสภณ

251. ผู้ริเริมใช้แท็กซี่ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก คือ พลโทพระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา)

252. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” เป็นคนแรก คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร

253. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรกของไทย คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.6)

254. ฝาแฝดคู่แรกของไทย คือ ฝาแฝด อิน จัน เกิดเมื่อ วันที่ 11 พ.ค. 2434 ที่ จ.สมุทรสงคราม

255. เรือกลไฟลำแรกของไทย คือ เรือสยามอรสุมพล

256. โรงพยาบาลแห่งแรก คือ โรงพยาบาลศิริราช

257. มหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

258. รร.อนุบาลแห่งแรกของไทย คือ ร.รงอนุบาลโรงเลี้ยงเด็ก ซึ่งพระองค์เจ้าสายวลีภิรมย์ พระอัครชายาในรัชกาลที่ 5 เป็นผู้ให้กำเนิ

259. ธนาคารแห่งแรกของไทย คือ แบงก์สยามกัมมาจล (ปัจจุบัน คือ ธนาคารไทยพาณิชย์)

260. โรงภาพยนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ ที่ฉายภาพยนตร์จอซีนีมาสโคป คือ โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมไทย

261. ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ออกฉายให้ประชาชน คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ

262. โรงแรมแห่งแรกของไทย คือ โรงแรมโอเรียนเต็ล

263. โรงพิมพ์แห่งแรกของไทย คือ โรงพิมพ์ของหมอบรัดเลย์

264. แบบเรียเล่มแรกของไทย คือ หนังสือจินดามณี

265. บทประพันธ์ที่ทำการขายลิขสิทธิกันครั้งแรกในประเทศไทย คือ นิรศลอนดอน ของหม่อมรโชทัย ขายลิขสิทธิให้กับหมอบรัดเลย์

266. หนังสือไทยเล่มแรก คือ ไตรภูมิพระร่วง

267. หนังสือพิมพ์ข่าวฉบับแรกของไทย คือ หนังสือพิมพ์บางกอกรีคอดเดอร์

268. ปฏิทินฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์ครั้งแรกในประเทศไทย คือ ปี 2385

269. วิทยุโทรทัศน์มีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยเมื่อปี 2497 คือ สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม

270. สถานีโทรทัศน์แห่งแรกของไทย คือ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 4 บางบุนพรม (ปัจจุบันคือ ช่อง 9)

271. ร.ร.หลวงสำหรับราษฎรแห่งแรก คือ ร.ร.วัดมหรรณพาราม

272. สะพานแห่งแรกที่เชื่อระหว่างฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี คือ สะพานสมเด็ดพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก

273. ประเพณีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเริ่มมีครั้งแรกคือ สมัยกรุงศรีอยุธยา

274. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

275. ประเทสไทยเผชิญมรสุมภัยทางเศรษฐกิจ จนนำมาสู่การปรับปรุงโครสร้างทางการเงินของธนาคารอะไร ล่าสุดเมื่อ 6 ก.พ. 41 (ธนาคารศรีนคร)

276. กีฬาโอลิมปิกเกม ฤดูหนาว ครั้งที่ 18 จัดที่เมืองนากาโน ญี่ปุ่น

277. ประธานสหภาพายุโรป คนปัจจุบันชื่อ นายฌอง แคร์

278. ชนกลุ่มน้อยที่ต่อสู้กับรัฐบาลพม่า ผลิตยาบ้านในพื้นที่ประเทศพม่า สามารถครอบครองตลาดภายในไทยได้กว่า 80% ที่ไหน (ว้าแดง จุดนำเข้าทั้งหมดอยู่ที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย)

279. โอนกรมตำรวจ จากกระทรวงมหาดไทย ไปเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นอยู่ภาย ใต้การบังคับบัญชาดูแลของนายกรัฐมนตรี

280. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติคนแรก คือ พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก

281. สนามแบตมินตัน แห่งแรกในประเทศไทยอยู่ที่ พระราชวังพระรามราชนิเวศน์ จังหวัดเพชรบุรี ปัจจุบันได้ปรับแต่งเป็นสวมหย่อมไปแล้ว

282. การโต้วาทถ่ายทอดสดออกทีวีเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมือง ระหว่างผู้นำพรรครัฐบาล และผู้นำพรรคฝ่ายค้าน ของประเทศอังกฤษ

283. จังหวัดที่ได้รับการยกย่องเป็น “สุดยอดเมืองหลักภาคอีสาน” คือจังหวัดขอนแก่น

284. พระพุทธสัมปทานนิโรคาพาธ อันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมาแต่อดีตมีอายุเกือบ 900 ปี เป็นพระปางสมาธิราบที่สวยงาม อยู่ที่วิหารของโรงพยาบาลสงฆ์ กรุงเทพฯ

285. “พระพุทธสิหิงค์” ประดิษฐานอยู่ที่พระที่นั่งพุธไธสวรรค์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพ

286. ว่าวไทย มีเล่นกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

287. อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานอยู่ ณ รัฐสภาแห่งชาติ กรุงเทพ

288. อนุสาวรีย์สมเด็จพระบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ประดิษฐานอยู่ ณ หน้ากระทรวงมหาดไทย กรุงเทพฯ

289. อนุสาวรีย์ทหารอาสา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เพื่อบรรจุอัฐทหารอาสา ที่เสียชีวิตในการรบเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ

290. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือ สูง 50 เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิของทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่เสียชีวิตในการรบระหว่างสงครามอินโดจีน กรุงเทพฯ

291. อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย สร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงการปกครองของระบบประชาธิปไตยของไทย กรุงเทพฯ

292. อนุสาวรีย์ศรีสุริโยทัย คือ เจดีย์ศรีสุริโยทัยเป็นอนุสาวรีย์ที่สมเด็จพระมหาจักพรรดิโปรดเจ้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรตินางสุริโยทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

293. อนุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราชประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอเมืองลพบุรี

294. พระบรมราชานุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง ประดิษฐานอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย

295. อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์

296. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา

297. อนุสาวรีย์ปราบฮ่อ ในจังหวัดหนองคาย

298. อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร จังหวัดภูเก็ต

299. อนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อยู่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

300. อนุสาวรีย์พ่อขุนผาเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์

301. อนุสาวรีย์วีรกรรม พลเรือน ตำรวจ ทหาร ทุ่งช้าง จังหวัดน่าน

302. วันเสียงปืนแตก 7 สิงหาคม 2508 มีความหมายว่าเป็นวันที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เปิดฉากต่อสู้ด้วยอาวุธกับฝ่ายรัฐบาล

303. แลนด์บริดจ์ หมายถึงโครงการสร้างถนนสายกระบี่ ขนมอ

304. เซาเทิร์นซีบอร์ด หมายถึง โครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้

305. รัฐธรรมนูญ “ฉบับประชาชน” เป็นฉบับแรกประกาศใช้ตั้งแต่ วันที่ 11 ตุลาคม 2540

306. กรมราชทัณฑ์ ตั้งในสมัยรัชกาลที่ 6

307. อธิบดีกรมราชทัณฑ์ คนแรกชื่อ มหาอำมาตย์เอก พระยาชัยวิชิตวิศิษฐ์ ธรรมธาดา

308. วันที่ 6 สิงหาคม 2488 สหรัฐฯนำเอาระเบิดปรมาณูลูกแรกไปทิ้งที่เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น

309. สำนักงานตำรวจแห่งชาติของไทย อยู่ในบังคับบัญชาของ นายกรัฐมนตรี

310. นายกรัฐมนตรีที่คุมทหาร 3 เหล่าทัพ และยังคุมตำรวจแห่งชาติ คนแรกคือ นายชวน หลีกภัย

311. กุ้งน้ำจืด ชนิดใหม่ของโลก ที่ค้นพบที่ผ้ามอน อำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน คือกุ้งเจ้าฟ้า

312. กรุงเทพฯ จะปลูกไม้ยืนต้น ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 2 นิ้วขึ้นไป ตามถนนสายต่างๆ ถนนราชดำเนิน จะปลูกต้นประดู่ 100 ต้น

313. “นรกธารโต” คือทัณฑสถาน หรือคุกนรกธารโต สถานที่กักขัง นักโทษในคดีอุกฉกรรจ์ จังหวัดยะลา

314. รัชกาลที่ 6 จัดตั้งคลังออมสิน

315. วัดประจำพระราชวัง พระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี ชื่อวัดมหาสมณาราม

316. โครงการทางยกระดับถนนบรมราชชนนีอยู่ที่ช่วงตลิ่งชัน แยกพุทธมณฑลสาย 2

317. มิสไชน่าทาวน์คนแรกของไทย ชื่อนางสาวปิยะมาส เลิศนรากุล

318. ขบวนการพูโล หรือสหพันธ์รัฐปัตตานี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 ม.ค. 11 จังหวัดปัตตานี

319. เขื่อนแม่กวงอุดมธารา ตั้งอยู่ที่อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

320. ค่ายสิริธรม ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

321. ค่ายกรมหลวงชุมตั้ง ตั้งอยู่ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

322. ค่ายตากสิน ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

323. ค่ายมหาสุรสิงหนาท ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

324. ค่ายมหาศักดิพลเสน ตั้งอยู่ที่บ้านโนนหัน อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น

325. ค่ายสีหราชเดโชไชย ตั้งอยู่ที่ จังหวัดขอนแก่น

326. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะจันทร์ อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี

327. ค่ายพิบูลสงคราม ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

328. ค่ายทองฑีฆายุ ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

329. ค่ายจิรวิชิตสงคราม ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

330. ค่ายสมเด็จพระสุริโขทัย ตั้งอยู่ที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

331. ค่ายพ่อขุนบางกลางหาว ตั้งอยู่ที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

332. ค่ายสุริยพงษ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดน่าน

333. ค่ายพระยาไชยบูรณ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแพร่

334. ค่ายกาวิละ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

335. ค่ายพิชิปรีชากร ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

336. ค่ายเทพสิงห์ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

337. ค่ายโสณบัณฑิตย์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน

338. ค่ายเทพสตรีศรีสุนทร ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

339. ค่ายวชิราวุธ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

340. ค่ายรัษฏานุประดิษฐ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดตรัง

341. ค่ายเขตอุดมศักดิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดชุมพร

342. ค่ายวิภาวดีรังสิน ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุราษฎ์ธานี

343. ค่ายรัตนรังสรรค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดระนอง

344. ค่ายเสนาณรงค์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

345. ค่ายรัตนพล ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

346. ค่ายพระปกเกล้าฯ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา

347. ค่ายอิงคยุทธบริหาร ตั้งอยู่ที่จังหวัดปัตตานี

348. ฟีฟ่าหรือสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ

349. หอคอยแห่งแรกในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

350. หนุ่มไทยได้รับรางวัลเกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากโรงเรียนนายเรืออากาศแห่งสหรัฐ นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือ นายจักรกฤษ์ ธรรมวิชัย

351. ภูหินร่องกล้า อยู่ในเขตติดต่อ 3 จังหวัด พิษณุโลก เลย เพชรบูรณ์ มีชื่อเรียกที่ชาวบ้านรู้จักกันว่า เทือกเขาสามหมื่น

352. ประเทศอุตสาหกรรมใหม่ในเอเซีย มีสมาชิกเพิ่มเข้ามาอีก 3 ประเทศ คือประเทศ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย

353. วันสันติภาพของโลก ตรงกับวันที่ 15 สิงหาคม ของทุกปี

354. “ค่ายสีหราชเดโชไชย” เป็นที่ตั้งของหน่วยทหารราบที่ 8 กองพันทหารราบที่ 3 กรมทหารราบที่ 8 และกองพันทหารปืนใหญ่ที่ 8 ตั้งอยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

355. ค่ายพนัสบดีศรีอุทัย เป็นที่ตั้งของกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 และหน่วยขึ้นตรงกองบัญชาการช่วยรบที่ 1 ตั้งอยู่ที่ จังหวัดชลบุรี

356. ค่ายจิรวิชิตสงคาม เป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธกองทัพบก ตั้งอยู่ที่ จังหวัดลพบุรี

357. ค่ายพิบูลสงคราม เป็นที่ตั้งของกองพลทหารปืนใหญ่ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

358. ค่ายทองทีฆายุ เป็นที่ตั้งของกรมการสัตว์ทหารบก ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครปฐม

359. ประเทศแรกของโลกที่มีนายกรัฐมนตรีหญิง คือประเทศศรีลังกา ชื่อสิริมาโว บันดารไนยเก

360. เขื่อนใต้ดิน คือ การสร้างสิ่งกีดขวาง เช่น กำแพงทึบน้ำลงใต้ดิน อยู่ที่จังหวัดภูเก็ตเป็นแห่งแรก

361. อุทยานแห่งชาติทางทะเลแห่งแรกของไทย ชื่อเขาสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

362. เกาะในประเทศไทย ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากเกาะภูเก็ต คือเกาะช้าง จ.ตราด

363. ตลาดค้าสัตว์ป่าที่ใหญ่ที่สุดในทวีปเอเซีย คือ เมืองดานัง ประเทศ เวียดนาม

364. ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีคำย่อว่า ศอ.บต. เริ่มก่อตั้งเมื่อ 2524

365. ตลาดนัดสัญจรเพื่อไทยทั่วไทย ของ ทบ.เปิดโครงการเป็นพื้นที่แรกที่บริเวณลานพระราชวังดุสิต และภายในสวนอัมพร

366. การสร้าง “พีเอ็กซ์” ในส่วนที่ ทภ.1 รับผิดชอบมี 2 พื้นที่ คือ พื้นที่แรกใน ร.11 รอ.ซึ่งดำเนินการโดย มทบ.11 แห่งที่ 2 ที่จังหวัดลพบุรี ดำเนินการโดยมทบ.13

367. ผบ.ทบ.อนุมัติหลักการเกี่ยวกับการดื่มแชมเปญแสดงความยินดีในงานพิธีต่างๆ ของทบ. ทุกพิธี ยกเว้นพิธี มอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ และพิธีมอบเครื่องหมายความสามารถพิเศษให้แก่ชาวต่างประเทศเท่านั้น

368. กำแพงเมืองจีน อันลือลั่นของจีน สร้างในสมัยราชวงศ์หมิง ระยะทาง 2,000 กม. มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เกรต วอลล์

369. น้ำตกที่สูงที่สุด คือ น้ำตกแม่ยะ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

370. คำว่า “แบล็กลิสต์” มีความหมายว่า รายชื่อพวกที่เป็นภัยต่อชาติเก็บไว้ แต่เปิดเผยไม่ได้ ถ้าไม่มีแสดงว่าองค์กรนั้นหย่อนยาน

371. ประเทศแรกในยุโรปที่พิมพ์ธนบัตรใช้เป็นประเทศแรก คือประเทศสวีเดน

372. ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้ประชุมรับสมาชิกใหม่ 2 ประเทศ ที่ประเทศมาเลเซีย คือ ประเทศลาว และประเทศเมียนม่า

373. จังหวัดที่อยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงราย

374. จังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย คือ จังหวัดนราธิวาส

375. จังหวัดที่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตจังหวัดอื่นๆ มากที่สุด คือ จังหวัดตาก

376. จังหวัดภาคใต้ที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเลเลย คือ จังหวัดยะลา และสตูล

377. ภูเขาที่ใหญ่ที่สุดทางภาคใต้ คือ เทือกเขานครศรีธรรมราช

378. เกาะที่ใหญ่ที่สุดของไทย คือ เกาะภูเก็ต

379. ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยอยู่ที่ ทะเลสาบสงขลา

380. หนองน้ำที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อยู่ที่หนองหาร จังหวัดสกลนคร

381. แม่น้ำเจ้าพระยาออกสู่ทะเลที่จังหวัดสมุทรปราการ

382. คลองที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ คลองแสนแสบ

383. ถนนสายแรกในประเทศไทย คือถนนเจริญกรุง

384. ถนนสายที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ชื่อถนนเพชรเกษม จาก กทม.ถึง จ. นราธิวาส

385. ทางรถไฟสายแรกของไทย สายกรุงเทพ ปากน้ำ

386. อุโมงค์ที่ยาวที่สุดของประเทศไทย คือ อุโมงค์ขุนตาล จังหวัดลำปาง

387. สะพานที่ยาวที่สุดของไทย คือ สะพานติณสูลานนท์ จ.สงขลา

388. เขื่อนที่ผลิตกระแสดไฟฟ้าได้มากที่สุดในประเทศไทย คือ เขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรี

389. ตึกที่สูงที่สุดของไทย คือ ตึกใบหยกเทาเวอร์ อยู่กรุงเทพฯ

390. ส่วนที่แคบที่สุดของไทย คือบริเวณคอคอดกระ จ.ประจวบคีรีขันธ์

391. ผู้ให้กำเนิดลูกเสือไทยคนแรก คือ รัชกาลที่ 6

392. ผู้ให้กำเนิดเพลงชาติ คือ พระเจนดุริยางค์ บรรเลงครั้งแรกโดยวงดุริยางค์ทหารเรือ

393. ผู้ให้กำเนิดเพลงสรรเสริญพระบารมี คือ กรมพระยานริศราสุวัดติวงศ์

394. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย” คือ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุาภาพ

395. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการแพทยแผนปัจจุบันของไทย” คือ สมเด็จพระราชบิดา กรมหลวงสงขลานครินทร์

396. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “พระบิดาแห่งกองทัพเรือ” ชื่อ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

397. ผู้ที่ได้รับยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการสหกรณ์แห่งประเทศไทย” คือ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

398. ผู้ที่ริเริ่มใช้ ร.ศ. รัตนโกสินทร์ศก คือ รัชกาลที่ 5

399. เรือกลไฟลำแรกของไทย ชื่อ เรือสยามอรสุมพล

400. โรงพยาบาลแห่งแรกของไทยชื่อ โรงพยาบาลศิริราช สร้างสมัยรัชกาลที่ 5

401. สภากาชาด ตั้งขึ้น ในรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ สภาอุณาโลม

402. โรงเรียน “หลวง” สำหรับราษฎรแห่งแรก คือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

403. เจดีย์ที่เก่าแก่ที่สุดและใหญ่ที่สุดในไทย คือ พระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม

404. พระปรางค์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย คือพระปรางค์ที่วัดอรุณราชวราราม วัดแจ้ง ธนบุรี

405. พระพุทธไสยยาสน์ที่ยาวที่สุดของไทย คือ พระพุทธไสยยาสน์ที่วัดพระนอน จ.สิงห์บุรี

406. ในสมัยก่อนถือวันวันสงกรานต์ เดือน 5 ขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันขึ้นปีใหม่ ต่อมาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นปัจจุบันนี้เมื่อปี 2484

407. ประชากรโลกคนที่หกล้านพันล้านคน เกิดที่ประเทศบอสเนีย

408. หัวหน้าขบวนการต่อสู้กอบกู้อิสรภาพดินแดนติมอร์ตะวันออก ชื่อ นายโฮเซ่ อะเลกซานเดอร์ ซานาทา กุสเมา

409. พระองค์ดำ เป็นพระนามของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

410. ไฟฟ้าเริ่มใช้ในประเทศไทย ในสมัยรัชกาลที่ 5

411. เบญจรงค์ ห้าสี มีสี ดำ แดง เขียว ขาว เหลือง

412. สถานทูตพม่าประจำประเทศไทย ตั้งอยู่ที่ ถนนสาทรเหนือ แขวงสีลม กรุงเทพ

413. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดลพบุรี

414. วันที่ 29 กรกฏาคม ของทุกปี เป็นวันภาษาไทยแห่งชาติ

415. ประเทศกัมพูชา ที่คัดค้านที่จะให้ติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นสมาชิกใหม่อาเซียน

416. พิพิธภัณฑ์พระตำหนักดาราภิรมย์ ตั้งอยู่ที่ พระตำหนักดาราภิรมย์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

417. โบสถ์เหล็กแห่งแรกของไทยตั้งอยู่ที่ วัดปากลำแข้ง บริเวณรอยต่อ 3 จังหวัด คือ ตาก อุทัยธานี และกาญจนบุรี

418. วันที่ 5 ธันวาคม 2542 เปิดให้บริการรถไฟฟ้า บีทีเอสซี เป็นวันแรกในสมัยนายพิจิตต รัตตกุล เป็นผู้ว่าการกทม.

419. “เศรษฐกิจพอเพียง” ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานไว้ มีความหมายว่า เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาประเทศตลอดจนการใช้ชีวิตและครองตนของพี่น้องประชาชนทั่วไป

420. กลุ่มกรีนพีช คือองค์กร ที่รณรงค์สิ่งแวดล้อม มีเรือแรนโบว์วอริเจอร์เดินทางรณรงค์ต่อต้านเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในประเทศแถบเอเชีย

421. แหล่งก๊าซแหล่งใหม่ของไทย คือ แหล่งไพลิน อยู่ที่แหล่งผลิตก๊าซกลางอ่าวไทย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดเมื่อ 26 มิถุนายน 2543

422. ติมอร์ตะวันออก จะแยกตัวเป็นเอกราชจากประเทศอินโดนีเซีย

423. สะพานขึงแบบอสมมาตร เสาเดี่ยว 3 ระนาบ ที่ยาวที่สุดในโลกของไทยตั้งอยูด้านเหนือของสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า ก่อนถึงสะพานกรุงธนบุรี ชื่อสะพานพระราม 8

424. กลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติอนุรักษ์พันธุ์ไม้ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตั้งอยู่ที่สวนพฤกษศาสตร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

425. พิธีมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่นักกีฬาคนพิการ เครื่องราชอินริยาภรณ์ ชื่อ ดิเรกคุณาภรณ์

426. พระที่นั่งไกรสนสีหราช อยู่ที่จังหวัดลพบุรี

427. เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งประวัติศาสตร์และตรงกับวันเพ็ญอาสาฬหบูชา วันที่ 16 กรกฎาคม 2543

428. เขื่อนปากมูล อยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี

429. เมืองหลวงของไทยในอดีต ก่อนที่จะมาเป็นกรุงเทพมหานคร คือ กรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา และกรุงธนบุรี

430. อุทยานแห่งชาติพุเตย อยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี

431. เจดีย์ยอดด้วน หรือเจดีย์ยักษ์ อยู่ที่วัดพระเงิน จังหวัดนครศรีธรรมราช

432. กรณีที่ พล.ต.สนั่น ขจรประศาสตร์ ลาออกจากตำแหน่ง 3 ตำแหน่ง เพราะ ป.ป.ช.มีมติเอกฉันท์ว่า แสดงบัญชีทรัพย์สินเท็จ ไม่ตรงกับความจริง

433. สวนสาธารณแห่งใหม่ที่จัดเป็นแบบสวนไทยที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยอยู่ที่อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

434. สัญลักษณ์ที่อยู่ด้านหน้าของศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีชื่อว่า โลกุตระ

435. ประเพณีงานผีตาโชน เป็นของจังหวัดเลย

436. เกาะทะลุ ตั้งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

437. กองทัพไทยในสงครามศึกไทย พม่า กองทหารดาบทะลวงฟัน ผู้นำหน่วยรบที่กล้าหาญชื่อ ขุนรัตนาวุธ

438. พระพุทะเจ้าทรงตรัสรู้ เมื่อพระชนมายุ 35 พรรษา

439. “เพชรอันดามัน” ได้รับการขนานนามเป็นของจังหวัดกระบี่

440. รัฐสภา สว.ครบองค์ประกอบได้สมาชิกคนที่ 200 ชื่อ คุณวิลาวัลย์ ตันวัฒนะพงษ์ สว.จว.อุบลราชธานี

441. การรถไฟสายเหนือของไทย มีสถานีปลายทาง อยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่

442. การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ ผู้ที่ออกเสียงเลือกตั้ง ตั้งแต่อายุ 18 ปี

443. ประเทศไหน เป็นประเทศแรกที่ได้จัดให้มีการวันแม่ขึ้น (ประเทศสหรัฐอเมริกา)

444. “NGL” ได้แก่ก๊าซ โชลีน

445. ผู้ก่อตั้งโอลิมปิกสากล ชื่อ ปิแอร์ เดอ กูแบร์แดง

446. วันที่ 22 ก.ย. 43 รัฐบาลจัดให้เป็นวันคาร์ฟรีเดย์ วันรณรงค์จอดรถไว้ที่บ้าน ช่วยกันประหยัดน้ำมัน

447. นายโคฟี่ อันนัน เลขาธิการองค์การสหประชาชาติเป็นชาวกานา

448. สะพานซังฮี้ มีชื่อเป็นทางการว่า สะพานกรุงธน

449. “เอ็มพาวเวอร์” หมายถึงมูลนิธิส่งเสริมโอกาสหญิงบริการ ศูนย์พิทักษ์สิทธิหญิงขายบริการทางเพศ

450. “ฑูตสันถวไมตรี เพื่อเด็กและเยาวชน” จากยูนิเซฟ คนแรกของไทย ชื่อ คัทลียา แมคอินทอช

451. เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทย ประจำองค์การค้าโลก (WTO) ผู้หญิงคนแรกชื่ออภิรดี ตันตราภรณ์

452. ทูตยูนิเซฟ คนแรกของไทย คือ นายอานันท์ ปันยารชุน

453. ปราสาทหินของไทยที่ใหญ่ที่สุด คือปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา

454. โรงพยาบาลคนเสียจริต แห่งแรกของไทย คือโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กทม.

455. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่ไทเกอร์วูดส์ นักกอล์ฟชื่อดังระดับโลกสาขา วิทยาศาสตร์การกีฬา

456. คำขวัญกองทัพบก มีชื่อว่า เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน

457. นโยบายผู้บัญชาการทหารบก ให้ไว้เมื่อ 28 ต.ค. 41 มีชื่อว่า ประหยัด โปร่งใส เป็นธรรม ประสิทธิภาพ

458. ประเทศมาเลเซีย ได้เปลี่ยนชื่อเมืองหลวงใหม่ว่า นครปุตราจายา

459. จังหวัดในภาคใต้ที่ไม่ติดทะเล คือ จังหวัดยะลา

460. จังหวัดสุดท้ายของประเทศไทย คือ จังหวัดอำนาจเจริญ แยกตัวจากจังหวัดอุบลราชธานี

461. สมาชิกองค์การค้าโลก มี 133 ประเทศ

462. มิคสัญญี หมายความว่า ยุคหนึ่งที่มีแต่รบราฆ่าฟัน เบียดเบียนกัน

463. ค่ายบดินทรเดชา ตั้งอยู่ที่จังหวัดยโสธร

464. ถนนที่สวยที่สุด และแพงที่สุดในไทย ชื่อถนนอักษะ

465. ผู้บัญชาการทหารบกคนแรก และคนเดียวในประวัติศาสตร์ที่ไปทอดผ้าป่าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) คือ พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร

466. ในวัดพระแก้ว มียักษ์ที่ยืนตระหง่านกุมกระบองทั้งหมด 12 ตัว

467. วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี คือวันประชากรโลก

468. ผู้ที่เอาตัวเองเข้าประกัน กับนักศึกษาพม่าที่สถานทูตพม่า เพื่อคลี่คลายเหตุการณ์คือ ม. ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รมช.ต่างประเทศ

469. นักศึกษาพม่าทั้ง 5 คน ที่บุกยึดสถานทูตพม่า ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ พร้อมตัวประกันไปลงที่เขตบ้านท่าตะโก อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี เป็นเขตอิทธิพลของกะเหรี่ยงคริสต์ หรือกะเหรี่ยงเคเอ็นยู ของนายพลโบเมียะ ที่ยังปักหลักสู้รับกับรัฐบาลพม่า

470. สุสานช้างโลกล้านปี ที่ขุดพบในประเทศไทย อยู่ที่บริเวณฝั่งแม่น้ำมูล ตำบลช้างทอง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา

471. ถนนสายเศรษฐกิจสำคัญ ของภาคอีสาน ชื่อถนนมิตรภาพ

472. วันเอกราชของกัมพูชา คือวันที่ 9 พฤศจิกายน ของทุกปี

473. แสตมป์ชุดแรกของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของแสตมป์ไทย คือชุด โสฬศ วันแรกที่จำหน่ายคือ 4 สิงหาคม 2426

474. ธงพระคชาธาร หมายถึง การอยู่ยงคงกระพัน แคล้วคลาดจากภยันตราย รวมทั้งมีเมตตามหานิยม ครอบจักรวาล ซึ่งตำแหน่งของธงนั้น จะปักประดับ ประดิษฐานประจำพระที่นั่งคชาธาร ที่พระมหากษัตริย์เสด็จออกศึกสงครามทุกครั้ง

475. พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค หรือพิธีเห่เรือ จัดมากี่ครั้ง 11 ครั้ง ครั้งแรกจัดเมื่อ 14 พ.ค. 2500

476. วันที่ 4 พ.ย.42 พิธีกระบวนพยุหยาตราชลมารค พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงประทับเรือพระที่นั่งชื่อ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์

477. ผู้อำนวยการองค์การอหารและเกษตร แห่งสหประชาชาติ (เอฟ เอ โอ) ทูลเกล้าฯถวายเหรียญชื่อ เทเลฟู้ด ให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

478. ผู้อำนวยการหญิงคนแรกขององค์การอนามัยโลก ชื่อ (ดร.ไกร ฮาร์เล็ม บรุนด์ทแลนด์)

479. เหตุการณ์ฝนดาวตก กลุ่มดาวสิงโต ในช่วงคืนวันที่ 18 - 19 พ.ย. 42 สังเกตุการณ์ที่หอดูดาวเกิดแก้ว อยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรี

480. ปฐมกษัตริย์ของกรุงสุโขทัย คือ พ่อขุนศรีอิทราทิตย์

481. กษัตริย์ไทยที่ครองราชย์ในระยะเวลาสั้นที่สุด คือพระเจ้าทองลั่น แห่งราชวงศ์สุวรรณภูมิ

482. ในสมัยพญาลิไทยได้จัดการแบ่งสงฆ์ออกเป็น 2 คณะ คือ คามวาลี และอรัญวาลี

483. ในสมัยสุริโยทัย มีการแบ่งการปกครองเป็น 3 ส่วน คือ หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นนอก หัวเมืองประเทศราช

484. พระพุทธรูปในสมัยสุโขทัยที่สำคัญ ได้แก่ พระพุทธสิหิงค์ พระพุทธชินสีห์ พระพุทธชินราช พระศาสดา และพระศีศากยมุนี

485. พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรวงรับพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์มาจาก นครศรีธรรมราช

486. แรกเมื่อเริ่มประดิษฐ์อักษรไทยนั้น มีวรรณยุกต์ใช้อยู่ 2 รูป คือ เอก กับ โท

487. กรุงสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยา ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

488. ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงได้ปรับปรุงการเก็บภาษี ใหม่ 4 ประเภท คือ จังกอบ ส่วย อากร และฤชา

489. ศิลปการแสดงเฟื่องฟูมากที่สุด ในสมัยสมเด็จพระบรมโกศ

490. ฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาเมืองไทย คือ ชนชาติโปรตุเกส

491. ไพร่สม คือ บรรดาชายฉกรรจ์ที่มีอายุระหว่าง 18 -20 ปี ซึ่งต้องไปขึ้นทะเบียนฝึกทหาร

492. ไพร่หลวงคือ บรรดาไพร่สมที่ฝึกทหารมาแล้วมีหน้าที่เข้าเวรรับใช้ราชการ

493. ไทยกับพม่าทำสงครามครั้งแรก ในสมัยพระชัยราชาธิราช

494. สาเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงดำริสร้างเมืองลพบุรีขึ้น เพราะระยะนั้นไทยถูกรุกรานจากฮอลันดา

495. พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระนามที่ประชาชนถวายอีกพระนามหนึ่งว่า “พระเจ้าช้างเผือก” และประเทศไทยเริ่มใช้ ธงตราช้างเผือก ในสมัยรัชกาลนี้ (ร.2)

496. วัดประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม และวัดสุทัศน์เทพวราราม ตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 คือ มหาปราสาท

497. สงครามโลกครั้งที่ 1 ตรงกับรักาลที่ 6 ของไทย และผลที่ไทยได้รับจากสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ ชื่อเสียง เกียรติคุณของประเทศ

498. ไทยกับอังกฤษได้ทำสัญญาการค้าฉบับแรก ขึ้นโดยที่อังกฤษได้ส่งเฮนรี่ เบอร์นี่ มาเป็นตัวแทนทำสัญญากับไทย

499. รัชกาลที่ 4 ทรงริเริ่มให้ข้าราชการไทย เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดิน โดยต้องสวมเสื้อ

500. พระราบัญญัติการเกณฑ์ทหาร เริ่มมีขึ้นใช้บังคับในสมัย รัชกาลที่ 5

ความรู้รอบตัว 2

101. ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นผู้จัดตั้ง เสรีไทย และพรรคประชาธิปัตย์


102. นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ก่อตั้ง ม.ธรรมศาสตร์และการเมือง ลาออกเพราะถูกโจมตีในเรื่องการปิดบังสาเหตุการสวรรคตของ ร.8

103. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ออกกฎหมายเลิกเสพและจำหน่ายฝิ่นโดยเด็ดขาด กฎหมายปราบปรามนักเลง ห้ามค้าประเวณี วางแผนพัฒนาประเทศฉบับที่ 1 (2504-2509)

104. พรรคก้าวหน้า เป็นพรรคการเมืองแรกของไทย ก่อตั้งโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

105. พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกฯ คนที่ 23 เป็นผู้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทย เป็นนายกฯ ลำดับที่ 53

106. เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เป็นเรือพระที่นั่งกิ่งประเภทรูปสัตว์ มีวัตถุประสงค์การต่อเพื่อถวาย ร.9 เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษก

107. พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาด 48.3 ซม.x 66 ซม.

108. พระศรีศากยมุนี (พระโต) เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะ ประดิษฐานอยู่วัดสุทัศน์เทพวราราม (ลิไท)

109. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมางวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ประดิษฐานอยู่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ หรือวัดใหญ่

110. พระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดบวรนิเวศน์

111. พระสุโขทัยไตรมิตร หรือหลวงพ่อวัดสามจีน หรือพระทองวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ประดิษฐานอยู่วัดไตรมิตรวิทนาราม สร้างสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุด

112. ไตรภูมิพระร่วง หรือเตภูมิกถา พระราชนิพนธ์ ในพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท)

- กามภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งอบายภูมิ และสุคติภูมิ 11 ชัน

- รูปภูมิ หมายถึง ดินแดนของสวรรค์ชั้นพรหม 16 ชั้น

- อรูปภูมิ หมายถึง ดินแดนแห่งพรหม เป็นนามธรรม 4 ชั้น

113. จังกอบ คือ ภาษีที่เก็บค่าผ่านด่านจากยานพาหนะบรรทุกสินค้า

114. อากร คือ ภาษีที่เก็บจากผลประโยชน์ที่ราษฎรทำมาหากินได้

115. ส่วย คือ เงินหรือสิ่งของที่เรียกเก็บเพื่อทดแทนการเข้ามาทำงานโยธาให้ทางราชการ

116. ฤชา คือ ค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากการให้บริการต่าง ๆ ของทางราชการ

117. ความยาวของประเทศไทยวัดจากจุดเหนือสุดที่ อ.แม่สาย จ.เชียงราย ถึงจุดใต้สุดที่ อ.เบตง จ.ยะลา มีความยาวประมาณ 1,620 กม.

118. ความกว้างของประเทศไทยวัดจากจุดตะวนออกที่ อ.สิรินธร จ.อุบลฯ ถึงด้านตะวันตกที่ อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี กว้างประมาณ 750 กม.

119. จ.สมุทรสงคราม มีพื้นที่น้อยที่สุด

120. จ.นครราชสีมา มีพื้นที่มากที่สุด และมีวัดมากที่สุด

121. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 4 จังหวัด คือ นครนายก นครราชสีมา ปราจีนบุรี สระบุรี

122. บึงบระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด จ.นครสวรรค์

123. สามเหลี่ยมทองคำ เป็นเขตติดต่อ ไทย พม่า ลาว

124. บ่อพระแสง เป็นบ่อเหล็กน้ำพี้ใช้สำหรับตีพระแสงดาบให้พระมหากษัตริย์ จ.อุตรดิตถ์

125. หลวงพ่อโสธร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ปั้นโดยช่างล้านนา ประดิษฐานอยู่วัดโสธรวรารามวรวิหาร

126. จ.สระแก้ว แยกตัวจาก จ.ปราจีนบุรี

127. จ.หนองบัวลำภู แยกตัวจาก จ.อุดรธานี

128. จ.อำนาจเจริญ แยกตัวจาก จ.อุบลฯ

129. เทือกเขาถนนธงชัย กั้นระหว่างไทย - พม่า จ.แม่ฮ่องสอน – จ.ตาก

130. เทือกเขาแดนลาว จ.แม่ฮ่องสอน จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่

131. เทือกเขาตะนาวศรี กั้นระหว่าง ไทย – พม่า จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.เพชรบุรี จ.ประจวบฯ จ.ชุมพร

132. เทือกเขาหลวงพระบาง กั้นระหว่าง ไทย – ลาว จ.เชียงราย จ.น่าน จ.อุตรดิตถ์ จ.พิษณุโลก

133. เทือกเขาพนมดงรัก กั้นระหว่าง ไทย – กัมพูชา จ.บุรีรัมย์ จ.สุรินทร์ จ.ศรีสระเกษ จ.อุบลฯ

134. เทือกเขาสันกาลาคีรี กั้นระหว่าง ไทย – มาเลเซีย จ.สตูล จ.สงขลา จ.ยะลา จ.นราธิวาส

135. เทือกเขาผีปันน้ำ อยู่ภาคเหนือเป็นต้นกำเนิดแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน กก และอิง

136. แม่น้ำชี ยาวที่สุด จ.ชัยภูมิ จ.ขอนแก่น จ.ร้อยเอ็ด จ.ยโสธร จ.อุบลฯ ไหลลงสู่แม่น้ำมูล

137. แม่น้ำเจ้าพระยา ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรปราการ

138. แม่น้ำท่าจีน (แม่น้ำสุพรรณ แม่น้ำมะขามเฒ่า แม่น้ำนครชัยศรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสาคร

139. แม่น้ำแม่กลอง (แม่น้ำแควใหญ่ หรือศรีสวัสดิ์ แม่น้ำราชบุรี) ไหลลงสู่อ่าวไทยที่ จ.สมุทรสงคราม

140. แม่น้ำโกลก อยู่ จ.นราธิวาส กั้นพรมแดนไทย – มาเลเซีย

141. แม่น้ำรวก กั้นพรมแดนไทย – พม่า บริเวณสามเหลี่ยมทองคำ

142. สัตว์ป่าสงวนมี 15 ชนิด คือ 1. นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร 2. แรด 3. กระสู้ 4. กูปรี 5. ควายป่า 6. ละอง ละมั่ง 7. สมัน 8. เลียงผา 9. กวางผา 10. นกแต้วแล้วท้องดำ 11. นกกระเรียน 12. แมวลายหินอ่อน 13. สมเสร็จ 14. เก้งหม้อ 15. พะยูน

143. อุทยานแห่งชาติ ต้องมีพื้นที่อย่างน้อย 10 ตร.กม.ขึ้นไป

144. วนอุทยาน ต้องมีพื้นที่ 500 – 80,000 ไร่

145. เขื่อนภูมิพล สร้างกั้นแม่น้ำปิงที่ อ.สามเงา จ.ตาก เพื่อผลิตไฟฟ้าฟ้า และการเกษตร

146. เขื่อนสิริกิต์ สร้างกั้นแม่น้ำน่านที่ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เป็นเขื่อนดินแห่งแรก

147. เขื่อนศรีนครินทร์ สร้างกั้นแม่น้ำแควใหญ่ที่ จ.กาญจนบุรี เป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุด

148. คลองปานามา อยู่ระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิก – มหาสมุทรแอตแลนติก

149. จักรพรรดินโปเลียน โบนาปาร์ท เป็นผู้นำทหารของฝรั่งเศส

150. อับราฮัม ลินคอล์น ประกาศเลิกทาสในอเมริกา ถูกลอบสังหาร

151. คาร์ล มาร์กซ์ บิดาแห่งลัทธิคอมมิวนิสต์

152. หยวน ซี ไข ประนาธิบดีคนแรกของจีน

153. เหมา เจ๋อ ตุง ผู้เปลี่ยนแปลงการปกครองจีนจากระบอบสาธารณรัฐ มาเป็นระบบคอมมิวนิสต์

154. ออง ซาน ซู จี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ค.ศ.1991

155. เลโอนาโด ดาวินชี เป็นจิตกรชาวอิตาลี วาดภาพโมนาลิซา และอาหารมื้อสุดท้าย

156. วิลเลี่ยม เชคสเปียร์ เป็นนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ประพันธ์เรื่อง โรมิโอ – จูเลียต

157. จอร์จ ดับเบิลยู บุช จูเนียร์ สังกัดพรรครีพับลิกัน มาจากรัฐเท็กซัส

158. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคโบราณ 7 สิ่ง คือ 1. มหาปีรามิดแห่งอียิปต์ 2. สวนลอยแห่งบาบิโลน 3. มหาวิหารไดอานา 4. สุสานมุสโซเลียมแห่งฮาลิคานาสซัส 5. เทวรูปโคโลสซูสแห่งเกาะโรดส์ 6. ประภาคารฟาโรส์แห่งอเล็กซานเดรีย 7. เทวรูปเทพเจ้าซีอุส (จูปีเตอร์) แห่งโอลิมเปีย

159. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคกลาง 7 สิ่ง คือ 1. กองหินประหลาดสโตนเฮนจ์ 2. กำแพงเมืองจีน 3. สนามกีฬาแห่งกรุงโรม 4. หอเอนเมืองปิซา 5. สุเหร่าโซเฟีย 6. เจดีย์กระเบื้องเคลือบนานกิง 7. สุสานอเล็กซานเดรีย

160. สิ่งมหัสจรรย์ของโลกยุคปัจจุบัน 7 สิ่ง คือ 1. ปราสาทหินนครวัด 2. ทัชมาฮาล 3. พระราชวังแวร์ซายส์ 4. เขื่อนฮูเวอร์ 5. ตึกเอ็มไพร์สเตท 6. สะพานโกลเด้นเกท 7. เรือโดยสารควีนแมรี

161. ระบบสุริยะ 1. ดาวพุธ (Mercury) เล็กที่สุด 2. ดาวศุกร์ (Venus) ดาวประกายพรึก ดาวรุ่งตอนเช้า ดาวประจำเมืองตอนหัวค่ำ 3. โลก (Earth) 4. ดาวอังคาร (Mars) 5. ดาวพฤหัสบดี (Jupiter) ใหญ่ที่สุด 6. ดาวเสาร์ (Saturn) 7. ดาวยูเรนัส หรือดาวมฤตยู (Uranus) 8. ดาวเนปจูน (Neptune) 9. ดาวพลูโต (Pluto)

162. บรรยากาศแบ่งเป็นชั้นต่าง ๆ 5 ชั้น

1. โทรโพสเฟียร์ 10 กม. มีการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไอน้ำ เมฆ หมอก ฝน พายุ

2. สตราโตสเฟียร์ 25 กม. มีโอโซนดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเลต ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

3. เมโซสเฟียร์ 45 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

4. ไอโอโนสเฟียร์ 520 กม. ใช้สำหรับการสะท้อนของคลื่นวิทยุ

5. เอ็กซ์โซสเฟียร์ 600 – 1,000 กม. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอากาศ

163. หินอัคนี เกิดจากการเย็นตัวของลาวา ได้แก่ แกรนิต บะซอลต์ ออบซิเดียน สคอเรีย

164. หินตะกอน หรือหินชั้น เกิดจากการทับถมของตะกอน ได้แก่ หินดินดาน หินทราย หินปูน ถ่านหิน ศิลาแลง

165. หินแปร เกิดจากหินอัคนี และหินตะกอนที่เปลี่ยนแปลงรูปร่าง ลักษณะ ได้แก่ หินอ่อน หินชนวน หินควอร์ตไซต์ หินไนส์

166. แร่โลหะ หมายถึง แร่ที่ต้องนำมาถลุงก่อนนำไปใช้ ได้แก่ ดีบุก เหล็ก วุลแฟรม แมงกานีส พลวง ตะกั่ว สังกะสี

167. แร่อโลหะ หมายถึง แร่ที่ไม่ต้องนำไปถลุงก่อนใช้ประโยชน์ ได้แก่ ยิปซัม เกลือแกง รัตนชาติ ฟลูออไรด์

168. แร่เชื้อเพลิง ได้แก่ ถ่านหิน ปิโตเลียม ก๊าซธรรมชาติ

169. พายุไซโคลน หมุนทวนเข็มนาฬิกา

170. ดีเปรสชั่น คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 60 กม./ชม.

171. พายุโซนร้อน คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 61 - 119 กม./ชม.

172. ไต้ฝุ่น คือ คือ ไซโคลนที่มีความเร็ว 120 กม./ชม. ขึ้นไป ถ้าเกิดในเขตร้อนเรียก เฮอริเคน

173. พายุแอนตี้ไซโคลน หมุนตามเข็มนาฬิกา

174. องค์การสหประชาชาติ (UN United Nation) ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยความร่วมมือของประธานาธิบดีสหรัฐ คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ และ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่นิวยอร์ก USA. มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ

1. ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี

2. เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก

3. เป็นศูนย์กลางความร่วมมือระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

175. คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐ อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส จีน และมีสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี

176. กองทุนสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ UNICEF (United Nation Children ‘s Fun) ก่อตั้งเพื่อช่วยเหลือแก่เด็กกำพร้า

177. องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ UNESCO (United Nation Educational Scientific and Cultural Organization)

178. ธนาคารโลก World Bank สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. USA.

179. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ IMF (International Monetary Fund)

180. องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ NATO (North Atlantic Treaty Organization) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม ก่อตั้งโดย เซอร์วินสตัน เชอร์ชิล นายกฯ อังกฤษ มีสมาชิก 15 ประเทศ ตั้งเพื่อความมั่นคงทางทหาร

181. องค์การของกลุ่มประเทศผู้ค้าน้ำมันเป็นสินค้าออก OPEC (Organization of Petroleum Exporting Countries) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเวียนนา ออสเตรีย มีสมาชิก 13 ประเทศ

182. สหภาพยุโรป EU (European Union) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงบรัสเซลล์ เบลเยียม เพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจ กลุ่มประชาคมยุโรป

183. สมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ASEAN (The Association of Southeast Asian Nations) สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงจาการ์ตา อินโดนิเซีย ร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ไม่รวมมือทางทหาร

184. G7 กลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก 7 ประเทศ อังกฤษ สหรัฐ เยอรมัน แคนนาดา อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น

185. องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจแห่งเอเซียและแปซิฟิก APEC (Asia and Pacific Economic Cooperation)

186. การแจ้งเกิด แจ้งย้ายเข้า – ออก ต้องแจ้งภายใน 15 วัน

187. แจ้งตาย ภายใน 24 ชม.

188. การทำบัตรประชาชน ผู้มีสัญชาติไทย อายุ 15 – 70 ปีบริบูรณ์

189. ชายไทยเมื่ออายุ 18 ปีบริบูรณ์ ต้องแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน

190. ชายไทยเมื่ออายุ 21 ปีบริบูรณ์ ต้องรับหมายเรียกเพื่อเข้าคัดเลือกเป็นทหารกองประจำการ

191. ศาลพันท้ายนรสิงห์ที่พระเจ้าเสือโปรดให้สร้างขึ้นอยู่ที่ คลองโคกขาม จ.สมุทรสาคร

192. เฟดายีน ซัดดัม เป็นภาษาอาหรับแปลว่า ผู้สละชีพเพื่อซัดดัม คือ กองกำลังกึ่งทหารอาสาสมัคร

193. เจ้าหญิงคาโรลีน ราชนิกูล โมนาโก เป็นทูตสันถวไมตรี ยูเนสโกคนล่าสุด

194. วันเอดส์โลก คือ วันที่ 1 ธันวาคม

195. จตุสดมภ์ คือการปกครองภายในราชธานีสมัยอยุธยา (สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ)

- เวียง หรือเมือง ดูแลท้องที่ ราษฎร รักษาความสงบเรียบร้อย ปราบปรามโจรผู้ร้าย

- วัง ดูแลงานในราชสำนัก พระราชพิธีต่าง ๆ พิจารณาพิพากษาคดีต่าง ๆ

- คลัง ดูแลเก็บรักษาผลประโยชน์ของแผ่นดิน

- นา ดูแลการทำไร่นา รักษาเสบียง ออกสิทธิที่นา

196. กองพันพัฒนาที่ 4 ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส ถูกปล้นปืน

197. กองกำลังเฉพาะกิจ 976 ไทย/อีรัก รหัส “ยุทธการช้างฟ้า” แสดงถึงมนุษยธรรมและสันติภาพ

198. เรือกลไฟลำแรกที่ต่อในไทย คือ เรือสยามอรสุมพล สร้าง พ.ศ.2398

199. พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ทรงเป็นคนไทยพระองค์แรกที่เป็นเจ้าของเรือที่ทำด้วยเหล็กทั้งลำ คือ เรือมงคลราชปักษี

200. แม่ทัพที่ยกพลไปปราบฮ่อสำเร็จเมื่อ พ.ศ.2430 สำเร็จ คือ พลตรีพระยาสุรศักดิ์มนตรี

ความรู้รอบตัว

ความรู้รอบตัว


1. ไทยทำสงครามกับพม่าครั้งแรกสมัย สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พม่าตีเมืองเชียงกราน)

2. การตีกลองร้องฎีกาเริ่มมีขึ้น สมัยพ่อขันรามฯ

3. สมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พลเมืองมีกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ 25 ไร่

4. ขุนหลวงขี้เลื้อนมีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรี หรือ สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ หรือ พระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ กษัตริย์องสุดท้ายของอยุธยา

5. พระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่ผนวชระหว่างครองราช คือ พระยาลิไท

6. พ่อขุนบางกลางหาว (พ่อขุนศรีอินทราทิตย์) กษัตริย์องค์แรกของสุโขทัยต้นราชวงศ์พระร่วง

7. สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) สร้างเมืองอยุธยา

8. ไทยเสียกรุงครั้งแรกสมัย สมเด็จพระมหินทราธิราช พ.ศ.2112

9. พลายภูเขาทอง คือ ช้างของสมเด็จพระนเรศวร ที่ทำยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราช ต่อมาได้พระราชทานชื่อว่า เจ้าพระยาไชยานุภาพ

10. สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 คือ สมเด็จพระเจ้าตากฯ

11. จตุสดมม์ มีขึ้นครั้งแรกสมัย พระเจ้าอู่ทอง

12. ระบบศักดินา เริ่มมีขึ้นสมัย พระบรมไตรโลกนาถ

13. ไพร่หลวง คือ ทหารที่ประจำการครบ 2 ปีแล้วปลดออกเป็นไพร่หลวง มีอายุ 21-60 ปี

14. พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ศิลปะสมัยสุโขทัย สมัยพระธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไท)

15. วัดสุทัศน์เทพวราราม เป็นวัดหลวงที่ไม่มีเจดีย์

16. พระกรรมวาจาจารย์ ของ ร.9 ขณะผนวช คือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์

17. ดร.ซุน ยัด เซ็น เป็นผู้นำการปฏิวัติจีนจากระบอบกษัตริย์มาสู่ระบอบสาธารณรัฐ

18. คลองสุเอช เป็นคลองเดินเรือสินค้าระหว่างยุโรป (ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน) – เอเชีย (ทะเลแดง) ปัจจุบันเป็นของอียิปต์

19. ไทยเริ่มใช้ธงไตรรงค์ เมื่อ พ.ศ.2468 (ร.6)

20. ประธานสภาฯ คนแรก คือ เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี

21. นายกฯ คนแรก คือ พระยามโนปกรณ์นิติธาดา

22. วังหน้าสมัยรัตนโกสินทร์ปัจจุบันคือ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ (หยุดทำการทุกวันจันทร์)

23. รัชชูปการ คือ เงินที่เรียกเก็บจากชาวไทยแทนการรับราชการทหาร ยกเลิกสมัย ร.7

24. นกวายุพักตร์ เป็นตราประจำกระทรวงการคลัง

25. กรมพระราชวังบวรในสมัย ร.5 คือ กรมพระราชวังบวรมหาวิชัยชาญ

26. อาน คือ ที่นั่งบนหลังม้า

27. สัปคับ คือ ที่นั่งบนหลังช้าง

28. วันที่ 6 เมษายน ได้รับการสถาปนาเป็นวันจักรีสมัย ร.6

29. กองทัพสหประชาชาติจัดตั้งขึ้นครั้งแรกกรณี สงครามเกาหลี (เส้นขนานที่ 38)

30. พื้นที่ 1 เอเคอร์ ประมาณ 2.5 ไร่

31. พลตรีกรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เคยเป็นประธานสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติคนที่ 11

32. ระยะทาง 1 ไมล์ ประมาณ 40 เส้น หรือ 1.6 กม.

33. อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามอินโดจีน พ.ศ.2484

34. 4 ทหารเสือของไทยสมัยเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ พระยาพหลพลพยุหเสนา พระศรีสิทธิสงคราม พระยาทรงสุรเดช พระยาฤทธิ์อัคเณย์

35. เครื่องถม ทำด้วย เงิน ทอง ตะกั่ว และน้ำ

36. ผู้บังคับการทหารไทยในสงครามโลกครั้งที่ 1 คือ พลตรีพระยาพิชัยชาญฤทธิ์

37. วงเวียน 22 กรกฎา สร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ สงครามโลกครั้งที่ 1

38. สมเด็จเจ้าพระยาองค์สุดท้าย คือ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)

39. ผู้ริเริ่มใช้คำว่า “สวัสดี” คือ พระยาอุปกิตศิลปสาร (นิ่ม กาญจนาชีวะ)

40. พระที่นั่งอนันตสมาคมเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาเลียน สร้างสมัย ร.5 แล้วเสร็จ สมัย ร.6

41. ส.ส. เริ่มใชเมื่อ พ.ศ.2477 โดย พระยาศรยุทธเสนี เป็นผู้เสนอต่อสภา

42. ช้างสีดอ คือ ช้างพลายไม่มีงา

43. กฎหมายตรา 3 ดวง คือ คชสีห์ ราชสีห์ และบัวแก้ว

44. ร.7 เสด็จสวรรคต เมื่อ 30 พ.ค.2484 ณ ประเทศอังกฤษ

45. นายปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสถึงแก่กรรมที่ ฝรั่งเศส

46. ผู้แต่งเนื้อร้องเพลงชาติ คือ ขุนวิจตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)

47. ภายหลังเปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย พ.ศ.2482 ผู้แต่งเนื้อรองเพลงชาติ คือ หลวงสารานุประพันธ์ แต่งทำนองโดย พระเจนดุริยางค์

48. พระเจดีย์มียอดเดียว พระปรางค์มีหลายยอด

49. จาตุรงคบาท หมายถึง ทหารผู้มีหน้าที่รักษาเท้าช้างทั้ง 4

50. เพลงสรรเสริญฯ แต่งเนื้อร้องโดย ร.6 แต่งทำนองโดย ยุตเซน

51. สิทธิพิเศษอีลีท คือ สิทธิพิเศษในการท่องเที่ยวของไทยตลอดชีวิต โดยเสียค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,000,000 บาท

52. พระบาทสมเด็จพระปวเรนทราเมศ คือ พระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

53. เครื่องแต่งกายประจำชาติไทย ชาย เรียก ชุดพระราชทาน หญิง เรียก ชุดพระราชนิยม

54. แม่ทัพไทยที่ยกไปช่วยอังกฤษรบกับพม่าในสมัย ร.3 คือ เจ้าพระยามโยธาธอเรีย

55. สุโขทัยเป็นราชธานีอยู่ 200 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 9 พระองค์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์เป็นกษัตริย์องค์แรก พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นกษัตริย์องค์สุดท้าย

56. กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 417 ปี มีกษัตริย์ปกครอง 33 พระองค์ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) เป็นกษัตริย์องค์แรก สมเด็จพระที่นั่งสุริยาศอมรินทร์ เป็นองค์สุดท้าย

57. สรีดพภงส์ เป็นเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในสมัยพ่อขุนรามฯ

58. สมเด็จพระนเรศวรฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2098 เป็นพระราชโอรสใน สมเด็จพระมหาธรรมราชา กับพระวิสุทธ์กษัตรี ไปอยู่พม่าตั้งแต่พระชนม์มายุ 9-15 พรรษา

59. สมเด็จพระนารายณ์ฯ พระราชสมภพเมื่อ พ.ศ.2175 เป็นพระราชโอรสใน พระเจ้าปราสาททอง กับพระราชเทวี เป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ปราสาททอง

60. สมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเจ้าหลุยที่ 14 แห่งฝรั่งเศสได้ส่งคณะราชทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีโดยมี เชวาเลีย เดอ โชมองต์ เป็นเอกอัคราชทูต

61. พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นเอกอัครราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้าหลุยที่ 14 เป็นการส่งคณะราชทูตออกไปครั้งแรก

62. สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงสร้างราชธานีแห่งที่ 2 ขึ้นที่เมืองละโว้ (ลพบุรี) เพราะกรุงศรีอยุธยาอยู่ใกล้ทะเลเกินไป ง่ายต่อการรุกรานจากเรือต่างชาติ

63. พระเจ้าตากฯ เดิมชื่อ สิน บิดาชื่อ นายไหฮวง มารดาชื่อ นางนกยูง

64. ร.1 มีพระนามเดิมว่า ด้วง หรือ ทองด้วง เป็นบุตรของ พระอักษรสุนทร (ทองดี) กับท่านหยก เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 6 เม.ย.2325

65. ร.5 มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับพระนางเจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เสด็จขึ้นครองราชเมื่อพระชนม์ 15 พรรษา พ.ศ.2411

66. สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ร.5

67. ร.9 มีพระนามเดิมว่า พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงประสูติเมื่อ 5 ธ.ค.2470 เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลเดชวิกรม พระบรมราชนก กับสมเด็จพระศรีนครินทราพระบรมราชชนนี เสด็จขึ้นครองราชเมื่อ 5 พ.ค.2493

68. สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทรงเป็นพระมเหสีในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

69. แม่ทัพพม่าที่ตีค่ายบางระจันแตก คือ สุกี้พระนายกอง

70. สุนทรภู่ เกิดในสมัย ร.1 ที่ริมคลองบางกอกน้อย ศึกษาครั้งแรกในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาไปศึกษาที่วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) ได้รับยกย่องว่าเป็นกวีเอกจาก UNESCO วรรณกรรมที่แต่งเป็นเรื่องแรก คือ โคบุตร

71. ท้าวเทพกษัตรี มีชื่อเดิมว่า “จัน” เป็นภรรยาเจ้าเมืองถลาง ท้าวศรีสุนทร มีชื่อเดิมว่า “มุก” (ภูเก็ต สงครามเก้าทัพ ร.1)

72. ท้าวสุรนารี มีชื่อเดิมว่า “โม” (ศึกเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ ร.3)

73. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร ทรงเป็นพระราชโอรสใน ร.4 กับเจ้าจอมมารดาชุ่ม เป็นพระราชบิดาแห่งโบราณคดีและประวัติศาสตร์ไทย ทรงได้รับยกย่องจาก UNESCO ให้เป็นกวีเอกของโลก

74. พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย คือ ร.4

75. พระบิดาแห่งเทคโนโลยีไทย คือ ร.9

76. พระบิดาแห่งการพาณิชย์ไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ

77. พระบิดาแห่งกฎหมายไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์

78. พระบิดาแห่งทหารเรือไทย คือ พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชมพรเขตอุดมศักดิ์

79. พระบิดาแห่งการรถไฟไทย คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน

80. กษัตริย์ศิลปิน หมายถึง ร.2

81. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ พ.ศ.2534

82. พระมหาอุปราชองค์แรกและองค์เดียวในราชวงศ์จักรี คือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชาใน ร.4

83. เครื่องราชูปโภคของพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วย

- พานพระศรี (ขันหมาก)

- พระมณฑปรัตนกัณฑ์ (พาน ฝา จอกใส่น้ำ)

- พระสุพรรณศรี (กระโถนเล็ก)

- พระสุพรรณราช (กระโถนใหญ่)

84. วัดประจำรัชกาลที่ 1 คือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

85. วัดประจำรัชกาลที่ 2 คือ วัดอรุณราชวราราม

86. วัดประจำรัชกาลที่ 3 คือ วัดราชโอรสาราม

87. วัดประจำรัชกาลที่ 4 คือ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

88. วัดประจำรัชกาลที่ 5 คือ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวราราม

89. วัดประจำรัชกาลที่ 6 คือ วัดบวรนิเวศวิหาร

90. วัดประจำรัชกาลที่ 7 คือ วัดราชบพตรสถิตมหาสีมาราม

91. วัดประจำรัชกาลที่ 8 คือ วัดสุทัศน์เทพวราราม

92. วัดประจำรัชกาลที่ 9 คือ วัดญาณสังข์วราราม

93. ประตูในพระบรมมหาราชวัง มีทั้งหมด 13 ประตู 1. รัตนพิศาล 2. พิมานเทเวศร์ 3. วิเศษไชยศรี 4. มณีนพรัตน์ 5. สวัสดิโสภา 6. เทวาภิทักษ์ 7. ศักดิ์ไชยสิทธิ์ 8. วิจิตรบรรจง 9. อนงคารักษ์ 10. พิทักษ์บวร 11. สุนทรทิศา 12. เทวาภิรมย์ 13. อุดมสุดารักษ์

94. อาหารที่ให้พระโคกินในพิธีจรดพระนังคัลฯ มี 7 อย่าง คือ 1. ข้าวเปลือก 2. ข้าวโพด 3. เหล้า 4. งา 5. น้ำ 6. ถั่วเขียว 7. หญ้า

95. พิธีรัชฎาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 25 ปี พ.ศ.2514

96. พิธีรัชมังคลาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 40 ปี พ.ศ.2529

97. พิธีกาญจนาภิเษก คือ ร.9 ครองราชครบ 50 ปี พ.ศ.2539

98. ช่างสิบหมู่ คือ 1. หล่อ 2. สลัก 3. กลึง 4. เขียน 5. ปั้น 6. บุ 7. รัก 8. หุ่น 9. แกะสลัก 10. ปูน

99. ไทยประกาศใช้รัฐนิยมแห่งชาติเป็นครั้งแรก โดยการ แต่งกายแบบสากลนิยม การเคารพธงชาติ เปลี่ยนชื่อประเทศจาก สยาม เป็น ไทย เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ จาก 1 เม.ย. เป็น 1 ม.ค. ยกเลิกบรรดาศักดิ์

100. นายทวี บุนยเกตุ เป็นนายกฯ ที่ดำรงตำแหน่งสั้นที่สุด (17 วัน) เป็นการดำรงตำแหน่งเพื่อรอการเดินทางกลับมาของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช หน.เสรีไทยในต่างประเทศ